กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--คิธ แอนด์ คินฯ
ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดโครงการประกวด “สื่อรณรงค์” การเลือกใช้กระดาษจาก “ไม้ปลูก” เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงแหล่งที่มาของกระดาษก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เลือกใช้ และรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ กล่าวว่า ดั๊บเบิ้ล เอ ได้ร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวด “สื่อรณรงค์”การใช้กระดาษจาก “ไม้ปลูก” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และเป็นโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นกระดาษในปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนทั่วไป ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระดาษในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระดาษต้องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าจากธรรมชาติเท่านั้น
จากข้อมูลของ The International Institute for Environment and Development พบว่า วัตถุดิบในการผลิตกระดาษของโลก ส่วนใหญ่ยังคงใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ โดยเป็นกระดาษที่ผลิตจากการตัดป่าธรรมชาติและปล่อยให้ป่าฟื้นตัวเองในสัดส่วนประมาณ 17 % กระดาษที่ผลิตจากป่าธรรมชาติและมีการปลูกป่าทดแทน 37 % และผลิตจากป่าฝนเมืองร้อน 1 % แต่สำหรับผู้ผลิตกระดาษในประเทศไทยหลายราย สามารถใช้วัตถุดิบจากไม้ปลูกในการผลิตได้แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยไม้จากป่าธรรมชาติ
จากข้อมูลของ The International Institute for Environment and Development พบว่า วัตถุดิบในการผลิตกระดาษของโลก ส่วนใหญ่ยังคงใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ โดยเป็นกระดาษที่ผลิตจากการตัดป่าธรรมชาติและปล่อยให้ป่าฟื้นตัวเองในสัดส่วนประมาณ 17 % กระดาษที่ผลิตจากป่าธรรมชาติและมีการปลูกป่าทดแทน 37 % และผลิตจากป่าฝนเมืองร้อน 1 % แต่สำหรับผู้ผลิตกระดาษในประเทศไทยหลายราย สามารถใช้วัตถุดิบจากไม้ปลูกในการผลิตได้แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยไม้จากป่าธรรมชาติ
“ดั๊บเบิ้ล เอใช้เวลากว่า 25 ปีในการพัฒนาพันธุ์ไม้ปลูกสำหรับเกษตรกร เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษในประเทศไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแล้วกว่า 1 ล้านครอบครัว ใช้เวลาปลูกเพียง 3-5 ปี ขณะที่ผู้ผลิตบางประเทศยังต้องอาศัยไม้จากธรรมชาติอายุนับร้อยปีเป็นวัตถุดิบ ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นการทำลายป่าไม้แล้ว การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนกับเกษตรกรภายในประเทศไทยจากการปลูกไม้ และงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี” นายชาญวิทย์ กล่าว
สำหรับการประกวดสื่อรณรงค์ “การใช้กระดาษจากไม้ปลูก” จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ประเภทการออกแบบโปสเตอร์ และ2.ประเภทภาพยนตร์โฆษณา ความยาว 30 วินาที หรือ 45 วินาที ไม่จำกัดเทคนิคโดยทั้ง 2 ประเภท จะมีการประกวด 2 ระดับ คือ ระดับอุดมศึกษา และระดับประชาชนทั่วไป ส่วนประเภทที่ 3 คือ ประเภทลายสกรีนเสื้อยืด จะประกวด 1 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา โดยสื่อทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีเนื้อหารณรงค์ชักชวนให้คนไทยคำนึงถึงแหล่งที่มาที่แน่ชัดของวัตถุดิบกระดาษก่อนตัดสินใจเลือกใช้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระดาษจาก “ไม้ปลูก”ของเกษตรกร รวมทั้งต้องสามารถกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับสื่อตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรกระดาษอย่างถูกต้องและคุ้มค่า โดยจะเปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2550 นี้
ดร.ไชยยศ บุญญากิจ รองประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน และผู้บริโภค เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาผลิตกระดาษ ว่ามิได้มาจากการทำลายป่าไม้เพียงอย่างเดียว ยังมีกระดาษที่สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกไม้ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนรักษ์ธรรมชาติอีกทางหนึ่ง โดยในภาพรวมหากผู้บริโภคกระดาษทั่วโลกสนับสนุนการใช้หรือการผลิตกระดาษจากไม้ปลูก ก็จะกลายเป็นแรงผลักดันให้ลดการตัดไม้จากป่าธรรมชาติมาผลิตกระดาษได้โดยเฉพาะในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบกับภาวะโลกร้อน การไม่ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ ก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดต้องส่งผลงานด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ มาที่ โครงการประกวดสื่อรณรงค์ “การใช้กระดาษจากไม้ปลูก” Paper From Farmed Trees เลขที่ 238/3-4 ซ.สายน้ำทิพย์ 2 ถ.สุขุมวิท 22 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม.10110 หรือ โทร.0-2663-3226 ต่อ 64 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2550
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท คิธ แอนด์ คินฯ จำกัด
คุณเหมวดี พลรัฐ
โทร. 02 663 3226 ต่อ 73 หรือ 081-819-8197
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net