ฟรอสต์คาด ธุรกิจรักษาความปลอดภัยในสนามบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีเงินสะพัดกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2558

ข่าวทั่วไป Thursday November 11, 2010 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--Frost & Sullivan การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มาพร้อมกับการเติบโตทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับการเติบโตด้านการค้าและการท่องเที่ยวส่งผลให้ความต้องการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศและการจราจรทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสารนำยังนำมาซึ่งภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆซึ่งทำให้การรักษาความปลอดภัยภายในสนามบินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ส่งผลให้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่สนามบินต่างต้องเพิ่มมาตรการในการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของรัฐบาลใหม่และเตรียมพร้อมสำหรับภัยจากผู้ก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ได้ มร. อมาตยา ดี นักวิจัยจากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกเปิดเผยว่า ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและการเพิ่มขึ้นของการจราจรทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจการรักษาความปลอดภัยของสนามบินและช่วยขยายตลาดดังกล่าวในภูมิภาคนี้อีกด้วย ตัวเลชค่าใช้จ่ายโดยรวมของการรักษาความปลอดภัยภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะสูงถึง 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2557 ถึงแม้ว่ารูปแบบการใช้จ่ายของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป ในแง่ของการลงทุน ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต่อการพิจารณาคือภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน และความพร้อมในด้านแรงงาน ตลอดจน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามต่างๆทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ “ปัจจุบัน การรักษาความปลอดภัยในสนามบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีส่วนแบ่งทางการตลาดคิดเป็นร้อยละ 12 ของ ค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัยทั้งหมด โดยฟอร์สแอนด์ ซัลลิแวน ประมาณการณ์ว่า ตลาดดังกล่าวจะเติบโตขึ้นจาก 5.21 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2551 เป็น 9.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโต CAGR อยู่ที่ร้อยละ 8.50 จากปี 2551 ถึงปี 2558 โดยตลาดดังล่าวประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆคือ การคัดกรองของสนามบิน การเฝ้าระวังและการควบคุมการเข้าออก โดยตลาดการคัดกรองของสนามบินมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ การเฝ้าระวังและการควบคุมการเข้าออก ตามลำดับ” มร. อมาตยา กล่าว นอกเหนือไปจากนี้ กฎระเบียบของรัฐบาล การเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ๆ แผนการขยายสนามบิน และการเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามด้านการก่อการร้าย ยังมีส่วนในการผลักดันธุรกิจการรักษาความปลอดภัยของสนามบินอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ปัจจัยที่คอยขัดขวางการเติบโตของธุรกิจนี้ ได้แก่ การลดการจัดสรรงบประมาณ แผนการจัดซื้อจัดจ้ายที่ซับซ้อน รวมไปถึงกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นต้น ซึ่งธุรกิจการรักษาความปลอดภัยของสนามบินนี้มีการแยกสัดส่วนที่สูง กล่าวคือ ระบบ Supply Chain ของธุรกิจนี้ประกอบไปด้วย ผู้ผลิตระบบรักษาความปลอดภัย ผู้จัดจำหน่าย และ ผู้ประสานงานในระบบ โดยความท้าทายของธุรกิจนี้อยู่ที่ การบูรณาการระบบต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน นั่นเอง มร.ดี กล่าวเสริมว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเปิดสนามบินใหม่ๆ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาที่สำคัญและมาพร้อมกับความต้องการด้านความปลอดภัยที่ทันสมัย โดยการก่อสร้างอาคารอาคารสถานี และรันเวย์จะมีตัวเลขสูงถึง 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงระหว่างปี 2553- 2568 โดยในส่วนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดียรวมกัน ได้มีแผนพัฒนาและสร้างสนามบินอย่างน้อย 93 แห่งเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการจราจรทางอากาศระหว่างสองประเทศนี้ โดยคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 33.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังได้ได้มีการพัฒนาและขยายสนามบิน โดยเฉพาะประเทศไทย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และ ฟิลิปปินส์ ในส่วนของประเทศ สิงคโปร์ ได้มีการสร้าง budget terminal ขึ้นที่สนามบินชาง เพื่อตอบสนองสายการบินต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะอัพเกรดเทอร์มินอล ซึ่งคาดว่า ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาความปลอดภัยของสิงคโปร์จะสูงถึงประมาณ 298 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 ประเทศออสเตรเลีย ได้วางแผนที่จะสร้างเทอร์มินอลใหม่ ในสนามบินนานาชาติ 5 แห่งโดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากปี 2552-2558 โดยมีค่าใช้จ่ายในเรื่องความปลอดภัยประมาณ 640.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2558 เวียดนาม ยังคงมองหาการพัฒนาอย่างน้อย 3 สนามบินใหม่ และขยายสนามบินที่มีอยู่อีก 7แห่งในระหว่างปี 2553-2563 โดยตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการจราจรทางอากาศของภูมิภาคนี้ ในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในด้านนี้ประมาณ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯจากปี 2552 — 2563 ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายสนามบินหลักสามแห่งในภูมิภาค โดยสนามบิน อินชอนของเกาหลีใต้ได้พัฒนาตัวเองจนได้ชื่อว่าเป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินหนาแน่นติดอันดับโลกและยังมีแผนที่จะสร้าง Air City ภายในปี 2563 เพื่อเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยภายในสนามบินอยู่ประมาณ 518.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2558 ประเทศฮ่องกง มีแผนพัฒนาสนามบินอย่างต่อเนื่องแบบ 5 ปี และ 20 ปี โดยตั้งเป้าเพิ่มผู้โดยสารและกริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในระยะยาว และคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัยภายในสนาบินฮ่องกงสูงถึง 470.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2558 สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้มีการวางแผนเพื่อพัฒนาสนามบินซึ่งคาดว่าจะดำเนินการไปจนถึงปี 2559 และมีค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยถึงประมาณ 411.3 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 มาเลเซีย มีความพยายามที่จะโปรโมทตัวเองเป็นศูนย์กลางการบินสำหรับภาคธุรกิจ และแบบต้นทุนต่ำ มูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษาความปลอดภัย คาดว่าจะอยู่ที่ 180.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 มร.อมาตยากล่าวว่า บริษัทต่างชาติจำนวนมากพยามยามที่จะเข้ามาสู่ตลาดนี้โดยการเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่อยู่ในภูมิภาค แต่เนื่องจากปริมาณคู่แข่งที่มีมากถึงกว่า 150 บริษัท ทำให้อัตรากำไรสำหรับนักลงทุนในตลาดนี้ได้ลดลงอย่างมาก ดังนั้น การที่จะยืนอยู่ได้ในภาวะตลาดเช่นนี้ บริษัทควรนำเสนอมูลค่าเพิ่มด้านการบริการ อาทิการฝึกอบรม และการบริการในด้านต่างๆ นอกเหนือจากการบริการทั่วๆไป ? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 630 1734 Frost & Sullivan

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ