กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
การบริหารผลงานเชิงปฏิบัติการ
(Performance Management in Action)
วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00-16.00 น.
ณ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย รามคำแหง 39 (ซ.วัดเทพลีลา)
วิทยากร
คุณสุกัญญา รัศมีธรรมโชติ
การศึกษา
- ครุศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม), วิชาเอก อังกฤษ-จิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ทำงาน
- ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารงานทั่วไป บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด
- วิทยากรที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
- ผู้จัดการสำนักงานสาขาประจำประเทศไทยFortum Power and Heat Oy
- ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการ Thai ORIX Leasing Co., Ltd.
หลักการและเหตุผล
บ่อยครั้งเมื่อผู้บริหารขององค์การถูกถามถึงเรื่อง การบริหารผลงาน (Performance Management) ผู้บริหารส่วนมากมักมุ่งประเด็นการอธิบายไปที่ “การประเมินผลการปฏิบัติงาน” (Performance Appraisal) ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารผลงานเท่านั้น
การบริหารผลงานที่ถูกต้องจะต้องครอบคลุม การกำหนดเป้าหมายขององค์การและการวางแผนเพื่อนำพาพนักงานทุกคนให้มุ่งไปสู่ทิศทางที่เป็นเป้าหมายนั้น นอกจากนี้การบริหารผลงานยังมีความหมายรวมไปถึง การเป็น “พี่เลี้ยง” ของหัวหน้างานและการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน เพื่อช่วยให้พนักงานพัฒนาความสามารถของตนและทำงานบรรลุเป้าหมายที่องค์การตั้งไว้
หลักสูตรฝึกอบรมนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับที่ทำหน้าที่ “บริหารผลงาน” ของผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจถึงการบริหารผลงานที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร ระบบประเมินผลที่ดีเป็นอย่างไร รวมทั้งทราบว่า มีเครื่องมือและวิธีการใดบ้างที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารสามารถ “บริหารผลงาน” ของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สิ่งที่ท่านจะได้รับหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม :
- ระบุสาเหตุ หรืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้พนักงานผลิตผลงานที่ดีเลิศ
- อธิบายได้ว่าการแบ่งกลุ่มพนักงานตามผลการปฏิบัติงาน สามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท และพนักงานแต่ละประเภทมีผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร
- สามารถกำหนด KPI และ “มาตรฐาน” ในงานจาก Job Description ได้
- สามารถกำหนด ”เป้าหมาย” ในการประเมินผลงานได้
- รู้และเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของแบบประเมินผลประเภทต่างๆ
- รู้เทคนิคในการให้ข้อมูลป้อนกลับ (I Focus and YOU Focus Feedback Technique)
- รู้และเข้าใจเทคนิคในการแจ้งผลงาน (Appraisal Feedback) ให้สอดคล้องกับความสามารถและประสบการณ์ของพนักงานแต่ละระดับ
- รู้ว่าอะไร คือ สิ่งที่ “ควรกระทำ” และ “ไม่ควรกระทำ” ในการประเมินผลงาน
- รู้ระบบการจ่ายผลตอบเทน รวมทั้งรูปแบบการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนและโบนัส
ผู้เข้าสัมมนา
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ “ผู้บริหาร” ที่มีประสบการณ์ในการเป็น “หัวหน้างาน” ไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่ต้องทำหน้าที่บังคับบัญชา ดูแล ควบคุมและประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชาของตนให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่หน่วยงานกำหนด
หัวข้อการสัมมนา
วันแรก
09.00 — 10.30 แนวคิดและความสำคัญของการบริหารผลงาน
ปัญหา/อุปสรรคของการสร้างผลงานที่ดี
พนักงานประเภทต่างๆ (แยกตามลักษณะของผลงาน)
10.30 — 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 — 12.00 วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบต่างๆ
12.00 — 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 — 15.00 การกำหนด KPI หรือ “มาตรฐาน” ของผลงานจาก Job Description
Workshop ที่ 2:
ฝึกการกำหนด KPI ใน Job Description
15.00 — 15.15 พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 — 16.00 การกำหนด “เป้าหมาย” ของผลงาน (Goal Setting)
- หลักการกำหนด KRA (Key Result Area) และ CSF (Critical Success Factors)
Workshop ที่ 3:
ฝึกการกำหนดเป้าหมายของผลงาน
วันที่สอง
09.00 — 10.30 ทบทวนเนื้อหาที่สำคัญของวันแรก
เทคนิคในการให้ข้อมูลป้อนกลับ (I Focus and YOU Focus Techniques)
หลักในการแจ้งผลการปฏิบัติงาน 4 รูปแบบ
- ชี้แจงและชักจูง (Tell and Sell)
- ชี้แจงและรับฟัง (Tell and Listen)
- ร่วมกันแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
- ประเมินตนเอง (Self-Assessment)
10.30 — 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 — 12.00 Workshop ที่ 4:
ฝึกการให้ข้อมูลป้อนกลับจากกรณีศึกษาที่กำหนด
12.00 — 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 — 15.00 แนวคิดเกี่ยวกับระบบค่าตอบแทน
15.00 — 15.15 พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 — 16.00 ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างเงินเดือน และการให้โบนัส
- โครงสร้างเงินเดือนแบบ Broad Banding
- การให้โบนัสแบบ Fixed Bonus and Variable Bonus
สรุป และตอบคำถาม
หมายเหตุ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ประสงค์จะฝึกกำหนด KPI จาก Job Description ในงานจริงของตนเอง
สามารถนำ JD ของท่านมาใช้เป็นกรณีศึกษาในห้องเรียนได้ (อาจารย์จะนำ JD ของท่านมาใช้ในการฝึกตั้ง KPI และกำหนดเป้าหมาย/ปัจจัยในการประเมินผลงาน) โดยให้นำส่ง JD ของท่านที่ได้ทำการลบชื่อองค์กรและข้อมูลที่เป็นความลับของท่านออกแล้ว ให้แก่สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ก่อนการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 วัน เพื่อนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาใน Workshop ที่ 2 และ 3
วิธีการสัมมนา
หลักสูตรนี้ใช้หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning Approach) และหลัก Accelerated Learning ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และความเข้าใจจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานของตนได้จริง วิธีการฝึกอบรมประกอบด้วย
- การแบ่งกลุ่มอภิปรายและฝึกหัดปฏิบัติ (Group Discussions and Exercises)
- การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play)
- กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Experience Sharing)
ค่าลงทะเบียน
สมาชิก TMA 7,000 บาท บุคคลทั่วไป 7,800 บาท
(ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
พิเศษ!! สมัครและชำระเงินภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 ลด 10%
วิธีการชำระเงิน
[] เช็คสั่งจ่าย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย 276 ถนนรามคำแหง ซอย 39 วังทองหลาง กทม. 10310
[] โอนเงินเข้าบัญชี สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวหมาก บัญชี สะสมทรัพย์ เลขที่ 180-4-315255
(กรุณาแฟกซ์ 0-2319-5666,0-2718-6144 สำเนาใบฝากเงิน ไปยังสมาคมเพื่อยืนยันการชำระเงิน)
หมายเหตุ : สมาคมฯ เสียภาษีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ผู้จ่ายเงินเข้าสัมมนาจึงมิต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 8(2) แห่งคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร ที่ ทป.4/2528 ลงวันที่ 26 ก.ย 2528
การยกเลิก ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วัน มิฉะนั้น สมาคมฯขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าธรรมเนียม 50% ของราคาค่าอบรม
ติดต่อสอบถาม : สำรองที่นั่ง
แจ่มจันทร์ ยะมงคล
Tel.02-319-3312 (เบอร์ตรง)
02-319-7675-8 /02-718-5601-4 ต่อ 110
Fax.02-319-5666/02-718-6144
THAILAND MANAGEMENT ASSOCIATION