นิตยสาร MBA ผนึก 5 องค์กรชั้นนำ ถ่ายทอดวิถี CSR และ Social Enterprise สู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Tuesday November 9, 2010 09:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--นิตยสาร MBA นิตยสาร MBA ร่วมกับ 5 องค์กรชั้นนำ ประกอบด้วย ม.หอการค้าไทย , อิสลามแบงก์ , ดีแทค ,บางจากปิโตรเลียม และเอสซีจี ร่วมเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ เรื่อง CSR และ Social Enterprise กับการต่อยอด กระบวนการเรียนรู้เพื่อไปประยุกต์กับองค์กร จากการติดตามเรื่อง CSR อย่างใกล้ชิด ทีมงานนิตยสารพบว่า ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา มีความตื่นตัวในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการที่หลายองค์กรมุ่งทำโครงการหรือกิจกรรม CSR กันอย่างมากมาย นิตยสาร MBA เอง ในรอบปีนี้ก็จัดทำสกู๊ปหลักเรื่อง CSR ถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อเดือนมีนาคม เรื่อง We Need Sustainable Strategy, Not Just a “Go Green” ซึ่งว่าด้วยเรื่อง ดิน น้ำ ฟ้า อากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป และในเดือนตุลาคม ยังทำสกู๊ป เรื่อง Good Corp Save the World ที่นำเสนอเรื่องราว CSR ในรูปแบบกรณีศึกษาจากองค์กรต่างๆ “CSR เป็นเรื่องที่ภาคธุรกิจไม่อาจเพิกเฉยได้ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ต้องทำทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทต้องมีกำไรอยู่ได้ คนอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมอยู่ได้ เพราะสุดท้ายแล้วธุรกิจเองก็ต้องตอบคำถามให้ได้ด้วย ว่า Can Entrepreneur Save the Society ?และ Can Entrepreneur Save the World ?” นายทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว บรรณาธิการบริหารนิตยสาร MBA ให้ความเห็น รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หนึ่งในวิทยากรกิตติมศักดิ์รับหน้าที่บรรยายในงานสัมมนา 1 Day CSR Program สะท้อนมุมมองเรื่อง CSR และ Social Enterprise อย่างน่าสนใจว่า กระแสการตื่นตัวเรื่องการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์ (CSR : Corporate Social Responsibility) ของกิจการต่างๆ ทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ถูกบรรจุลงไปในหลักการตลาดทีหลายองค์กรใช้เป็นแนวทางสร้างภาพลักษณ์ที่ดี พฤติกรรมของคอนซูเมอร์ยุคปัจจุบัน หรือผู้ซื้อสินค้านั้นเริ่มตื่นตัวมากขึ้นในการเป็นผู้ใช้สินค้าอย่างรู้คุณค่า และขอทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งเพื่อสังคม ฉะนั้นสินค้าใดก็ตามที่สื่อสารออกไปถึงรายได้ หรือผลกำไรส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งปันให้กับสังคมในวงกว้างกลับได้รับการคัดสรรและเลือกซื้อสินค้าตัวนั้นมากกว่าสินค้าที่ไม่ได้ทำเพื่อสังคม เมื่อหลายองค์กรทำซีเอสอาร์จนกลายเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจจนเกิดรูปแบบซีเอสอาร์ที่หลากหลาย ทำให้องค์กรต่างๆ จึงพยายามสร้างรูปแบบยกระดับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมโลกที่มีพลวัตสูงขึ้นจนเกิดคำว่า กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) SE เป็นรูปแบบการทำประโยชน์เพื่อสังคมเชิงลึก โดยเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non Profits) หรือนำผลกำไรที่ได้ทั้งหมดนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสังคมอย่างแท้จริง โดยไม่มีการแบ่งส่วนกำไรที่ได้ให้กับองค์กร หรือผู้ประกอบธุรกิจแม้แต่น้อย รศ.ดร.จีรเดช ยังอธิบายถึง Social Enterprise อีกว่า SE ได้เกิดขึ้นมานานนับสิบปีแล้ว โดยมีกรณีศึกษา 3 กรณี ที่ทำให้คำว่า SE หรือ Social Enterprise เกิดขึ้นมาบนโลก นั้นคือ 1. One World Health เป็นบริษัทยาไม่แสวงหากำไรแห่งแรกในอเมริกา มีพันธกิจและโมเดลธุรกิจที่ไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง เฮลก่อตั้งบริษัทแบบโมเดล 1 แห่งนี้เพื่อพัฒนายารักษาโรคร้ายที่คุกคามคนที่ยากจนที่สุดในโลก โมเดลธุรกิจของเธอมีองค์ประกอบหลักสองประการ เริ่มแรก ทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นหาสูตรยาที่น่าจะใช้การได้ นำมาทดลอง และยื่นขออนุญาตจากทางการ หลังจากนั้น One World Health จะทำสัญญาผลิตและจัดจำหน่ายยากับบริษัทและองค์กรในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยยากจนจะมีกำลังซื้อและเข้าถึงยานี้อย่างยั่งยืน และสัญญาดังกล่าวก็นับเป็นการบุกเบิกเส้นทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศเหล่านั้นด้วย 2. SEKEM ได้พิสูจน์ตัวเองไปเป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าประทับใจอย่างสวยหรูของการจำลองแบบในโลกมุสลิมอุทิศเพื่อการลดความยากจนและการสร้างวิถีชีวิตที่ดีกว่าสำหรับคนจน SEKEM ก่อตั้งขึ้นโดย ดร. อิบราฮิม Abouleish ในทะเลทรายตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ในปี 1977 3. ธนาคารกรามีน ของมูฮัมหมัด ยูนูส ให้เงินกู้ขนาดย่อมสำหรับแม่บ้านในบังกลาเทศเพื่อลงทุนสร้างกิจการของตนเอง เน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา นั่นคือการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาที่เป็นเป้าหมายของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผล ยั่งยืน และสามารถต่อยอดผลลัพธ์ได้ ดังนั้นความแตกต่างของ CSR คือ กิจกรรมเพื่อสังคม เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดขึ้นปลายทางหลังจากที่ธุรกิจมีกำไรและมั่นคงแล้ว จึงหาหนทางในการตอบแทนคืนสู่สังคมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจาก Social Enterprise ที่มีหัวใจหลักของการประกอบการอยู่ที่สังคมตั้งแต่ต้นทาง โดยงานสัมมนาในครั้งนี้จะมีวิทยากรจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญจาก 5 องค์กร ได้มาถ่ายทอดซีเอสอาร์ให้ประสบความสำเร็จ และต่อยอดไปสู่ Social Enterprise ประกอบด้วย รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย , นางสาวฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรและชุมชนสัมพันธ์ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานรักบ้านเกิด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นางสาววีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กรเอสซีจี ร่วมเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ เรื่อง CSR และ Social Enterprise กับการต่อยอด กระบวนการเรียนรู้เพื่อไปประยุกต์กับองค์กร ในงานสัมมนา1 Day CSR Program

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ