กรมส่งออกหนุนแดนภารตะเป็นช่องเจาะตลาดอสังหาฯ-ตกแต่ง ไพร์วอเตอร์เฮ้าส์สนับนุน ชูที่อยู่อาศัย- โรงแรมบูม

ข่าวทั่วไป Thursday November 11, 2010 15:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งออกหนุนแดนภารตะเป็นช่องเจาะตลาดอสังหาฯ-ตกแต่ง ไพร์วอเตอร์เฮ้าส์สนับนุน ชูที่อยู่อาศัย- โรงแรมบูม สคร.โอ่การพัฒนาเมืองใหม่ดูดเงินลงทุนต่างชาติกว่า 8.4 พันล้านเหรียญฯ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยถึงรายงานโอกาสทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอินเดียว่า จากการวิเคราะห์ตลาดของบริษัท ไพร์ วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลกได้เสนอรายงานที่น่าสนใจ ที่สนับสนุนให้เห็นว่า อินเดียเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์และบริการเกี่ยวเนื่องที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ๆ อย่างมุมไบ นิวเดลี และเจนไนที่บูมมากที่สุดในสาขาบ้านและอาคารที่พักอาศัย ขณะที่ในด้านการก่อสร้างโรงแรมจะบูมมากในเมืองมุมไบ นิวเดลีและบังกะลอร์ “ไม่เฉพาะแต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังรวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม และเฟอร์นิเจอร์มีมูลค่าที่สูงมาก โดยคาดการณ์ว่า ก่อนถึงปี ค.ศ.2012 ความต้องการบ้านพักอาศัยมีสูงถึง 26.53 ล้านหน่วย”นางนันทวัลย์ กล่าว และว่า การลงทุนดังกล่าวก่อให้เกิดการไหลเข้าของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยกรมนโยบายและส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPP) ของอินเดีย เพราะอสังหาริมทรัพย์และบ้านพักอาศัยนั้น จะประกอบด้วยซีนีเพล็ก มัลติเพล์กซ์ การพัฒนาเมืองใหม่ และศูนย์การค้าร่วมด้วย ทำให้ช่วงกว่าปีที่ผ่านมา(เมษายน 2009 - เมษายน 2010) มีการลงทุนต่างประเทศกว่า 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเจนไนอินเดีย กล่าวว่า ปัจจุบันการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งของไทย 92 % ส่งออกไปประเทศจีน เป็นการพึ่งพาตลาดหลักเพียงตลาดเดียว อาจส่งผลต่ออำนาจต่อรองในอนาคต ไทยจึงจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ๆ รองรับ ประเทศอินเดียเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูง มีการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งการเดินทางไปเจรจาการค้า เพื่อขยายตลาดส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ของไทยในอินเดียยังเป็นการลดการพึ่งตลาดหลักอย่างจีนเพียงตลาดเดียว “ล่าสุดคณะผู้แทนการค้าไทยได้เดินทางไปเปิดตลาดอินเดียในสาขาก่อสร้าง สถาปนิก ตกแต่งภายใน และร้านค้าไม้ สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคุณภาพไม้ยางไทยดีกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งไม้ยางพารามีสีสันสวยงามไม่แพ้ไม้โอ๊ก บางครั้งจึงเรียกว่า ไวท์ โอ๊ค(White oak) โดยสามารถทำยอดขายไม้ยางและไม้ปาร์เก้ได้สูงถึง 340 ล้านบาท นับเป็นยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์” นายไพศาล กล่าว สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการส่งออก โทร.02-507-7932 — 4

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ