วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อ ความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ข่าวทั่วไป Monday November 8, 2010 10:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (Thai Labor Protection Law)อบรมวันพุธ-พฤหัสบดีที่ 8-9 ธันวาคม 2553 (หลักสูตร 2 วัน)ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีสถานะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญา หรือ ข้อตกลงใดๆที่ลูกจ้างลงนามตามข้อสัญญา หรือ ตามข้อข้อตกลงที่นายจ้างจัดทำ แต่ขัดกับบทบัญญัติในกฎหมายฉบับนี้ มีผลตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันตัวลูกจ้าง นอกจากนั้น ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้บริหารของกิจการนั้นๆ อาจจะมีโทษถึงขั้นถูกจำคุกได้ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในปัจจุบัน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับปี พศ. 2541 และ ฉบับปี พ.ศ. 2551 เป็นเรื่องที่ไม่สนใจเรียนรู้มิได้ เพราะผู้ใดที่สั่งการผิดกฎหมาย หรือ กระทำการผิดกฎหมาย หรือ ไม่สั่งการให้ถูกกฎหมายต่างมีความผิดต้องถูกลงโทษตามบทบัญญัติมาตรา 158 ทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาทุกท่าน ในทุกสายงานที่มีลูกน้อง รวมถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ฝ่ายธุรการ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายวินัยและแรงงานสัมพันธ์ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายงานที่ต้องทำงานกับคนจำเป็นต้องมาเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกับวิทยากรมืออาชีพซึ่งเป็นอดีตประธานคณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานอย่างดียิ่ง เป็นผู้สามารถอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้ไม่มีพื้นทางกฎหมายได้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ และ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง พร้อมตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาประกอบมากมาย เพื่อเสริมความเข้าใจในทางกฎหมาย Training Schedule วันที่ 8 ธันวาคม 2553 มาตรา 1 - มาตรา 43 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น 1. หลักการและสถานภาพที่สำคัญของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีอย่างไร 2. ความมุ่งหมาย ของรัฐธรรมนูญในการดูแลลูกจ้างมีเพียงไร 3. ความหมายที่ถูกต้องของนายจ้าง (เหตุใดหัวหน้างาน มีโอกาสติดคุกแทนนายจ้างที่ทำผิดได้) 4. ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงของการรับเหมาค่าแรงตามกฎหมายแรงงานฉบับใหม่มีอย่างไร 5. ความรับผิดชอบที่แท้จริงของกิจการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรงงานมีเพียงไร 6. ความหมายที่สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 เกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้าง มีขอบเขตเพียงไร 7. ความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับคำต่างๆในกฎหมายมีเพียงไร 8. หลักประกันในการทำงาน ต้องคืนลูกจ้างเมื่อไร การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ เมื่อเลิกจ้าง จ่ายตอนสิ้นเดิอนตามปกติไม่ได้เพราะอะไร และ ค่าชดเชย ที่ถูกต้องนั้น จ่ายเมื่อไรกันแน่ 9. ตามกฎหมายใหม่ ห้ามนายจ้างรับหลักประกันใดๆ ไม่ว่าเงินสด หลักทรัพย์ หรือ บุคคล ในการรับลูกจ้างเข้าทำงาน ยกเว้นงาน 7 ประเภทเท่านั้น และ เงื่อนไข และ หลักเกณฑ์อย่างไร 10. การโอนตัวลูกจ้าง ไปทำงานต่างนิติบุคคล มีสิ่งใดที่ต้องระวัง ซึ่งนายจ้างมักทำผิดพลาด และ เกิดความเสียหายต่อฝ่ายนายจ้างบ่อย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 11. กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ถูกยกสถานะเป็นกฎหมายมหาชน จำนวน12มาตรา ที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม มีอะไรบ้าง และ มีความหมายในทางปฏิบัติเพียงไร 12. เหตุใดสัญญาจ้าง ข้อบังคับ ระเบียบของฝ่ายนายจ้าง กฎหมายห้ามมิให้นายจ้าง กระทำการเอาเปรียบลูกจ้าง แต่ถ้าทำเป็นข้อตกลง สามารถทำเอาเปรียบลูกจ้างได้ 13. เหตุใดจึงไม่ห้ามลูกจ้างล่วงเกิน คุกคาม ก่อความเดือดร้อน รำคาญ ทางเพศต่อหัวหน้างาน ฯลฯ 14. เหตุใดเมื่อผลทดลองงานลูกจ้างไม่ผ่าน กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างทันที 15. การแจ้งหรือการส่งเอกสารให้ทางแรงงาน กฎหมายให้ทำได้หลายช่องทาง มิใช่ต้องไปพบเท่านั้น 16. การนับอายุงานของลูกจ้างที่ถูกต้อง ตามกฎหมายให้นับอย่างไร มาจากกฎหมายมาตราใด 17. การจ้างงานที่มีระยะเวลาจ้างแน่นอน แม้เว้นระยะการจ้าง หรือ ให้ลาออกไปแล้ว หรือ การจ้างครั้งใหม่ในหน้าที่ต่างจากการจ้างครั้งก่อน ทำไมกฎหมายให้อายุงานต่อเนื่อง มาจากกฎหมายมาตราใด 18. เหตุใดนายจ้างกำหนดเวลาทำงาน เพียงสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 9 ชั่วโมง รวมทำงานสัปดาห์ละ 45 ชั่วโมงเท่านั้น ทำไมจึงเป็นการผิดกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ มาจากกฎหมายมาตราใด 19. เหตุใดนายจ้างจึงสั่งลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 20. เหตุใดนายจ้างจึงสั่งลูกจ้างทำงานในวันหยุดไม่ได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 21. งานอะไรที่นายจ้างมีอภิสิทธิ์สั่งลูกจ้าง มาทำงานในวันหยุดได้ โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ ไม่มาเป็นความผิด สั่งลงโทษได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 22. การจ่ายค่าล่วงเวลา และ ค่าทำงานในวันหยุด รวมกัน เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งลูกจ้างเต็มใจในการรับเงินดังกล่าว ทำไมกฎหมายถือว่า ฝ่ายนายจ้างมีความผิด มีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ข้อห้าม และ บทลงโทษ มาจากกฎหมายมาตราใด 23. เหตุใดพักครั้งละ 5 นาที 10 นาที ในระหว่างการทำงาน หรือ ให้พัก 30 นาที ก่อนเวลาเลิกงานแล้วกลับบ้านได้ก่อนเวลาเลิกงาน จึงเป็นการพักที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว มาจากกฎหมายมาตราใด 24. มี 8 ประเภทงานใด ที่นายจ้างมีอภิสิทธิ์สั่งให้ลูกจ้างทำงาน ในวันหยุดประจำสัปดาห์ได้ โดยไม่ต้องถามความสมัครใจจากลูกจ้าง มาจากกฎหมายมาตราใด 25. หน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้าง มีขอบเขต และ หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องเพียงไร ทำไมลูกจ้างไม่ลาหยุดพักผ่อนตามระเบียบข้อบังคับฯเอง แต่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ 26. มี 12 งานใด ที่นายจ้างไม่ให้หยุดในวันหยุดตามประเพณีได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 27. งานที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ กฎหมายให้หมายถึงงานที่มีลักษณะอย่างไร เหตุใดลูกจ้างขอทำงานล่วงเวลาเพราะงานไม่แล้วเสร็จ โดยนายจ้างยินยอมให้ทำและจ่ายค่าล่วงเวลาให้ครบ นายจ้างก็มีความผิด 28. สิทธิการลาป่วย สิทธิได้ค่าจ้างเนื่องจากการลาป่วยมีเพียงไร มาจากกฎหมายมาตราใด 29. ลูกจ้างลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ถูกต้อง แพทย์ยืนยันที่ศาลแรงงานว่าลูกจ้างป่วยจริงจึงออกใบรับรองแพทย์ให้ เหตุใดทั้ง ศาลแรงงาน และ ศาลฎีกาตัดสินว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรได้ 30. ลูกจ้างลาทำหมัน มีสิทธิได้ค่าจ้างเต็มกี่วัน มาจากกฎหมายมาตราใด 31. เหตุใดลูกจ้างบางกิจการลากิจ โดย ได้ค่าจ้างบ้าง ไม่ได้ค่าจ้างบ้าง ลากิจได้ 3 วันบ้าง 15 วันบ้าง ไม่เท่ากัน เหตุใด จึงชอบด้วยกฎหมาย มาจากกฎหมายมาตราใด 32. ความหมายที่แท้จริงของการลาเพื่อฝึกอบรมฯ มีเพียงไร ทำไมนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเพื่อลาไปรับการอบรมในหลักสูตรเพื่อจะมาทำตนเป็นปรปักษ์กับนายจ้าง ที่แท้จริงกฎหมายกำหนดไว้อย่างไร 33. ทำไมนายจ้างยอมให้ลูกจ้างหญิงทำงานนั่งร้านสูง 10 เมตรขึ้นไปไม่ได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 34. ทำไมนายจ้างยอมให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ ทำงานโดยใช้รถไม่ได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 35. ทำไมนายจ้าง ยอมให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานเกิน 22.00 น. ไม่ได้ ให้มาทำงานในวันหยุดไม่ได้ 36. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานอะไร ที่นายจ้างอาจให้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ มาจากกฎหมายมาตราใด 37. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ เหตุใดลาก่อนคลอดและลาหลังคลอดไม่ได้เหมือนก่อน มาจากกฎหมายมาตราใด 38. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ขอเปลี่ยนงานเดิม ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดได้ โดยต้องมีหลักฐานอะไรมาแสดง 39. เหตุใดกฎหมายห้ามลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานแอร์โฮสเตส แต่นายจ้างก็เลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ 40. ถาม — ตอบ ปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มาตรา 1 - มาตรา 43 วันที่ 9 ธันวาคม 2553 มาตรา 44 - มาตรา 158 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น. 1. เหตุใดจึงจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานใดๆมิได้ 2. เหตุใดให้เด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดไม่ได้ 3. เหตุใดห้ามไม่ให้เด็กอายุไม่ถึง 18 ปีทำงานในสถานบริการทุกชนิด 4. เหตุใดห้ามจ่ายค่าจ้างเด็ก ให้แก่เด็ก หรือให้แก่บิดามารดาเด็ก เป็นการล่วงหน้า หรือขณะแรกจ้าง หรือก่อนวันจ่ายค่าจ้าง 5. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างไร จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย 6. ถ้า ลูกจ้างไม่ลาหยุดพักผ่อนเอง ทำไมนายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย 7. เหตุใดผู้บริหารเช่น รองกรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่าย ฯลฯ จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาด้วย 8. ในกรณีใด ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนสะสมและวันหยุดตามส่วนในปีที่เลิกจ้าง 9. ในกรณีใด ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนสะสมเท่านั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามส่วนในปีที่เลิกจ้าง 10. การคิดค่าจ้างต่อวัน และต่อชั่วโมง ที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องคิดอย่างไรจึงจะถูกต้อง 11. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ฯลฯ จ่ายเมื่อไรถึงจะถูกกฎหมาย 12. ลูกจ้างทุกประเภทที่ ไปทำงานท้องที่อื่นในวันหยุด ไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาในระหว่างเดินทาง ทำไม ลูกจ้างรายวัน ได้ค่าจ้างในระหว่างเดินทาง 13. หากนายจ้างเคยจ่ายค่าล่วงเวลา ให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย นายจ้างจะยกเลิกไม่จ่ายได้หรือไม่ 14. ถ้านายจ้างเคยจ่ายค่าลวงเวลา ฯลฯ ในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จะยกเลิกได้หรือไม่ 15. ถ้านายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ด้วยเหตุอะไร ที่ต้องจ่ายค่าจ้าง 75% และ ด้วยเหตุอะไร ที่ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างเลย 16. นายจ้างต้องหักค่าจ้างลูกจ้าง ไม่จำกัดจำนวน ตามคำสั่งกรมบังคับคดีได้เลยใช่ไหม 17. ค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างทุกสัญชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศเหมือนกันใช่ไหม 18. นายจ้างมีหน้าที่ ต้องติดประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ 19. เมื่อไร ที่นายจ้างต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการ ฯ เมื่อไรที่คณะกรรมการสวัสดิการฯทั้งคณะ จะถูกยึดอำนาจ 20. เมื่อไรที่นายจ้าง ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ ต้องมีเนื้อหาในเรื่องอะไรบ้าง 21. เมื่อไรที่จะต้องแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน 22. ถ้าจัดทำ หรือแก้ไขข้อบังคับที่ไม่มีความชำนาญ จะเกิดผลเสียหายอย่างไร 23. ข้อบังคับฯ ที่มีประโยชน์ มีลักษณะอย่างไร 24. มีลูกจ้างกี่คน ที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดทำทะเบียนลูกจ้าง 25. หมวดการร้องทุกข์ กฎหมายบังคับให้มี 5 หัวข้อ อะไรบ้าง 26. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร 27. แบบมาตรฐานข้อบังคับในการทำงานฯ ของกระทรวงแรงงาน มีผลเสียหายต่อนายจ้างอย่างมากในเรื่องอะไร 28. กฎหมายกำหนดเงื่อนไขการพักงานเพื่อสอบสวน และการจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานอย่างไร 29. มีความแตกต่างจากการลงโทษให้พักงานโดยงดจ่ายค่าจ้างเพียงไร 30. อัตราค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างมีอย่างไร 31. ความหมายที่ถูกต้องของการเลิกจ้างมีเพียงไร 32. การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำผิด ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายในมาตราใด 33. ข้อยกเว้นโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีทำผิดมีอย่างไร 34. ทำไมหนังสือเลิกจ้าง ที่ได้ระบุ เหตุผลความผิดตามมาตรา 119 แล้ว ก็ยังต้องจ่ายค่าชดเชยอีกด้วย 35. เงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ฯลฯ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้งที่อื่น มีรายละอียดอย่างไร 36. เงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ฯลฯ กรณีมีการปรับปรุง การผลิด การจำหน่าย หรือการบริการ มีขอบเขตเพียงไร 37. หากนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จะต้องดำเนินการอย่างไร 38. การฝ่าฝีน 34 มาตราใด ที่มีโทษถึงจำคุก มีเนื้อหาโดยย่ออย่างไร ที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ หากสั่งการผิด หรือกระทำการผิด หรือไม่สั่งการให้ทำถูก จะต้องมีโทษจำคุก หรือ ถูกปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ 39. ถ้านายจ้างไม่รายงานสภาพการจ้าง และสภาพการทำงาน จะถูกกฎหมายลงโทษอย่างไร 40. ถาม - ตอบ ปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มาตรา 44 - มาตรา 158 Instructor อาจารย์รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง อดีตประธานฝ่ายวิชาการสมาคมกฎหมายแรงงาน(ประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และ กฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชนต่างๆ ฯลฯ Registration Fee 6,000 + VAT 420 = 6,420 บาท เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 ถนนสามวา แขวงบางชัน เขตคลองสามวากรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ