ประวัติงานเพลินจิตแฟร์

ข่าวทั่วไป Friday August 3, 2007 10:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)
จุดเริ่มต้นของการจัดงาน
การให้ความช่วยเหลือได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลก โดยบริติชคลับได้จัดการแสดงขึ้นเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ในปี พ.ศ.2491 หลังจากช่วงที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย บริติชคลับได้จัดงานการกุศล ร่วมด้วย กลุ่มชาวอังกฤษ ชาวดัช และชาวสแกนดิเนเวีย ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยงานการกุศลครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้น ของงานเพลินจิตแฟร์ ในปีพ.ศ.2494 YWCA ได้จัด “Bazaar” งานออกร้านนาๆชาติขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนชาติต่างๆรวมทั้งชาวอังกฤษด้วย
การก่อตั้ง UKCTC
จากความสำเร็จในการจัดงานดังกล่าว กลุ่มสตรีชาวอังกฤษ นำโดยภริยาท่านทูตอังกฤษประจำประเทศไทยในเวลานั้น ได้ตัดสินใจแยกออกมาจาก YWCA แล้วจัดงานขึ้นเองโดยกลุ่มชาวอังกฤษ และด้วยเหตุนี้ ในปีพศ?2499the United Kingdom Committee for Thai Charities (UKCTC) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของ สถานฑูตอังกฤษ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการงานแฟร์และการจัดการเรื่องให้ความช่วยเหลือด้วย
คณะกรรมการประกอบด้วย ภริยาท่านฑูตเป็นประธานการรมการ ผู้อำนวยการจัดการ แต่งตั้งโดยประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการ เหรัญญิกกิติมศักดิ์ เลขาณุการกิติมศักดิ์จากกลุ่มสตรีชาวอังกฤษ และสมาชิกอื่นๆอีกอย่างน้อย 7 คน เจ้าหน้าที่อื่นๆมาจากกลุ่มนักธุรกิจชาวอังกฤษในประเทศไทย
ครั้งแรกของงานเพลินจิตแฟร์ ปี พ.ศ. 2500
งานเพลินจิตแฟร์จัดขึ้นครั้งแรกในบริเวณสถานฑูตอังกฤษ ในปี พศ?2500 และหารายได้ได้ทั้งหมด 78,000 บาท เพื่อแจกจ่ายเป็นการกุศลในประเทศไทย
การก่อตั้ง BCTFN ในปี 2542
ในปี 1999 มูลนิธิได้รับอนุญาติจากกระทรวงมหาดไทย ให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเปลี่ยนชื่อจาก UKCTC เป็น BCTFN (The British Community in Thailand Foundation for the Needy - มูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส) ภายใต้การอุปถัมภ์ของท่านฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย ท่านเซอร์ เจมส์ ฮอดจ์ การก่อตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกกฎหมายนี้
ส่งผลให้การดำเนินการของมูลนิธิเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตามกฎหมายไทย มูลนิธิจะต้องประกอบด้วย คณะกรรมการหลัก 5 คนซึ่งต้องมีสัญชาติไทยเป็นส่วนใหญ่ และสมาชิกอื่นๆอีก 10 คน ขณะนี้ใน BCTFN มีคณะกรรมการหลักเป็นสัณชาติอังกฤษ 2 คน คนไทย 1 คน และ คนอังกฤษสัญชาติไทยอีก 1 คน
ภริยาท่านฑูตอังกฤษ เป็นประธานกิติมศักดิ์ คณะกรรมการอื่น มาจากผู้บริหารขององค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ หอการค้าอังกฤษ บริติชคลับ ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ สถานฑูตอังกฤษ โบสถ์ไครสเชิร์ช กลุ่มสตรีชาวอังกฤษ และกลุ่มนักธุรกิจ
งานเพลินจิตแฟร์
งานเพลินจิตแฟร์เป็นงานการกุศลสำหรับทุกคนในครอบครัว ปัจจุบันจัดที่โรงเรียนนานาชาติโชร์สเบอรี่ งานเพลินจิตแฟร์จัดขึ้นทุกปีเพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พศ?2500 ถึง 2544 งานเพลินจิตแฟร์จัดอยู่ในบริเวณสถานฑูตแต่เนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบในเดือนกันยายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้สถานที่ของงานเพลินจิตแฟร์ต้องย้ายออกมา
ในสมัยก่อนงานเพลินจิตแฟร์แฟร์นั้นจัดขึ้นโดยชาวอังกฤษเท่านั้น แต่เมื่อมีการขยายงานให้ใหญ่ขึ้นจึงทำให้มีคนจากทุกเชื้อชาติมาเข้าร่วมด้วย ในวันนี้งานเพลินจิตแฟร์เป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับชาวอังกฤษในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2544 งานได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่างๆมากกว่า 23,000 คน รายได้ที่หาได้นั้นเพิ่มขึ้นจาก 78,000 บาท ในปี พศ?2500 เป็น 5.5 ล้านบาทในปี พ.ศ.2549 แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
จุดเด่นของงานเพลินจิตแฟร์
จุดเด่นของงานคือ ลักษณะงานแฟร์แบบอังกฤษ คือประกอบไปด้วยร้านค้ามากกว่า 150 ร้าน เกมส์ชิงโชค ร้านขายสินค้าราคาถูก ร้านค้ายอดนิยมของคนอังกฤษ เครื่องเล่นต่างๆ เช่น ชิงช้าสวรรค์ หน้าผาเทียมสำหรับเล่นปีนป่าย จรวดเด็กเล่น เกมส์บิงโก และเกมส์อื่นๆ อีกมากมายสำหรับเด็กทุกวัย นอกจากนี้ยังมี ร้านอาหารนาๆชาติ บาร์เบียร์และไวน์ และการแสดงในช่วยบ่าย โดยนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และการแสดงสำหรับเด็กๆ
งานแฟร์สำหรับทุกคนในครอบครัว
จุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งของงานเพลินจิตแฟร์ คือเป็นงานที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมาเพลิดเพลินได้ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ ในงานจึงมีกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ความเพลิดเพลินได้ทั้งวัน
การหาเงินเข้าการกุศล ที่คุ้มค่าที่สุด
ชื่อเสียงของงานเพลินจิตแฟร์แฟนั้นโด่งดัวและเป็นที่รู้จัก เพราะทุกคนที่มาร่วมงาน รู้ว่ารายได้ที่หาได้ทั้งหมดในงานจะเข้าการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ผู้ให้การสนับสนุนต่างยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพราะถือเป็นการผริจาคเพื่อการกุศล และยังเป็นการโฆษณาให้กับบริษัท ห้างร้านของตังเองด้วย ส่วนผู้มาเที่ยวงาน ได้รับความสนุกสนาน ได้จับจ่ายซิ้อของราคาถูก และยังอิ่มใจที่ได้ถือว่าบริจาคเงินช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ซึ่งนับว่าดีกว่าการบริจาคเงินทั่วไป
งานเพลินจิตแฟร์ เป็นงานที่ ทำให้ทุกคน สนุกสนานและเพลิดเพลิน ตลอดมา ไม่ว่าจะสำหรับคนที่มาช่วยงาน หรือคนที่มาเที่ยวงาน ถึงแม้อากาศจะร้อน เหนียวเหนะไปด้วยเหงื่อ และแน่นไปด้วยผู้คน แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ที่นี่ อาจพบปะกับคนที่ไม่ได้เจอกันนานหรือกลับบ้านพร้อมครอบครัว อย่างเหน็ดเหนื่อย แต่เต็มไปด้วยความสุข
BCTFN จัดการกับรายได้ที่หาได้อย่างไร
การประชุมคณะกรรมการจัดขึ้นทุกเดือน และในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีการประชุมสามัญใหญ่ เพื่อหารือเรื่องการจัดการ กับเงินทุนดังกล่าว
คณะกรรมการทุกคน จะรับผิดชอบดูแลมูลนิธิที่ต้องการความช่วยเหลือ คนละประมาณ 2-3 มูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการจะคอย ดูแลโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิด และนำกลับมาเข้าในที่ประชุมที่มีขึ้นทุกเดือน
ทุกๆต้นปี เมื่อมีการสรุปรายได้ที่หาได้ทั้งหมด ทางคณะกรรมการจะหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือมูลนิธิต่างๆ เช่น จะให้ความช่วยเหลือต่อไปอย่างไร โดยประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ที่หาได้จะนำมาใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือมูลนิธิที่ คณะกรรมการได้ดูแลอยู่ ส่วนที่เหลือไว้สำหรับ มูลนิธิใหม่ที่ยื่นขอความช่วยเหลือมาในระหว่างปี
ทางคณะกรรมการจะแจ้งไปทางมูลนิธิที่อยู่ภายใต้การดูแล ว่าให้แจ้งมาว่ามีโครงการใหม่ๆที่ต้องการความช่วยเหลือได้เท่าไรอย่างไร
เมื่อมีโครงการใหม่ ส่งเข้ามาขอความช่วยเหลือ คณะกรรมการจะประชุมหารือในการประชุมที่จัดขึ้นทุกเดือน และจะดูแลจนโครงการสำเร็จรุร่วง
ใครสามารถรับความช่วยเหลือ
องค์กร กลุ่ม มูลนิธิ หรือใครก็ตามที่เป็นตัวแทนโครงการ สามารถยื่นใบสมัครมาขอความช่วยเหลือได้ บางโครงการได้สมัครผ่านทาง Development Section ของสถานฑูตอังกฤษ หรือหน่วยอาสาสมัคร หรือผ่านทางกลุ่มธุรกิจ หรือ บุคคลทั่วไป เนื่องจากเงินทุนที่จะให้ความช่วยเหลือนั้น มีจำกัด BCTFN จึงมักจะให้ความสำคัญกับโครงการที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อ ผู้รับเงินทุนได้ในระยะยาว ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ก่อน เช่นในด้านการศึกษา ยารักษาโรค และโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งชุมชน ในปีที่แล้ว BCTFN ได้ให้ความช่วยเหลือโครงการกว่า 40 โครงการทั่วประเทศ
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการอยู่ใน Souvenir Program เอกสารที่แจกเกี่ยวกับงานเพลินจิตแฟร์
ตามหลักของ BCTFN แล้ว เงินทุนจะไม่มอบเพื่อช่วยโครงการที่เป็นของทางราชการ โครงการหลวง หรือ โครงการที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขดังกล่าว
นอกจากนี้ BCTFN จะไม่ให้เงินทุนเพื่อให้ซื้อของใช้ในสำนักงาน ชุดนักเรียน ทุนการศึกษา หรือ เพื่อซื้ออาหาร แต่จะให้ความช่วยเหลือในลักษณะ ให้เงินทุนสำหรับหมู่บ้านเพื่อให้สามารถตัดชุดนักเรียนเอง สร้างโรงเรียน และพัฒนาไปในทางอื่นที่จะทำให้สามารถช่วยเหลือตังเองได้ต่อไป เช่น เกษตรกรรม ปลูกข้าว การรักษาพยาบาล และ ธนาคารในท้องถิ่น
การให้ความช่วยเหลือเป็นในรูปแบบใด
ความช่วยเหลือจะไม่มอบให้ลักษณะเงินสด
เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว แผนงานและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ทั้งหมดสำหรับ โครงการจะถูกส่งมาไว้ที่ทางคณะกรรมการที่ดูแลอยู่ และเช็คจะถูกส่งตรงไปที่ผู้ที่รับผิดชอบโครงการโดยตรง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเพลินจิตแฟร์ กรุณาติดต่อ
สุภารัตน์ โพธิวิจิตร อีลิซ เมลเลซี
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ BCTFN
โทร: 0 2260 5820, 089 923 2366 โทร 0 2204 1587-8, 089 968 0301
อีเมล์: tqprthai@tqpr.com อีเมล์: bctfn@loxinfo.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ