ผู้ประกอบการอุตฯ สำลักน้ำถ้วนหน้า ฉุดดัชนีภาคอุตสาหกรรมตุลาคม 2553 ต่ำกว่าร้อยในรอบ 4 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 18, 2010 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนตุลาคม 2553 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,028 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของ สภาอุตสาหกรรมฯ ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 100.8 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 โดยค่าดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบของดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและต้นทุนประกอบการ ทั้งนี้ในเดือนที่ผ่านมาปัจจัยที่ทำให้ระดับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ยังคงทำสถิติแข็งค่าสูงที่สุดในรอบ 13 ปี อย่างต่อเนื่อง อุทกภัยที่เกิดขึ้นใน 39 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ประสบภัย โดยผู้ประกอบการประสบปัญหาการผลิตสินค้าไม่ทันตามคำสั่งซื้อ เนื่องจากพนักงานต้องหยุดงาน การคมนาคมขนส่งที่หยุดชะงักในบางพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 114.7 ในเดือนกันยายน เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตามค่าดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ายังมีค่าดัชนีเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ ดัชนีความเชื่อมั่นของ อุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรม ขนาดย่อม เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวลดลงจากระดับระดับ 84.5 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมก๊าซและหัตถอุตสาหกรรม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 108.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 108.7 ในเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลาง เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 101.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 105.7 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 115.3 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 102.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 111.4 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 120.9 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน เนื่องจากการเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดซึ่งส่งผลต่อภาคการผลิตและภาคการขนส่ง ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 101.9 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 99.2 ในเดือนกันยายน ค่าดัชนีที่มากกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ดี องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวอยู่ที่ระดับ 111.9 จากระดับ 111.1 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตันทุนประกอบการและผลประกอบการ โดยภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 92.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.9 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีฝนตกในหลายพื้นที่และมีปัญหาด้านการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษและหัตถอุตสาหกรรม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 112.1 ปรับลดลงจากระดับ 120.8 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับลดลงจากระดับ 97.7 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ เนื่องจากเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด ส่งผลกระทบต่อการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.7 ปรับลดลงจากระดับ 113.7 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 101.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 105.6 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต โดยได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดในภาคตะวันออก อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์และอุตสาหกรรมเคมี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 103.5 ปรับลดลงจากระดับ 115.7 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ และภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 97.3 โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 99.6 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ผลไม้ตามฤดูกาลมีปริมาณลดลงและผลผลิตจากการทำประมงมีปริมาณลดลง อุตสาหกรรมสำคัญในภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่นและอุตสาหกรรมอาหาร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.6 ปรับลดลงจากระดับ 115.3 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศและกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 98.0 ปรับลดลงจากระดับ 99.8 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 110.8 ปรับลดลงจากระดับ 115.0 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ และดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 101.2 ปรับลดลงจากระดับ 104.3 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ จากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคการส่งออก อุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.8 ปรับลดลงจากระดับ 114.0 ในเดือนกันยายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต สำหรับด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจาก อัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด รองลงมา คือ สถานการณ์ราคาน้ำมัน สภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ทางการเมือง และอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ โดยมีความกังวลเพิ่มขึ้น ในปัจจัย สถานการณ์ราคาน้ำมัน สภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ทางการเมือง และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือให้ภาครัฐดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ พร้อมสร้างแหล่งเรียนรู้และพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสร้างความชัดเจนและความเหมาะสมในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ