กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 สำนักศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ พุทธศาสนิกชน โดยการนำของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ได้เดินทางไปทอดกฐินสามัคคี ณ วัดประมวลราษฎร์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการ จัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศาสนา อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงาม พร้อมกันนี้ ยังเป็นการร่วมมือร่วมใจอันจะก่อให้เกิดความสามัคคี ในหมู่คณะอีกด้วย โดยมีผู้มีจิตศรัทธารวมยอด บริจาครวม 65,786 บาท
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของ พุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วัน แรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับ ขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้า ต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักร เย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็น ผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน เช่นตำนาน กล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมา ช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดา ก็เสด็จลงมาช่วยภิกษุสามเณรอื่นๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่ม เป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์มีองค์พระสัมมา สัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้การเย็บจีวร แม้โดยธรรมดาก็เป็นการต้องช่วยกันทำ
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือ หลายคน พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญ แก่ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้เรียกว่า ทานทางพระวินัย จึงนิยมกันว่าเป็น พิธีบุญที่อานิสงส์แรง และเชื่อกันว่าผู้ที่ได้ทำจะประสบแต่ความสุขความเจริญ
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 044-254000 nrrupr@gmail.com