ปภ. รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน 12 จังหวัด ภาคใต้ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553

ข่าวทั่วไป Thursday November 11, 2010 16:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด 130 อำเภอ 818 ตำบล 5,643 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 540,843 ครัวเรือน 1,733,972 คน ผู้เสียชีวิต 58 ราย ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ชุมพร และระนอง แต่ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันใน99 อำเภอ ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบสงขลา 4 อำเภอ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 2 อำเภอ รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม 24 อำเภอ และยังต้องเฝ้าระวังดินสไลด์ในอำเภอตากใบ นราธิวาส การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่ออกสำรวจความเสียหาย และนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นแล้ว นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 12 จังหวัด 130 อำเภอ 818 ตำบล 5,643 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 540,843 ครัวเรือน 1,733,972 คน ผู้เสียชีวิต 58 ราย ดังนี้ สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 119 ตำบล 996 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 280,270 ครัวเรือน 840,668 คน ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ใน 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา สะบ้าย้อย สะเดา หาดใหญ่ นาทวี คลองหอยโข่ง จะนะ รัตภูมิ ควนเนียง นาหม่อม เทพา ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกล่ำ ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอสทิงพระ ระโนด สิงหนคร และกระแสสินธุ์ สตูล น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 242 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 39,066 ครัวเรือน 155,964 คน ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสตูล ท่าแพ ละงู ทุ่งหว้า รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนกาหลง ควนโดน และมะนัง ตรัง น้ำท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ 8 เทศบาล 64 ตำบล 439 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 20,800 ครัวเรือน 60,000 คน ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรัษฎา วังวิเศษ กันตัง และสิเกา รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง นาโยง ห้วยยอด ย่านตาขาว และปะเหลียน นราธิวาส น้ำท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ 66 ตำบล 211 หมู่บ้าน 5 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 4,907 ครัวเรือน 20,982 คน ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส บาเจาะ จะแนะ แว้ง รือเสาะ สุไหงโกลก ศรีสาคร ระแงะ สุไหงปาดี สุคิริน เจาะไอร้อง และยี่งอ รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันและดินสไลด์ในอำเภอตากใบ ยะลา น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 46 ตำบล 232 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,908 ครัวเรือน 55,434 คน ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา ยะหา กาบัง กรงปินัง ธารโต รามัน และบันนังสา ปัตตานี น้ำท่วมพื้นที่ 12 อำเภอ 97 ตำบล 432 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 27,312 ครัวเรือน 108,217 คน ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันทั้ง 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี โคกโพธิ์ แม่ลาน มายอ สายบุรี กระพ้อ ยะรัง หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ ไม้แก่น และทุ่งยางแดง พัทลุง น้ำท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ 64 ตำบล 670 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 29,442 ครัวเรือน 94,626 คน ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง เขาชัยสน ป่าบอน ควนขนุน ปากพะยูน และบางแก้ว รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มใน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอกงหรา ตะโหมด ศรีบรรพต และศรีนครินทร์ ระดับน้ำลดลงแล้ว 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าพะยอม สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมพื้นที่ 19 อำเภอ 115 ตำบล 858 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 44,335 ครัวเรือน 144,486 คน ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันใน 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี พนม เคียนซา พุนพิน เวียงสระ พระแสง ท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก บ้านตาขุน บ้านนาเดิม คีรีรัฐนิคม เกาะพงัน ชัยบุรี เกาะสมุย รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มใน 4 อำเภอ ได้แก่ วิภาวดี บ้านนาสาร ไชยา และท่าชนะ นครศรีธรรมราช น้ำท่วมพื้นที่ 23 อำเภอ 164 ตำบล 1,275 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 58,257 ครัวเรือน 191,742 คน ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันใน 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช หัวไทร ขะอวด จุฬาลงกรณ์ ทุ่งสง ท่าศาลา ถ้ำพรรณรา ช้างกลาง ปากพนัง บางขัน นาบอน ทุ่งใหญ่ พระพรหม เชียรใหญ่ และเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงต้องเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลานสกา สิชล พิปูน ขนอม นบพิตำ ร่อนพิบูลย์ พรหมคีรี และฉวาง กระบี่ น้ำท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 11 ตำบล 19 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 261 ครัวเรือน 1,160 คน ยังต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลันใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ คลองท่อม เขาพนม และปลายพระยา ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 26 ตำบล 240 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 22,130 ครัวเรือน 60,156 คน ยังต้อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันทั้ง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ละแม หลังสวน พะโต๊ะ ทุ่งตะโก และสวี ระนอง น้ำท่วมในพื้นที่ ๓ อำเภอ 10 ตำบล 29 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 149 ครัวเรือน 540 คน ยังต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลันทั้ง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง ละอุ่น และกะเปอร์ สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยได้ประสาน ความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัยจัดส่งเรือท้องแบน 304 ลำ รถกู้ภัยทุกชนิด 126 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 5 คัน ถุงยังชีพ 11,561 ชุด เต๊นท์ที่พักอาศัย 3,000 หลัง น้ำดื่ม 11,132 ขวด ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 58 เครื่อง เสื้อชูชีพ 100 ตัว รถผลิตน้ำ 2 คัน เครื่องอุปโภคบริโภค 92,435 ชุด ผ้าห่ม 150 ชุด ข้าวกล่อง 2,372 กล่อง พร้อมเจ้าหน้าที่ 1,337 คน กระสอบทราย 121,500 ใบ สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว รวมถึงเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ