วงการสิ่งทอขานรับกระแสโลก

ข่าวทั่วไป Thursday November 11, 2010 15:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--ทีทีไอเอส สองนายกสมาคมในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยกระตุ้นผู้ผลิตไทยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเตรียมร่วมงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “ลดโลกร้อนและสร้างกำไรในอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเทคโนโลยีสะอาด” ซึ่งจัดโดย บริษัท ทีทีไอเอส จำกัด ผู้นำในการผลิตนิตยสารทางการค้า อาทิ TTIS Textile Digest และ TTIS FashionBiz ในวันพุธที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ณ โรงแรม โฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ บริษัท ทีทีไอเอส จำกัด ได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้าสำเร็จ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจสิ่งทอ และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดโลก โดยในปีนี้บริษัทเลือกชูประเด็นการใช้เทคโนโลยีสะอาด (clean/green technology) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ร้อนแรงและได้รับความสนใจจากทุกธุรกิจในปัจจุบัน โดยตั้งเป้าผู้เข้าร่วมสัมมนาในปีนี้ 250 ราย บริษัท ทีทีไอเอส จำกัด ได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้าสำเร็จ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจสิ่งทอ และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดโลก โดยในปีนี้บริษัทเลือกชูประเด็นการใช้เทคโนโลยีสะอาด (clean/green technology) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ร้อนแรงและได้รับความสนใจจากทุกธุรกิจในปัจจุบัน โดยตั้งเป้าผู้เข้าร่วมสัมมนาในปีนี้ 250 ราย คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กล่าวว่า “เรื่องของการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นในทุกประเทศ และไม่เพียงเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมถึงทุกๆ อุตสาหกรรม จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจะต้องติดตามเทรนด์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่ๆ แม้ว่าในการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นทุกๆ ประเทศ จึงไม่ถือว่าเราเสียเปรียบในการแข่งขันแต่อย่างใด งานสัมมนาที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เพราะจะได้ทราบว่าผู้ผลิตในประเทศอื่นๆ กำลังทำอะไรกันบ้าง และสามารถเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดโลกได้” คุณสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ให้ความเห็นว่า “ในปัจจุบันคนมองประเด็นเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนไปแล้ว และในวันข้างหน้าจะกลายเป็น Requirement ที่จำเป็นต้องมีในทุกๆ อุตสาหกรรม สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เราไม่มีปัญหาในเรื่องการสร้างมลภาวะอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง และลดการปล่อยคาร์บอนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโลก ซึ่งการจะทำได้ต้องพิจารณาการผลิตใน 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมี content ที่สามารถรีไซเคิลได้ในปริมาณสูงถึงร้อยละ 80-90 งานสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม เพราะในระยะยาวทุกคนจะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้ Requirement นี้ เพียงแค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น ดังนั้นผู้ผลิตรายไหนที่ปรับตัวได้เร็วกว่าก็จะได้รับประโยชน์มากกว่า” ด้าน ดร. รจนา โกศัยยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีไอเอส จำกัด ผู้จัดงานสัมมนาครั้งนี้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันทุกธุรกิจได้หันมาให้ความสนใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เนื่องจากกระแสโลกร้อนเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ซึ่งผู้ซื้อรายใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จะเห็นได้จากประเทศเหล่านี้มีการใช้คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ เป็นมาตรวัดการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องรู้จักกับมาตรวัดต่างๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะยกระดับสินค้าและการผลิต ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร. รจนา ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่างานสัมมนาในปีนี้เป็นงานสัมมนาด้านสิ่งทอครั้งใหญ่สุดที่บริษัทเคยจัด เพื่อฉลองการก้าวสู่ปีที่ 20 ซึ่งบริษัทได้ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลทางการค้าแก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ที่สำคัญงานนี้ยังจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้า ผู้สนับสนุน ตลอดจนผู้อ่านที่ติดตามนิตยสารของบริษัท ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่บริษัทจะได้มาพบปะทำความรู้จักกับผู้อ่านนิตยสารที่เป็นแฟนตัวจริง และสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาก็จะมีโอกาสได้ต่อยอดเครือข่ายพันธมิตรกับผู้เข้าร่วมสัมมนาอื่นๆ อีกกว่า 200 ราย งานสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก 12 วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 11 บริษัทชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ผ่านหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ อาทิ Mr. Emrah Esder จาก Clariant Chemicals, Mr. Jack Lin จาก Shanghai C&D, คุณวรณัฐ สถาการ จาก Huntsman, Mr. Ray Patton จาก TANATEX Chemicals Trading Shanghai (Bayer Thai), Mr. Sharon Tan จาก BASF, Mr. Herbert Guebeli จาก Dusit Chemicals, Mr. Christine K?rner จาก Rudolf Chemicals, Mr. Gero Reichert จาก Pulcra Chemicals (Union Compound) และ คุณสุวรรณา จงศิริภิญโญ จาก Sumitomo Chemical เป็นต้น งานสัมมนาครั้งนี้จะมุ่งเน้นประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ - คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ สำคัญอย่างไร - คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ กับอุตสาหกรรมสิ่งทอในไทย - การสร้างบริการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - การสร้างความยั่งยืนให้ซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ - สิ่งทอเพื่อธุรกิจในอนาคตอันยั่งยืน - นวัตกรรมของสี Reactive - การจัดการทรัพยากรน้ำ - การประหยัดพลังงานและลดน้ำเสียในกระบวนการตกแต่ง - การเตรียมด้วยแวกซ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - การประหยัดทรัพยากรด้วยการย้อมตกแต่งชั้นสูง - การเตรียมผ้าฝ้ายด้วยมิเนอรัลเทคโนโลยี นอกจากนั้น งานสัมมนาในปีนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นครั้งแรก โดยการสัมมนาในช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายในภาพรวม ส่วนการสัมมนาในช่วงบ่ายจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยมีวิทยากรและหัวข้อสัมมนาที่แตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถเลือกฟังการสัมมนาในหัวข้อที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากที่สุด ภายในงานยังมีนิทรรศการจากบริษัทชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรม นำสินค้าและนวัตกรรมล่าสุดมาจัดแสดงและจำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจอีกกว่า 20 บริษัท อาทิ Clariant , Huntsman, Rudolf Chemical, BASF, Dusit Chemicals, TANAFEX Chemicals Trading Shanghai (Bayer Thai), Union TSL Ltd. (Union Compound), C&D International, Blue Sign Technology AG., Pulcra Chemicals และ Sumitomo Chemical เป็นต้น บัตรราคา 2,675 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ผู้สนใจสามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ คุณอุทัยพรรณ โทร. 0 2718 8950 ต่อ 402 โทรสาร. 0 2718 8951 อีเมล์: uthaipan@ttis.co.th ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/9RZ93W

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ