กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--ปภ.
ปภ. สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก 39 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 18 จังหวัด ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวม 39 จังหวัด 401 อำเภอ 2,952 ตำบล 25,618 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,954,827 ครัวเรือน6,846,490 คน ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 18 จังหวัด 87 อำเภอ 670 ตำบล 4,919 หมู่บ้าน 474,497 ครัวเรือน 1,421,140 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 6,316,156 ไร่ ผู้เสียชีวิต 127 ราย
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึง สถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่10 ตุลาคม — ปัจจุบัน มีพื้นที่ประสบภัยรวม 39 จังหวัด 401 อำเภอ 2,952 ตำบล 25,618 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,954,827 ครัวเรือน6,846,490 คน ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม อุทัยธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และชัยภูมิ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 18 จังหวัด 87 อำเภอ 670 ตำบล 4,919 หมู่บ้าน 474,497 ครัวเรือน 1,421,140 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 6,316,156 ไร่ ผู้เสียชีวิต 127 ราย ดังนี้
ภาคเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่
นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 20 ตำบล 133 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 2,237 ครัวเรือน 7,021 คน ได้แก่ อำเภอโกรกพระ และพยุหะคีรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 19 ตำบล 167 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 11,992 ครัวเรือน 48,986 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 815,189 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 1,395,933,824 บาท ได้แก่ อำเภอเมืองยาง ชุมพวง ลำทะเมนชัย และประทาย
ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 13 ตำบล 55 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 6,939 ครัวเรือน 28,687 คน ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ราษีไศล กันทรารมย์ ศิลาลาด บึงบูรพ์ และยางชุมน้อย
สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 23 ตำบล 194 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 17,265 ครัวเรือน 63,876 คน ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี
ท่าตูม และรัตนบุรี
ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 32 ตำบล 357 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 12,399 ครัวเรือน 84,002 คน ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น ชนบท มัญจาคีรี ภูเวียง อุบลรัตน์ และหนองนาดำ
กาฬสินธุ์ น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ 10 ตำบล 99 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,313 ครัวเรือน 34,068 คน พื้นที่การเกษตร
ที่คาดว่าจะเสียหาย 43,964 ไร่ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย ร่องคำ และฆ้องชัย
มหาสารคาม น้ำในแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ 30 ตำบล 407 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 17,726 ครัวเรือน 42,528 คน ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม โกสุมพิสัย และกันทรวิชัย
ร้อยเอ็ด น้ำในแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 16 ตำบล 105 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,034 ครัวเรือน
3,102 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 22,670 ไร่ ได้แก่ อำเภอจังหาร โพนทราย สุวรรณภูมิ และหนองฮี
อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 2 เทศบาล 29 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,351 ครัวเรือน 4,514 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ
ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่
ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 17 ตำบล 129 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 16,307 ครัวเรือน 43,088 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท วัดสิงห์ มโนรมย์ และสรรพยา
สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 39 ตำบล 6 เทศบาล 256 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 19,174 ครัวเรือน 72,688 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าได้รับความเสียหาย 131,652 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี บางระจัน ค่ายบางระจัน และท่าช้าง
อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 73 ตำบล 506 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,649 ครัวเรือน 39,615 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา
สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 67 ตำบล 478 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 103,110 ครัวเรือน 263,764 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก และอู่ทอง
พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ 160 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 101,877 ครัวเรือน 322,189 คน ได้แก่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน อุทัย บางปะหัน นครหลวง บ้านแพรก ลาดบัวหลวง และบางซ้าย
ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 29 ตำบล 510 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 85,622 ครัวเรือน 196,872 คน ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี บ้านหมี่ และท่าวุ้ง
สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 17 ตำบล 141 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,474 ครัวเรือน 42,234 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 101,319 ไร่ ได้แก่ อำเภอบ้านหมอ ดอนพุด และหนองโดน
นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 52 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 15,027 ครัวเรือน 71,940 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรีปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง และไทรน้อย
ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 50 ตำบล 144 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 27,947 ครัวเรือน 111,788 คน ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 1,765 ลำ ถุงยังชีพ 388,418 ชุด เต๊นท์ที่พักอาศัย 1,608 หลัง รถผลิตน้ำดื่ม 17 คัน น้ำดื่ม 396,227 ขวดเครื่องสูบน้ำ 350 เครื่อง รถกู้ภัยทุกชนิดรวม 600 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 8 คัน กระสอบทราย 4,000,000 ใบ ยารักษาโรค 33,000 ชุด เครื่องนุ่งห่ม 700 ชุด รถสุขา/สุขาเคลื่อนที่ 7,158 หลัง พร้อมเจ้าหน้าที่กว่า 1,600 คน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียกระทรวง
การคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป