ภาวะตลาดทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 4, 2010 14:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ย.--วีม คอมมูนิเคชั่น ข้อมูลทองคำวันนี้ - ราคาสมาคม เปิดที่ 19,000 - 19,100 - ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,354 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 29.69 — 29.73 - GFZ10 Hi- Low 19,300— 19,230 ปิดที่ 19,280 Gold Insight สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.ดิ่งลง 19.30 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 1,337.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,327.10-1,364.80 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเข้ามากระหน่ำขายสัญญาทองคำก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นอกจากนี้ ข้อมูลที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดบวก 26.41 จุด หรือ 0.24% แตะที่ 11,215.13 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 4.39 จุด หรือ 0.37% ปิดที่ 1,197.96 จุด ขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานที่ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มการจ้างงานในเดือนต.ค. และดัชนีภาคบริการขยายตัวได้ดีเกินคาดในเดือนต.ค. สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 79 เซนต์ หรือ 0.94% ปิดที่ 84.69 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะได้แรงหนุนจากข่าวธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศใช้มาตรการ QE2 ด้วยการอัดฉีดเงินซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันเบนซินที่ร่วงลงอย่างเหนือความคาดหมาย และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงยอดสั่งซื้อในโรงงาน อุตสาหกรรมของสหรัฐ กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 4 พ.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครอง ถือครองเท่าเดิมที่ระดับ 1,292.19 ตัน USD/EU ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้หลังจากธนาคารกลางสหรัฐประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาววงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.72% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4138 ยูโร จากระดับของวันอังคารที่ 1.4037 ยูโร โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดตลาดยู่ที่ระดับ 1.4120 ดอลลาร์ต่อยูโร ข่าวเศรษฐกิจโลก - สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการเดือนต.ค.ขยายตัวที่ระดับ 54.3 จุด จากเดือนก.ย.ที่ระดับ 53.2 จุด สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 53.5 จุด ทั้งนี้ ดัชนีที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่า ภาคบริการยังคงมีการขยายตัว และดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตหดตัว - ADP Employer Services รายงานว่า ภาคเอกชนทั่วประเทศสหรัฐเพิ่มการจ้างงาน 43,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.ที่ลดการจ้างงานลง 2,000 ตำแหน่ง และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคบริการเดือนต.ค.ของสหรัฐขยายตัวที่ระดับ 54.3 จุด จากเดือนก.ย.ที่ระดับ 53.2 จุด สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 53.5 จุด - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมของสหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.1% ในเดือนก.ย. แตะระดับ 4.20 แสนล้านดอลลาร์ ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.6% - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (3 พ.ย.) พร้อมประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) รอบสอง ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ภายในกลางปีหน้า โดยกำหนดระยะในการเข้าซื้อที่ราว 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว และเพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดต่ำลง คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0-0.25% และประกาศใช้มาตรการ QE รอบสอง ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ในการประชุมครั้งล่าสุด พร้อมกับออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่า "ระยะในการฟื้นตัวของผลผลิตทางเศรษฐกิจและตัวเลขจ้างงานยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการเฟดจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ และเข้าซื้อพันธบัตรระยะรัฐบาลระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ควบคู่ไปกับการสร้างเสถียรภาพด้านราคาและการจ้างงาน"นอกจากนี้ เฟดย้ำว่าจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอีกระยะหนึ่ง และจะพิจารณาการใช้นโยบายที่จำเป็นในการพยุงเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันฟื้นตัวล่าช้า ส่วนตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ก็ยังคงถูกจำกัดด้วยอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ของประชาชนขยายตัวปานกลาง และภาวะสินเชื่อยังคงตึงตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ