ธนาคารดอยช์แบงก์ส่งมอบโครงการสนับสนุนด้านการศึกษา ณ บ้านชาวไทยใหม่ จังหวัดพังงา หลังการก่อสร้างโรงเรียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ข่าวทั่วไป Friday May 4, 2007 15:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
ธนาคารดอยช์แบงก์เผยผลสำเร็จของโครงการก่อสร้างเพื่อการศึกษาที่บ้านชาวไทยใหม่ จังหวัดพังงา อันเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์และศูนย์พัฒนาการศึกษา (อีดีซี) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศ หลังดำเนินการแล้วเสร็จ อนึ่ง การดำเนินการครั้งนี้นับเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ “โครงการการดำเนินชีวิตหลังสึนามิ” ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์และศูนย์พัฒนาการศึกษา (อีดีซี) ในอันที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในจังหวัดพังงาที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ด้วยการสอนทักษะการดำเนินชีวิต การฝึกอบรมด้านวิชาชีพและการสนับสนุนทางการศึกษา
พิธีส่งมอบอาคารก่อสร้างใหม่ 2 ชั้น ที่ประกอบด้วยห้องเรียนจำนวน 4 ห้อง และห้องเรียนที่มีการตกแต่งให้ดีขึ้นจำนวน 2 ห้องในอาคารเรียนเดิม ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ โรงเรียนชาวไทยใหม่ ในอำเภอท้ายเมือง ซึ่งอาคารเรียนใหม่และห้องเรียนที่ปรับปรุงนี้สามารถช่วยให้โรงเรียนสามารถรับนักเรียนเพิ่มขึ้นได้ 200 คน และขยายการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 อันเป็นระดับการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาลได้
ผู้เข้าร่วมในพิธีส่งมอบ ได้แก่ นายนิมิตร หิรัญจรัสพิวัฒน์ รองผู้อำนวยการการจัดการการศึกษาท้องถิ่น จังหวัดพังงา, มร. เยิร์ก เอดดาร์ด ครุมซิก ผู้ประสานงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยของธนาคารดอยช์แบงก์และผู้อำนวยการด้านการเงินของมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์ พร้อมด้วยคณะกรรมการของอีดีซี และพนักงานธนาคารดอยช์แบงก์ สาขากรุงเทพ ฯ
มร. ครุมซิก กล่าวขณะอยู่ในพิธีส่งมอบว่า “เราใช้หลักการในการช่วยคนให้สามารถช่วยตนเองด้วยการพัฒนาความสามารถของพวกเขาในสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆของมูลนิธิมากที่สุด คือ เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ เราหวังที่จะสร้างผลในเชิงบวกต่อการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆเหล่านี้ เราจึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอีดีซีเพื่อมีส่วนร่วมในโครงการนี้”
ด้านนายวิพล นาคพันธ์ ผู้อำนวยการการจัดการการศึกษาท้องถิ่น กล่าวว่า “ศูนย์พัฒนาการศึกษามีความมุ่งมั่นในการช่วยส่งเสริมโครงการการศึกษาแก่เด็กผู้ยากไร้เนื่องจากเล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและต้องขอบคุณธนาคารดอยช์แบงก์และอีดีซีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ได้รับจากโครงการนี้”
มร. แรกซ์ รากาวาน ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารดอยช์แบงก์ เอจี ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานธนาคารดอยช์แบงก์ สาขากรุงเทพ ฯ ผู้ซึ่งอุทิศเวลาและความรู้อย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จ โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ซึ่งธนาคารดอยช์แบงก์สนับสนุนนับตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 โดยเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้ความช่วยเหลือในระยะยาวแก่ครอบครัวผู้ประสบภัยซึนามิ ในการที่สร้างชีวิตใหม่”
โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิครอบคลุมถึง การก่อตั้งชั้นเรียนสำหรับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนในท้องถิ่น การแต่งตั้งอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียน โครงการการเข้าศึกษาใหม่ของนักเรียนด้อยโอกาสซึ่งเคยหยุดเรียนกลางคัน และการริเริ่มจัดวันแรงงานเพื่อให้ข้อมูลโอกาสทางอาชีพและข้อมูลตำแหน่งงานว่างแก่นักเรียนใน 10 จังหวัดภายหลังสำเร็จการศึกษา
ธนาคารดอยช์แบงก์ได้เคยสนับสนุนโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยที่ตำบลฉลอง จังหวัดภูเก็ต ผ่านมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่สูญเสียที่พักอาศัยจากเหตุการณ์สึนามิในปี 2544 นอกจากนี้ธนาคารดอยช์แบงก์ยังบริจาคให้โครงการตามพระราชดำริ โดยเงินบริจาคที่จะได้นำไปช่วยเหลือเด็กกำพร้าภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความช่วยบรรเทาทุกข์และกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารดอยช์แบงก์ สามารถพบข้อมูลดังกล่าวผ่านการเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ www.disasterrelief.db.com
ภาพที่ 1 มร. เยิร์ก เอดดาร์ด ครุมซิก ผู้ประสานงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยของธนาคารดอยช์แบงก์และผู้อำนวยการด้านการเงินของมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์ (กลาง), นายนิมิตร หิรัญจรัสพิวัฒน์ รองผู้อำนวยการการจัดการการศึกษาท้องถิ่น จังหวัดพังงา (แถวที่ 3: ที่ 2 จากขวา) และ นายสุรนิตย์ สรสุชาติ Chief Operating Officer ธนาคารดอยช์แบงก์ ประเทศไทย พร้อมด้วย มร.แอล พราสซี-ฟรีแมน ผู้ประสายงานประจำภูมิภาคของอีดีซี (แถวที่3: ที่ 1 จากซ้าย) และนางสาวอัมพวรรณ กษิรสุทธิ เจ้าหน้าที่จากดอยช์แบงก์ ประเทศไทย (แถวที่ 3: ที่ 2 จากขวา) ขณะอยู่ท่ามกลางเด็กๆ จากโรงเรียนชาวไทยใหม่
ภาพที่ 2 อาคารเรียน 2 ชั้น 4 ห้องเรียนที่สร้างใหม่สำหรับเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิในจังหวัดพังงา
ภาพที่ 3 มร. เยิร์ก เอดดาร์ด ครุมซิก ผู้ประสานงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยของธนาคารดอยช์แบงก์และผู้อำนวยการด้านการเงินของมูลนิธิธนาคารดอยช์แบงก์ (ขวา), นายสุรนิตย์ สรสุชาติ Chief Operating Officer ธนาคารดอยช์แบงก์ ประเทศไทย (ซ้าย) และนางสาวอัมพวรรณ กษิรสุทธิ เจ้าหน้าที่จากดอยช์แบงก์ ประเทศไทย (กลาง)
เกี่ยวกับธนาคารดอยช์แบงก์
ธนาคารดอยช์แบงก์เป็นธนาคารเพื่อการลงทุนชั้นนำระดับโลกด้วยธุรกิจการให้บริการลูกค้าคหบดีที่มีความแข็งแกร่งและสามารถทำกำไรได้ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นผู้นำในประเทศเยอรมันนีและยุโรปแล้ว ธนาคารยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในอเมริกาเหนือ เอเชีย และตลาดใหม่ที่สำคัญที่กำลังโต ธนาคารดอยช์แบงก์ให้บริการการเงินที่เหนือชั้นทั่วโลกด้วยสินทรัพย์ 1,097 พันล้านยูโร และพนักงาน 67,474 คน ใน 73 ประเทศ ตลอดจนธนาคารแข่งขันที่จะเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นทางการเงินชั้นนำของโลกแก่ลูกค้าที่มีความต้องการสูงด้วยการสร้างมูลค่าตอบแทนที่ยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ถือหุ้นและประชาชน www.db.com
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
กมลวรรณ ทันศรี และ รุ่งนภา ชาญวิเศษ
เวเบอร์ แชนด์วิค
โทร. 02 287 1000 ต่อ 304, 279
E-mail: kamonwan@webershandwick.com ; Rungnapa@webershandwick.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ