The Chronicles of Narnia : The Voyage of the Dawn Treader อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ผจญภัยโพ้นทะเล

ข่าวบันเทิง Thursday November 25, 2010 11:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--MMM Digital เอียน กราซี อธิบายรายละเอียดของวัสดุที่ใช้สร้างเรือ ดังต่อไปนี้: โครงเรือ แผ่นกระดานออรีกอน 2000 ลีเนียลเมตร (เท่ากับไม้ซุงที่มีความยาวมากกว่าหนึ่งไมล์) กรอบโครงเรือขนาด 90x45 น้ำหนัก 3 กิโลเมตร ความหนาไม้ 18 มิลลิเมตร 320 แผ่น แผ่นไม้ขนาด 9 มิลลิเมตร 500 แผ่น กาวเชื่อมโครงสร้าง 300 ลิตร แผ่นกระจกที่ใช้ติดตั้ง 40 ตารางเมตร ปูนปลาสเตอร์ ไฟเบอร์กลาสและเรซิน 3 ตัน แม่พิมพ์ซิลิโคน 1500 กิโลกรัม ผ้าฝ้าย 10 ม้วน ปูนปลาสเตอร์หลอม 1 ถาด แม่พิมพ์แบบเรียบง่าย 150 กิโลกรัม ยางดิบ 200 กิโลกรัม (ประมาณ 425 ปอนด์) เกี่ยวกับฉาก (ทาสี) น้ำมันเคลือบเงา 250 ลิตร แผ่นทอง 25,000 แผ่น วัสดุอุดรอยรั่วสีดำ 500 หลอด สี 400 ลิตร ขี้ผึ้ง 35 กิโลกรัม งานแกะสลัก โพลิสไตรีน 100 ลูกบาศก์เมตร วัสดุเคลือบแข็ง 2500 กิโลกรัม ดินน้ำมันต้นแบบ 1500 กิโลกรัม โฟมสเปรย์ยูเรเทรน 30 ลูกบาศก์เมตร เหล็ก 30 ตัน ลวดฉนวน 35 ม้วน สารลดความร้อน 30 ลิตร สายระโยงเรือ เชือก 4 กิโลเมตร เสากระโดงหลัก 13.7 เมตร, บวกกับยอดเสากระโดง 10 เมตร การเชื่อมต่อ 120 จุด ผู้ช่วย 60 คน มีการประกอบฉากขึ้นที่ Warner Roadshow Studios’ Stage 8 ใน “60 ฉากเฉพาะที่มีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกัน” กราซี อธิบายเพิ่มว่า “เมื่อจิ๊กซอว์มีความสมบูรณ์ มันต้องมีการแยกชิ้นส่วนและเคลื่อนย้ายไปยังภายนอกคาบสมุทรที่ Cleveland Point ไกลออกไปประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งเราก็จัดเรือวางบนรถเทรเลอร์ที่เปรียบเสมือนมีฟูกราบเรียงราย 35 อัน เมื่อการถ่ายทำลงเอยที่นั่น เราต้องทำงานซ้ำอีกครั้ง” โรบิสันเพิ่มการออกแบบเฉพาะเข้าไปร่วมกับเรือดอว์น เทรดเดอร์ การทำงานจากคำแนะนำของแอ็ปเท็ด เช่นเดียวกับมรดกของ ซี.เอส.ลูอิส “ทุกคนอยากทำเวทมนตร์จากนาร์เนียกลับมาสู่ภาพยนตร์” ผู้ออกแบบกล่าวว่า แรงบันดาลใจและอิทธิพลโดยส่วนตัวของโรบิสันคือ การมอบของขวัญให้เหนือกว่าเสากระโดงเรือ เขาอธิบายว่า “ผมไปหาผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และไมเคิล [แอ็ปเท็ด] และบอกว่า ผมอยากทำอะไรบางอย่างที่ให้เกียรติในความรับผิดชอบต่อผู้คนทั้งหมดที่ทำงานด้านการออกแบบและสร้างเรือดอว์น เทรดเดอร์ พวกเขาคิดว่ามันเป็นไอเดียที่ดี” โรบิสันมีคำจารึกอุทิศสลักไว้บนฐานเสาเรือกระโดงอันสูงลิบ ซึ่งอ่านได้ว่า: “ชาวนาร์เนียทั้งหลาย พร้อมด้วยจิตที่สำนึกบุญคุณ เราขอมอบคำขอบคุณให้แก่ทีมงานของเรือดอว์น เทรดเดอร์ผู้ทรงพลัง สำหรับจิตที่เข้มแข็งและฝีมือที่ชำนาญ” ข้างล่างบทจารึกกวีของโรบิสันเป็นรายชื่อทีมงานของภาพยนตร์แต่ละคน ที่ได้ร่วมมือทำให้เรือเดินสมุทรกษัตริย์ขนาดยักษ์มีชีวิตขึ้นมา ฉากที่เสร็จสมบูรณ์ตอนนี้มีแสงที่เป็นประกาย — และเดินหน้าไป — ก่อนกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ กลเม็ดนั้นถูกคิดขึ้นด้วยทีมเอ็ฟเฟ็กต์พิเศษด้านเครื่องจักรของภาพยนตร์ นำทีมโดย ไบรอัน คอกซ์ ไม่เหมือนกับภาพยนตร์เกี่ยวกับเรือใบเรื่องอื่นๆ เรือดอว์น เทรดเดอร์ ไม่เคยแล่นอยู่บนน้ำ ในการจำลองเรือที่กำลังแล่นอยู่บนทะเลสูง ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเรียกว่าวงแหวนก็ถูกสร้างขึ้นมา วงแหวน (6 ชิ้นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้) ทำให้เรือเกิดการเคลื่อนไหวแบบเอียงและหมุน ดังนั้นฉากทั้งหมดจึงมีการเคลื่อนไหวเหมือนเรือบนทะเล ขณะที่มีการคุยกันตั้งแต่เนิ่นๆ ถึงการนำเรือไปสู่มหาสมุทร จากนั้นถ่ายทำบนฉากที่รายล้อมไปด้วยฉากสีฟ้า ผู้สร้างภาพยนตร์เลือกที่จะถ่ายฉากเรือดอว์น เทรดเดอร์บนสถานที่ ตากล้องผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar ถึงสองครั้ง แดนต์ สไปนอตตี้, ASC, AIC (“L.A. Confidential,” “The Insider”) อธิบายว่า: “ไมเคิล แอ็ปเท็ดกับผมรู้สึกอย่างแรงว่า เราต้องการสถานที่ตั้ง เพราะฉากส่วนใหญ่ในเรือต้องอยู่ข้างนอกตลอดวัน เราต้องการทัศนวิสัยของสภาพแวดล้อมจริง, รวมถึงลม, อากาศ, แสงแดด, เมฆครึ้มและมหาสมุทร ทางออกที่ดีที่สุดคือการถ่ายทำฉากนอกเรือที่ Cleveland Point ซึ่งอาจเป็นที่ตั้งขัดแย้งกับระดับมหาสมุทรจริง วงแหวนช่วยให้เราหมุนเรือไปตามพระอาทิตย์ได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์จริงๆ มันช่วยให้เราได้รับแสงช่วงกลางวันอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่จนพระอาทิตย์ตกดิน” ก่อนเริ่มการสร้างตัวละครนำขนาดใหญ่ยักษ์นี้ ผู้ควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์พิเศษ ไบรอัน คอกซ์ ได้รับแบบจำลองของเรือขนาด 2 ฟุตขึ้นมาจากฝ่ายฉาก เขาขันน็อตยึดแบบจำลองเล็กๆ ลงบนโต๊ะ จากนั้นวางสปริงไว้ข้างใต้ เพื่อจำลองว่าเรือจะหมุนและเอียงอย่างไร เวลาที่ตั้งอยู่บนยอดเหล็กที่มีขนาดหลายตันและวงแหวนที่ใช้กำลังน้ำ เมื่อมั่นใจว่าเขาสามารถเดินหน้าไปกับการออกแบบและสิ่งที่สร้างขึ้นของไฮดรอลิคส์และโครงเหล็ก มันเริ่มจากคอกซ์ แอ็ปเท็ดและสไปนอตตี้สามารถใช้แบบจำลองเพื่อกำหนดตำแหน่งเรือในแต่ละวัน ตามที่กำหนดตามฉากเฉพาะต่างๆ ของบทภาพยนตร์ และสถานที่ที่มีดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ คอกซ์เริ่มสร้างเข็มทิศที่ใช้ชั่วคราวลงบนโต๊ะ โดยยึดติดกับเรือจำลองเพื่อให้มันหมุนได้ จากนั้นเขาก็ทาขอบตำแหน่งเข็มทิศ (เหนือ, ตะวันออก, ใต้, ตะวันต) ลงบนโต๊ะ พร้อมด้วยตัวเลข 1-8 ที่ทำหน้าที่นำทางให้ผู้สร้างภาพยนตร์ ก่อนเคลื่อนย้ายเรือขนาด 125 ตัน และวงแหวนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อฉากที่กำหนดไว้ เหมือนกับสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ บนโต๊ะ เรือดอว์น เทรดเดอร์ ของจริงถูกเชื่อมติดกับล้อเหล็ก 2 ชุดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งแยกกัน 180 องศา ทำให้ทีมงานของคอกซ์หมุนเรือไปในทิศทางใดๆ ตอนไหนก็ได้ ตามที่ได้รับคำสั่งขณะที่กำลังถ่ายทำฉาก จุดหมายปลายทาง โรบิสันและผู้เชี่ยวชาญของเขาสร้างฉากถ่ายทำขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของการตกแต่งภายในเรือดอว์น เทรดเดอร์ รวมไปถึงสภาพห้องที่งดงามของแคสเปี้ยน, ห้องแผนที่ของแคสเปี้ยน และห้องคนพายเรือ (หรือ “ห้องทางท้ายเรือ”) ที่ลูกเรือขับเคลื่อนเรือไปยังเกาะต่างๆ อย่างรวดเร็ว (ฉากถ่ายทำถูกสร้างขึ้นบนเวทีถ่ายทำมากมายที่โรงถ่าย Warner Roadshow ในควีนส์แลนด์) โรบิสันได้สืบทอดความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ — เพื่อสานต่อมุมมองในโลกแห่งจินตนาการของ ซี.เอส.ลูอิสโดยอ้างอิงการอธิบายในหนังสือของผู้เขียนที่ไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพต่อสิ่งที่จะมองเห็นได้ สร้างขึ้นไว้ในภาพยนตร์สองตอนแรก ในเวลาเดียวกันโรบิสันได้สร้างสัญลักษณ์เป็นของตัวเองในภาพยนตร์ซีรี่ย์ที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ “นาร์เนียเป็นโลกแห่งจินตนาการ” โรบิสันกล่าวว่า “ไมเคิล แอ็ปเท็ดและผมรู้สึกว่าเรานำความพิเศษบางอย่างมาสู่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ได้” ดักลาส กรีแชม กล่าวว่า “ฉากต่างๆ ที่เราสร้างในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมบอกได้ว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดเท่าที่เราเคยสร้างมา เราสร้างฉากที่น่าอัศจรรย์เอาไว้ในภาพยนตร์ภาค 1 และ 2 และผมว่าฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้สุดยอดเหนือกว่าทุกสิ่งที่เราเคยสร้างมา” สำหรับฉากใน “สวนของผู้วิเศษ” บ้านของเหล่าดัฟเฟิลพัดส์ที่เป็นชาวสวนจอมเพี้ยน โรบิสันใช้ภูมิหลังทางด้านงานละครของเขา เขากล่าวว่า “จะต้องเพิ่มขนาด เพราะสวนเป็นสภาพแวดล้อมหนึ่งที่ชวนน่าหัวเราะ ในนิวซีแลนด์เราพบชายหาดอันสวยงามแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยทิวทัศน์ที่งดงามโดยรอบเนินที่ขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหน้าตาที่อ้วนกลมของดัฟเฟิลพัดส์” การเพิ่มธรรมชาติอันน่าอัศจรรย์เข้าไปในฉากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเหล่าดัฟเฟิลพัดส์ได้ — พวกคนแระหนึ่งขาที่ดูพิลึก ในตอนแรกไม่สามารถมองเห็นได้ในสวนของผู้วิเศษโครีอคินก่อนที่เวทมนตร์จะทำให้เขากลับมามองเห็นอีกครั้ง การพัฒนาบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ของเหล่าดัฟเฟิลพัดส์ได้เป็นภาระหน้าที่ของผู้วิเศษอีกแขนงหนึ่ง -- ช่างแต่งหน้าเทียมที่คว้ารางวัล Oscar ฮาเวิร์ด เบอร์เกอร์ ผู้คว้าสัญลักษณ์อันทรงเกียรติ (คู่กับผู้ร่วมงาน เทมี่ เลน) สำหรับผลงานสร้างสรรค์ของเขาใน “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” รวมไป เจมส์ แมคอวอย ในตัวละครอันเป็นที่จดจำของเขาอย่างฟอน, มิสเตอร์ ทัมนัส “ตั้งแต่ดัฟเฟิลพัดส์เดินด้วยขาเพียงข้างเดียว เหล่านักแสดงที่แสดงเป็นพวกเขาต้องสวมชุดบลูสกรีนตั้งแต่ช่วงเอวลงไป เพื่อที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคของภาพยนตร์สามารถซ้อนภาพส่วนล่างแบบเดี่ยวๆ ลงไปได้ ทำให้ภาพยนตร์เสร็จสมบูรณ์” เบอร์เกอร์ อธิบาย หลังจากการเผชิญหน้ากับเหล่าดัดเฟิลพัดส์ในสวน ลูซี่ได้รับการบอกกล่าวให้หาห้องสมุดของผู้วิเศษเพื่อค้นหนังสือแห่งเวทมนตร์ของเขา -- เป็นอีกฉากหนึ่งที่น่าประทับใจของภาพยนตร์ “สำหรับห้องสมุดของผู้วิเศษ เราอยากหนีออกจากธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ของเหล่าดัฟเฟิลพัดส์ และใส่ความรู้เพิ่มเข้าไปมากขึ้น เพราะผู้ที่เป็นหนอนหนังสือเหมือนกับผู้ยิ่งใหญ่” แอ็ปเท็ดกล่าว เมื่อโครีอคินอธิบายถึงความเป็นจริงแห่งภารกิจของเหล่านักเดินทาง เรือดอว์น เทรดเดอร์ก็เตรียมแล่นไปยังเกาะน้ำมรณะ สถานที่ซึ่งแคสเปี้ยนพบศพของลอร์ดที่หายไป 2 คน — คนหนึ่งอยู่ในถ้ำของบ่อน้ำที่ทุกๆ สิ่งเมื่อสัมผัสโดนน้ำแล้วจะกลายเป็นทอง; ส่วนอีกคนอยู่ในหุบเขาที่มีก้อนหินยึดไว้ ซึ่งมีทรัพย์สมบัติและของมีค่ากระจายเกลื่อนกลาด “เรามีแนวทางของเกาะน้ำมรณะที่แตกต่างไปจากหนังสือ” โรบิสันกล่าวว่า “ในหนังสือพวกเขาข้ามบ่อน้ำไป มันเป็นไอเดียของผู้อำนวยการสร้าง ฟิลลิป สติวเออร์ ที่ถ่ายทำในอุโมงค์ใต้ดิน” จุดพักเรือถัดไปของเรือดอว์น เทรดเดอร์ในเรื่องราวคือที่เกาะรามันฑุ ฉากขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้นที่โรงถ่าย 5 ของสตูดิโอ สำหรับฉากนี้โรบิสันรักษาบรรทัดฐานที่เขามีรวมไปถึงในห้องสมุดของผู้วิเศษ แต่มีการพลิกให้มันดูน่ากลัว “ไมเคิล แอ็ปเท็ด อยากให้ฉากของเกาะมีพายุรุนแรง, มีลมกรรโชก, และดูเก่าแก่” โรบิสัน กล่าวว่า “มันดูน่ากลัวนิดๆ นี่คือสถานที่ตั้งแห่งโต๊ะของอัสลาน” สถานที่ตั้งเกาะในเรื่องราวหมายถึงการถ่ายทำมากมายใต้น้ำ การสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพวาดน้ำท่วมบนผนังในห้องนอนยูซตาส ทีมงานเอ็ฟเฟ็กต์พิเศษด้านเครื่องจักรมีการจำลองเวทีแสดงฉากห้องนอน “แห้ง” บนเวทีที่ยกระดับขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นก็ถูกลดระดับหรือถูกจุ่มลงไปในแท็งก์น้ำด้านนอกสองแท็งก์ที่เล็กกว่าของสตูดิโอ จอร์จีย์, สแกนเดอร์และวิลว่ายน้ำออกจากห้องนอนมาสู่ด้านนอก เมื่อมาประกบเข้ากันกับความยาวของภาพยนตร์ในแท็งก์ขนานใหญ่ ทำให้ดูเหมือนพวกเขากำลังลอยอยู่ในมหาสมุทร “ช่วงเวลาที่เข้าสู่นาร์เนียจากโลกของพวกเรามันมีความสำคัญเสมอ” แอ็ปเท็ด กล่าวว่า “ภาพยนตร์สองภาคก่อนได้สร้างมาตรฐานที่สูง เพราะฉะนั้นเราต้องใช้มาตรฐานของเรา โดยเฉพาะนี่คือฉากแอคชั่นแรกในภาพยนตร์ ซี.เอส.ลูอิส ได้จินตนาการถึงช่วงเวลานั้นไว้ แต่เราต้องดึงมันออกไป ไม่ใช่เพราะทำได้ยากเท่านั้น แต่มันยังอันตรายต่อเหล่านักแสดงด้วยนิดหน่อย โดยรวมแล้วมันต้องดูน่าเชื่อถือ และผมถ่ายทำแบบที่จะดึงผู้ชมเข้าไปสู่ในช่วงเวลานั้น พวกเขาไม่ได้นั่งดูภาพยนตร์เท่านั้น; พวกเขาร่วมไปกับเหล่าตัวละครด้วย” ฉากแห้งถูกสร้างขึ้นด้วยไม้สัก, ปูนปลาสเตอร์และวัสดุอื่นๆ ที่เราจะพบได้ในห้องนอน สำหรับฉากเปียกมีไฟเบอร์กลาสและประกอบด้วยวัสดุอื่นๆ ที่นำมาใช้ “สิ่งที่เกิดขึ้นรู้สึกได้ถึงกระแสน้ำที่ออกมาจากรูปภาพและเพิ่มระดับสูงขึ้นถึงเพดาน” โรบิสัน กล่าวว่า “แต่สิ่งที่เราทำจริงๆ แล้วคือการลดฉากลงไปอยู่ในน้ำ” น้ำยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างโดดเด่นในฉาก ในฉากที่บรรยายให้เห็นถึงพายุพัดกระหน่ำที่พัดเรือไปยังท้องทะเลอันกว้างใหญ่และมีการถูกโจมตีด้วยงูทะเลอันชั่วร้าย ทั้งสองฉากใช้สถานที่บนดาดฟ้าเรือดอว์น เทรดเดอร์ ซึ่งถูกครอบคลุมไปด้วยบรรยากาศแห่งบลูสกรีนของโรงถ่ายที่ 5 ที่เรือมีการประกอบขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยัง Cleveland Point ทีมงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิค 380 คน เพียงลำพังสำหรับตัวละครรีพิชีป, ยูซตาส/ตัวมังกร และฉากงูทะเล เมื่อการถ่ายทำสิ้นสุดลงปลายเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มจัดการกับฉากเอ็ฟเฟ็กต์กว่าร้อยฉากที่จะทำให้ตัวละครเหล่านี้มีชีวิตขึ้นมา ช่วงขั้นตอนโพสต์-โพรดักชั่นยังรวมถึงการลำดับภาพ, การประพันธ์ดนตรี, การบันทึกเสียงซ้ำและการมิกซ์เสียง ครอบคลุมไปถึงการทำงานด้าน 3 มิติ สำหรับฉาก 3 มิติในภาพยนตร์เรื่อง นาร์เนีย: ผจญภัยโพ้นทะเลเป็นคุณภาพชั้นสูงของการสร้างสรรค์ระหว่างช่วง 2 ปีของการถ่ายทำ และการทำให้ภาพยนตร์เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ผู้สร้างภาพยนตร์ร่วมงานกับผู้นำแห่งโลกของภาพ 3 มิติ และบริษัทเกี่ยวกับวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ในการทำงานที่โดดเด่นมาอย่างยาวนาน รวมถึงภาพยนตร์ยอดนิยมเมื่อไม่นานมานี้เรื่อง “Alice in Wonderland” ฉากต่างๆ จำนวนมากที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ และตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคทั้งหมด (รวมไปถึงรีพิชีปที่น่ารัก) ถูกเร็นเดอร์จากภาพ 3 มิติในตอนแรก และส่งตรงไปยังภาพยนตร์ เมื่อตาซ้ายและตาขวามาบรรจบคู่กันนี่ไม่ใช่แค่การรวมกันของโลกแห่งความจริงในรูปแบบ 3 มิติ เรขาคณิตของเรือดอว์น เทรดเดอร์และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในภาพยนตร์ (และการปรับให้เหมาะสมเข้ากับวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในแบบเดียวกัน) แต่ฉากอันโดดเด่นที่มากกว่า 10,000 ฉากของภาพและผลงานที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น ในนาร์เนียไม่มี “คัตเอาท์ส” แบบ 2 มิติ ขนาดความสัมพันธ์กับตัวละครของภาพยนตร์, สุดยอดแห่งประสบการณ์อันงดงามแห่งภาพ 3 มิติสำหรับ อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ผจญภัยโพ้นทะเล ท้ายที่สุดของการเดินทางเข้ามาใกล้สู่นักแสดงและทีมงาน, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อดัมสัน ที่ช่วยให้กำเนิดภาพยนตร์แฟรนไชส์นี้ กล่าวว่า “จากภาพยนตร์ทั้งสามเรื่อง สำหรับผมแล้วภาพยนตร์ภาคแรกจริงๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดแห่งนาร์เนีย เด็กๆ นำความหวังเข้าไปยังดินแดนแห่งนี้ที่ถูกทำลายด้วยความเหน็บหนาว ภายใต้บัลลังก์ของแม่มดขาว ภาพยนตร์ภาคนั้นล้วนเกี่ยวกับสีสัน เวทมนตร์และความสดใส และโลกใบใหม่ทั้งหมดนี้เปิดขึ้นมา ในภาคสองนำเสนอเกี่ยวกับโลกแห่งความชั่วร้าย ซึ่งเหล่าพรีเวนซี่ช่วยนำกลับมาให้มีชีวิตขึ้นอีกครั้ง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ผจญภัยโพ้นทะเล เหมือนภาพยนตร์ภาคแรกมากกว่า เพราะเราเปิดโลกใบใหม่ขึ้นอีกครั้ง เวทมนตร์ได้กลับมาแล้ว” เกี่ยวกับนักแสดง จอร์จีย์ เฮนลีย์ (ลูซี่) หวนคืนสู่การผจญภัยของเธอครั้งที่สามในโลกแห่งจินตนาการอันน่าพิศวงของ ซี.เอส.ลูอิส หลังได้สร้างผลงานการแสดงระดับมืออาชีพของเธอเป็นครั้งแรกเอาไว้ใน “ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” และกลับมารับบทลูซี่ของเธอใน “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” เด็กหญิงอายุ 15 ปีจาก มาจาก Ilkley, W. Yorkshire ในตอนเหนือของประเทศอังกฤษ เป็นหนึ่งในสมาชิกของคลับละครท้องถิ่นที่เรียกว่า Upstagers โดยผู้กำกับการคัดเลือกนักแสดง พิปพ่า ฮอล พบเธอในการคัดเลือกนักแสดงทั้งประเทศของภาพยนตร์ จอร์จีย์คว้าบทบาทไปครองจากบรรดาตัวเก็งกว่า 2,000 คน สำหรับผลงานของเธอในภาพยนตร์เรื่อง “นาร์เนีย” ภาคแรก จอร์จีย์กวาดรางวัลต่างๆ มากมาย รวมไปถึงการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก รวมไปถึง Phoenix Film Critics Award (การแสดงยอดเยี่ยมของนักแสดงสมทบหญิงหรือนักแสดงนำหญิง), Michael Eliot Trust Award (นักแสดงเด็กแห่งปี), Total Film Award (the Dakota Fanning prize สำหรับนักแสดงเด็กยอดเยี่ยม) และรางวัล Young Artists Award (การแสดง/ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม — วัย 10 ปีและน้อยกว่านั้น) ถัดจากนั้นจอร์จีย์ยังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสาขานักแสดงหญิงรุ่นเยาว์ยอดเยี่ยม จาก Broadcast Film Critics Association, ในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ที่มีอนาคตไกล จาก Empire Awards แห่งสหราชอาณาจักร สาขาการแสดงโดดเด่นยอดเยี่ยม จาก Online Film Critics Society และในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจาก Chicago Film Critics circle ตามมาด้วยการฉายภาพยนตร์เรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” จอร์จีย์คว้ารางวัล UK Nickelodean Kids Choice Award ปี 2008 สำหรับนักแสดงภาพยนตร์หญิงยอดนิยม จอร์จีย์ยังแสดงเป็น เจน แอร์ ตอนเด็กในปีที่แล้ว ในภาพยนตร์ผลงานการสร้างของ BBC เรื่อง “Jane Eyre” สแกนเดอร์ เคนส์ (เอ็ดมันด์) กลับมารับบทบาทของ เอ็ดมันด์ พรีเวนซี่ ในการเดินทางครั้งแรกของเขาผ่านนาร์เนียในตอน “ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” เอ็ดมันด์เป็นพี่ชายคนเล็กที่ทรยศต่อพี่น้องของเขาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ในตอน “เจ้าชายแคสเปี้ยน” เห็นการเติบโตของเอ็ดมันด์ทั้งด้านรูปร่างและความชาญฉลาด ในการผจญภัยครั้งใหม่นี้ หลายปีที่ผ่านมาเขาดูจะมีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ความท้าทายของเอ็ดมันด์คือการช่วยเหลือและอารักขากษัตริย์แห่งนาร์เนียคนใหม่อย่างแคสเปี้ยน เมื่อพวกเขาแล่นเรือออกไปทางตะวันออกอันไกลโพ้นจากโลกของอัสลาน เพื่อภารกิจของพวกเขาในการนำดาบที่หายไปของลอร์ดแห่งเทลมาร์กลับคืนมา เคนส์วัย 19 ปี เป็นนักแสดงที่เกิดในลอนดอน เขาเริ่มเส้นทางอาชีพการแสดงด้วยวัย 9 ปี ในภาพยนตร์เรื่อง “Macbeth” อำนวยการสร้างโดย Royal Shakespeare Company production โดยมีการออกอากาศทาง Channel 4 ของอังกฤษ ตามมาด้วยการรับบทแสดงเป็นเด็กจรจัดในสมัยของพระนางเจ้าวิคตอเรีย ภาพยนตร์สารคดีของ โจนาธาน มีด ที่มีชื่อว่า “The Victorians” ออกอากาศทาง BBC-2 ปีถัดมา (2001), สแกนเดอร์แสดงบทบาทของ เอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ ตอนเด็ก ในภาพยนตร์อัตชีวประวัติของ Duemila Productions/Victory เรื่อง “Enzo Ferrari” ที่รวบรวมประวัติของนักแข่งรถชาวอิตาลีชื่อดัง พ่อของสแกนเดอร์, แรนดอล เคนส์ เข้าร่วมการเปิดตัวรอบปฐมทัศน์โลกของภาพยนตร์เรื่อง “Creation” ที่มีการเปิดตัวในงาน Toronto International Film Festival เมื่อปี 2009 ภาพยนตร์แสดงโดย พอล เบ็ตตานี่ และ เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ สร้างขึ้นจากหนังสือของแรนดอลที่มีชื่อว่า “Annie’s Box: Charles Darwin, His Daughter and Human Evolution” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของปู่ทวดของเขา นั่นคือ ชาร์ลส ดาร์วิน คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพและความสนใจส่วนตัวของสแกนเดอร์ ได้ทางเว็บไซต์ของเขา skandar-keynes.com เบ็น บาร์นส (กษัตริย์แคสเปี้ยน) มีการรับบทแสดงนำเป็นครั้งแรกของฮอลลีวูด ในตัวละครหลักของการผจญภัยครั้งที่ 2 ของ ซี.เอส.ลูอิส ในดินแดนแห่งนาร์เนีย และในตอนที่ 3 นี้ แคสเปี้ยนได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ บาร์นสเริ่มเส้นทางอาชีพของเขาบนเวทีที่อังกฤษ บาร์นสอายุ 28 ปีเป็นชาวอังกฤษโดยแต่กำเนิด เขาศึกษาด้านการละครที่ Kingston University และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโรงละคร National Youth Music Theatre ที่เขามีการแสดงเรื่อง “The Ballad of Salomon Pavey” เมื่ออายุ 15 ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาร่วมกับ NYMT ยังรวมถึงละครเรื่อง “The Ragged Child,” “Bugsy Malone” ที่โรงละคร Queen’s Theatre เรื่อง “The Dreaming,” และเรื่อง “Andrew Lloyd Webber’s 50th Birthday” ที่หอประชุม Royal Albert Hall อันมีชื่อเสียงของลอนดอน ก่อนการมารับบทบาทของแคสเปี้ยน บาร์นสได้รับการชมเชยวิจารณ์อย่างมากสำหรับผลงานของเขาที่น่าหลงใหลของดาคินที่เป็นนักล่าจอมบงการ ในผลงานละครที่คว้ารางวัลของ อลัน เบ็นเน็ต เรื่อง “The History Boys” ซึ่งมีการเล่นในโรงละคร Wyndham’s Theatre ที่ลอนดอน ผลงานอื่นบนเวทีของชาวอังกฤษ ยังรวมถึงเรื่อง “Sex, Chips & Rock n’ Roll” ที่ Royal Exchange ในแมนเชสเตอร์, เรื่อง “Loving Ophelia” ที่โรงละคร Pleasance Theatre, เรื่อง “Judi Dench & Friends” ในงานเลี้ยงฉลองที่โรงละคร Kingston Rose Theatre เช่นเดียวกับการสัมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง “Blag” และ “Talking to Mr. Warner” ที่ Chocolate Factory บาร์นสรับบทแสดงนำในตัวละครที่มีชื่อว่าค็อบบัคค่า ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดกฏหมายชาวรัสเซียที่วิ่งก่อการจลาจลที่ลอนดอน ในภาพยนตร์อินดี้เรื่อง “Bigga Than Ben,” จากนั้นเขารับบทแสดงในภาพยนตร์แฟนตาซีจอยักษ์ ผลงานของผู้กำกับ แมทธิว วอนก์ ที่มีชื่อว่า “Stardust” ตามมาด้วยผลงานของเขาในภาพยนตร์เรื่อง “นาร์เนีย” ภาคที่สอง บาร์นเสร็จสิ้นโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ทั้งสามเรื่อง เขาแสดงภาพยนตร์ร่วมกับ เจสสิก้า บีล และ โคลิน เฟิร์ธ ในภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ ผลงานของ สตีเฟ่น เอลเลียต เรื่อง “Easy Virtue” จากนั้นได้รับบทแสดงนำในภาพยนตร์ผลงานของ โอลิเวอร์ พาร์คเกอร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวคลาสสิคของ ออสการ์ ไวล์ด ในฉบับทันสมัยเรื่อง “Dorian Gray” เขารับบทแสดงร่วมกับ เบร็นด้า ฟริคเกอร์, ซาร่าห์ โรเมอร์ และ เอลิซ่า ดัชคู ในภาพยนตร์ระทึกขวัญ ผลงานของ ซูริ คริชนัมมา เรื่อง “Valediction” ภาพยนตร์ในเร็วๆ นี้ที่ดัดแปลงมาจากชีวประวัติ ผลงานของ นีล แม็คคอร์มิค เรื่อง “Killing Bono” ที่เขาแสดงเป็นผู้แต่ง, ผู้ร่วมชั้นเรียนของโบโน่แห่งวง U2 เป้าหมายในเส้นทางอาชีพของแม็คคอร์มิคคือความร่ำรวยและชื่อเสียงในวงการเพลงร็อค และได้ล่มสลายลงมาภายใต้เงาแห่งโลกซูเปอร์สตาร์ ผลงานทางทีวี บาร์นสร่วมแสดงในภาพยนตร์ทางทีวี ผลงานของผู้กำกับ ไซมอน เวสต์ ที่ฉายทาง CW network เรื่อง “Split Decision” วิล โพลเตอร์ (ยูซตาส สครับบ์) อายุ 17 ปี แสดงผลงานการแสดงอย่างมืออาชีพเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง “Son of Rambow” โดยรับบทเป็น ลี คาร์เตอร์ อันธพาลประจำโรงเรียน ที่หลงใหลในตัวละครเอกแห่งโลกภาพยนตร์ ไปสู่สายสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดกับเพื่อนร่วมชั้นที่มีนิสัยดี ภาพยนตร์มีการฉายรอบปฐมทัศน์ที่งาน Sundance Film Festival ในปี 2007 ก่อให้เกิดเสียงตอบรับและให้ความสนใจในการฉายที่งาน Toronto International Film Festival, Newport Beach Film Festival, Seattle International Film Festival, Glasgow Film Festival และ BFI London Film Festival ครั้งที่ 51 ภาพยนตร์เรื่อง “Son of Rambow” เดินหน้าคว้ารางวัลคอมเมดี้ยอดเยี่ยมในงาน Empire Awards ที่อังกฤษ และรางวัล Audience Award ที่งาน Locarno Film Festival ในสวิตเซอร์แลนด์ และยังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA สำหรับผู้เขียนบท-ผู้กำกับภาพยนตร์ การ์ธ เจนนิ่งส์ และ การถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล British Independent Film Award ถึงสี่ครั้ง, บวกกับรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ที่มีความหวังอย่างสูงอีกรางวัลที่เป็นการให้การยอมรับโพลเตอร์ โพลเตอร์เป็นชาวลอนดอนโดยกำเนิด เขามีความรักในการแสดงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ในการรับบทแสดงเป็นเอลฟ์ที่โรงเรียนของท้องถิ่น เป็นเวลาหลายปีที่เขาเดินหน้าทำการแสดงของการสร้างโดยโรงเรียน โดยไม่มีการเรียนด้านการแสดงอย่างเป็นทางการ เขาถูก “พบตัว” โดยผู้กำกับการคัดเลือกนักแสดง ซูซี่ ฟิกกิส ในโรงเรียนมัธยม เขาศึกษาในภาคการแสดงอย่างกระตือรือล้นที่ Harrodian ซึ่งอยู่ในกระแสการจับตาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ท้องถิ่น สำหรับผู้มีพรสวรรค์คนใหม่ โพลเตอร์คือส่วนหนึ่งของการรวมตัวเหล่านักแสดง (พร้อมด้วยนักแสดงตลกรุ่นเยาว์คนอื่นๆ จากโรงเรียน Harrodian School) ในภาพยนตร์เรื่อง “School Of Comedy” ตอนแรกมีการออกอากาศทาง Channel 4’s Comedy Lab ในเดือนสิงหาคม 2008 ภาพยนตร์เรื่อง “School Of Comedy” ถูกกำหนดให้เป็นซีรี่ย์เต็มรูปแบบที่ฉายทาง Channel 4 พร้อมด้วยตอนต่างๆ ของฤดูกาลแรกที่ฉายในฤดูใบไม้ร่วง 2009 ทิลดา สวินตัน (แม่มดขาว) เธอคว้ารางวัล Oscar และ BAFTA (British Academy Award) สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สำหรับบทบาทของเธอที่แสดงเป็นทนายความผู้เสแสร้งที่แสดงร่วมกับ จอร์จ คลูนีย์ ในผลงานของผู้เขียนบท-ผู้กำกับ โทนี่ กิลรอย ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเรื่อง “Michael Clayton” สำหรับผลงานของเธอในภาพยนตร์, เธอถูกเสนอชื่อเข้าชิงจากองค์กรต่างๆ ที่มีชื่อเสียงอย่าง Screen Actors Guild, London Film Critics Circle และ Hollywood Foreign Press Association สวินตันเป็นชาวสก็อต (และศึกษาที่ Cambridge) นักแสดงหญิงเริ่มแสดงภาพยนตร์กับผู้กำกับชาวอังกฤษ ดีเรค จาร์แมน เมื่อปี 1985 ในภาพยนตร์เรื่อง “Caravaggio” เธอเดินหน้าร่วมงานกับเขาเป็นเวลา 8 ปีกับหนังอีกกว่า 7 เรื่องก่อนที่จาร์แมนจะเสียชีวิตลงในปี 1994 รวมไปถึงภาพยนตร์เรื่อง “The Last of England,” “The Garden,” “War Requiem” และ “Wittgenstein” ในปี 1990, สวินตันคว้ารางวัล Coppa Volpe ที่งาน Venice Film Festival สำหรับการแสดงของเธอในภาพยนตร์ผลงานของจาร์แมน โดยการดัดแปลงของมาร์โลว์ เรื่อง “Edward II” สองปีถัดมา, เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นไปทั่วโลก (และได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์) พร้อมด้วยการแสดงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของชายและหญิงที่อยู่ในร่างเดียวกันในภาพยนตร์เรื่อง “Orlando” กำกับโดย แซลลี่ พอตเตอร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา, ผลงานของสวินตันยังรวมถึงภาพยนตร์อีก 2 เรื่องที่แสดงร่วมกับ ลินน์ เฮิร์ชแมน-ลีสัน ในภาพยนตร์เรื่อง “Conceiving Ada” และ “Teknolust” บวกกับภาพยนตร์ผลงานของ ซูซาน สตรายเฟลด์ เรื่อง “Female Perversions,” ภาพยนตร์ผลงานของ ทิม รอธ เรื่อง “The War Zone” และภาพยนตร์ผลงานของ โรเบิร์ต เลเพจ เรื่อง “Possible Worlds” ในปี 2000, เธอแสดงในภาพยนตร์เรื่อง “The Deep End” ของผู้กำกับ เดวิด ซีเกล และ สก็อต แมคกีฮี ซึ่งเป็นอีกครั้งที่เธอคว้ารางวัลจากทั่วโลกมากมาย รวมไปถึงการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม สวินตันร่วมแสดงในภาพยนตร์ผลงานของ สไปค์ จอนซ์ เรื่อง “Adaptation” ภาพยนตร์ผลงานของ เดวิด แม็คเค็นซี่ ที่ได้รับการชมเชยเรื่อง “Young Adam” และภาพยนตร์เรื่อง “Thumbsucker” ในเวลาต่อมาที่กำกับโดย ไมค์ มิลส์ เธอแสดงภาพยนตร์ร่วมกับ คีนู รีฟส์ ในเรื่อง “Constantine,” ร่วมแสดงกับ บิล เมอร์เรย์ ในภาพยนตร์ดราม่าที่ได้รับการยกย่องของ จิม จาร์มุช เรื่อง “Broken Flowers,” และการกลับมารวมทีมกับจาร์มุช ในภาพยนตร์ของเขาเมื่อไม่นานมานี้เรื่อง “The Limits of Control” เธอยังร่วมแสดงในภาพยนตร์ตลกเสียดสี ผลงานของพี่น้องโคเอ็น เรื่อง “Burn After Reading” และในภาพยนตร์ดราม่าผลงานของ เดวิด ฟินเชอร์ เรื่อง “The Curious Case of Benjamin Button” สวินตันได้รับการชมเชยจากนักวิจารณ์ในผลงานของเธอบนภาพยนตร์เมื่อไม่นานมานี้เรื่อง “I Am Love” สวินตันสร้างบทบาทของแม่มดขาวในภาพยนตร์เรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” และกลับมารับบทบาทของตัวละครที่มีการปรากฏตัวอย่างเป็นที่จับตา ในตอน “เจ้าชายแคสเปี้ยน” เกี่ยวกับผู้สร้างภาพยนตร์ ไมเคิล แอ็ปเท็ด (ผู้กำกับ) เขาใช้เวลาอยู่ในเส้นทางอาชีพถึง 4 ทศวรรษ รวมไปถึงการประสบความสำเร็จจากภาพนยตร์ในโรง, ทางโทรทัศน์และเป็นหนึ่งในผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงของวงาร เขามีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์ครั้งแรกตอนอายุ 16 เมื่อเขาดูหนังของ อิงมาร์ เบิร์กแมน เรื่อง “Wild Strawberries” เป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่เขาเดินหน้าศึกษาด้านประวัติศาสตร์และกฎหมายที่ Cambridge University, the Aylesbury, เขาเป็นชาวบัคกิงแฮมเชียร์แต่กำเนิด เริ่มเส้นทางอาชีพการสร้างภาพยนตร์นอกเหนือวิทยาลัยในฐานะผู้ค้นคว้าของ Granada Television ฤกษ์งามยามดีได้เริ่มไปสู่การได้รับมอบหมายในการเลือกเด็กวัยเจ็ดขวบ 14 คน เพื่อภาพยนตร์สารคดีในปี 1964 ที่มีชื่อว่า “Seven Up” ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ได้รับรางวัลภาพยนตร์ซีรี่ย์ แอ็ปเท็ดได้สร้างการพิจารณาระบอบชนชั้นในสังคมอังกฤษที่มีการเพิ่มพูนขึ้นตลอด 7 ปี ภายในช่วงเวลา 3 ปี เขาเป็นที่ยอมรับในแมนเชสเตอร์ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ทางทีวีที่เป็นฤดูกาล, ผู้ควบคุมดูแลทุกอย่างจากการรับใช้โบสถ์, ละครน้ำเน่าและกีฬามวยปล้ำ ไปจนถึงทีวีคอนเสิร์ตของ The Beatles และ The Rolling Stones เขากลายเป็นนักข่าวสืบสวนสอบสวนสำหรับชุดสารคดีข่าวที่มีชื่อว่า “World in Action” ที่ได้นำทางมุมมองแต่ละสัปดห์ในภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “Cinema” และกำกับภาพยนตร์ซีรี่ย์อังกฤษที่มีการฉายมาอย่างยาวนานเรื่อง “Coronation Street” แอ็ปเท็ดคว้ารางวัล British Emmys ในฐานะผู้กำกับยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ซีรี่ย์คอมเมดี้เรื่อง “The Lovers,” ผู้กำกับยอดเยี่ยมของซีรี่ย์สำหรับเด็กเรื่อง “Folly Foot,” และผู้กำกับยอดเยี่ยมสำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Another Sunday and Sweet F.A.” และ “Kisses at Fifty” เขากวาดรางวัล Emmy จากทั่วโลก (และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล DGA เป็นครั้งแรก) สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “The Collection” และถูกเสนอชื่อเข้าชิงในเรื่อง “21,” และครั้งที่สามในซีรี่ย์เรื่อง “Seven Up” ในบรรดาภาพยนตร์ทางทีวีของอังกฤษมากมายที่เขาทำการกำกับ ยังมีภาพยนตร์เรื่อง “Poor Girl,” “Mosedale Horseshoe,” “Jack Point,” “Number 10,” “Slattery’s Mounted Foot,” “Big Soft Nellie,” “One Thousand Pounds for Rosebud,” “Joy,” “Said the Preacher” และ “Stronger Than the Sun” แอ็ปเท็ดเดินหน้าเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไปอย่างช้าๆ ในภาพยนตร์โรแมนติกช่วงยามสงครามที่ไม่ปกติ ในปี 1973 เรื่อง “Triple Echo” ตามมาด้วยเรื่องราวในอดีตของกลุ่มดนตรีป๊อปชาวอังกฤษ ในภาพยนตร์เรื่อง “Stardust,” ภาพยนตร์ดราม่าอาชญากรรมเรื่อง “The Squeeze,” และภาพยนตร์ลึกลับที่มีงบในการสร้างอย่างมหาศาลเรื่อง “Agatha,” ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน และ วาเนสซ่า เรดเกรฟ แอ็ปเท็ดสร้างความก้าวหน้าได้อย่างตื่นเต้น ในฉากภาพยนตร์อัตชีวประวัติของชาวอเมริกันที่คว้ารางวัล Oscar เรื่อง “Coal Miner’s Daughter” หนึ่งในภาพยนตร์ปี 1980 ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ยังทำให้เขาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Director’s Guild of America และรางวัล Oscar สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมของ ซิสซี่ สปาเซ็ก ในการแสดงของเธออันน่าตื่นเต้นที่แสดงเป็นนักร้องเพลงคันทรี่ผู้โด่งดัง โลเร็ตต้า ลินน์ ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของแอ็ปเท็ดยังรวมถึงภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง “Continental Divide,” ภาพยนตร์ระทึกขวัญเกี่ยวกับตำรวจเรื่อง “Gorky Park,” ภาพยนตร์คอมเมดี้ของวัยรุ่นเรื่อง “P’Tang, Yang, Kipperbang” (ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA), ภาพยนตร์ดราม่าชีวประวัติเรื่อง “Gorillas in the Mist” (ที่ ซิกอร์นีย์ วีเวอร์ ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม ในบทบาทของ ไดแอน ฟอสซีย์), ภาพยนตร์ตลกร้ายเรื่อง “Critical Condition,” ภาพยนตร์ดราม่าเกี่ยวกับห้องพิจารณาคดีเรื่อง “Civil Action,” ภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง “Thunderheart,” ภาพยนตร์ลึกลับ-ระทึกขวัญเรื่อง “Blink,” ภาพยนตร์ดราม่าเรื่อง “Nell” (ที่ โจดี้ ฟอสเตอร์ ถูกเลือกให้เข้าชิงรางวัล Oscar สาขานักแสดงยอดเยี่ยม), ภาพยนตร์ระทึกขวัญเกี่ยวกับการแพทย์เรื่อง “Extreme Measures,” ภาพยนตร์ดราม่าเรื่อง ” the thriller “Enough,” ภาพยนตร์ดราม่าที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เรื่อง “Amazing Grace,” และภาพยนตร์มหากาพย์ เจมส์ บอนด์ “The World Is Not Enough” แอ็ปเท็ดยังคงวนเวียนอยู่ในวงการทีวี โดยการกำกับภาพยนตร์ซีรี่ย์ที่คว้ารางวัล Emmy และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe ที่ฉายทางช่อง HBO เรื่อง “Rome” เป็นจำนวนหลายตอน (ซึ่งแอ็ปเท็ดคว้ารางวัล DGA Award) และภาพยนตร์ดราม่าเรื่อง _“Always Outnumbered” ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายของ วอลเตอร์ โมสลีย์ แอ็ปเท็ดยังคงเดินหน้าในการเป็นผู้นำแห่งภาพยนตร์สารคดี ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Incident at Oglala” ที่เกี่ยวกับนักกิจกรรมในคณะของชาวอเมริกันอินเดีย ลีโอนาร์ด เพลเทียร์; ภาพยนตร์เรื่อง “Bring on the Night” ที่บันทึกเหตุการณ์ของเส้นทางนักดนตรีที่มีชื่อ สติง ในอัลบั้ม “Dream of the Blue Turtles” (ที่แอ็ปเท็ดคว้ารางวัล Grammy? Award สาขามิวสิควีดีโอ Best Long Form); ภาพยนตร์เรื่อง “The Long Way Home” เกี่ยวกับประวัตินักดนตรีร็อคชาวรัสเซีย โบริส กรีเบ็นชีคอฟ; ภาพยนตร์เรื่อง “Moving the Mountain” เกี่ยวกับข้อมูลการประท้วงของนักเรียนในปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1989; ภาพยนตร์เรื่อง “Me & Isaac Newton” ที่รวบรวมความตลกในการเฝ้ามองไปที่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นของโลก; ภาพยนตร์เรื่อง “Inspirations” ที่สร้างความโดดเด่นด้วยเหล่าศิลปินมากมาย เช่น เดวิด โบวี่, รอย ลิชเท็นสเทน, เดล ชีฮูลี่ และคนอื่นๆ ในการพูดคุยอย่างเปิดเผยถึงกระบวนการสร้างสรรค์ของพวกเขา; ภาพยนตร์เรื่อง “The Power of the Game” ที่บรรยายถึงกีฬายอดนิยมของโลกอย่างฟุตบอล และมันมีผลกระทบต่อประชมคมโลกอย่างไร และภาพยนตร์เรื่อง _“Married in America” (ภาพยนตร์เรื่องแรกในปี 2002 และตามมาอีกทีในปี 2006), การเฝ้าดูคู่รักชาวอเมริกัน 9 คู่เกี่ยวกับการเริ่มดำเนินงานแต่ง แอ็ปเท็ดทำการกำกับภาพยนตร์และอำนวยการสร้างภาพยนตร์ต่อไป ในภาพยนตร์ซีรี่ย์เรื่อง “Seven Up” พร้อมด้วยเพิ่มตอนเข้ามา ตั้งแต่ที่มีการสร้างขึ้นในปี 1964 -- “7 Plus 7,” “21,” “28 Up” (ที่เขาคว้ารางวัล BAFTA, International Emmy และ International Documentary Award), “35 Up,” “42: Forty Two Up” (ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA และ International Documentary) และตอนล่าสุด “49 Up” (ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA อีกตอนหนึ่ง) ตอนต่อไปคือ “56 Up,” มีกำหนดฉายในปี 2012 เขายังอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “Seven Up” ในฉบับของอเมริกันและรัสเซียอีกด้วย ต่อจากนั้นสำหรับความสำเร็จของเขาที่เกิดขึ้น แอ็ปเท็ดได้ทำหน้าที่เป็นประธานของสมาคมผู้กำกับแห่งอเมริกาเป็นเวลา 3 สมัย และเป็นประธานด้านสาขาสารคดีแห่ง Academy of Motion Picture Arts & Sciences คริสโตเฟอร์ มาร์คัส และ สตีเฟ่น แม็คฟีลี่ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) หวนกลับมาสู่วงโคจรของพวกเขาเป็นครั้งที่สามในอาณาจักรแห่งนาร์เนีย หลังร่วมกันเขียนการดัดแปลงของภาพยนตร์ฮิตของบ็อกซ์ ออฟฟิศไปทั่วโลกเรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” (ที่ทำให้พวกเขาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Saturn, Hugo และ Humanitas Awards) และเรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” มาร์คัสและแม็คฟีลี่ได้เขียนร่วมกับตั้งแต่ปี 1995 พวกเขาเขียนบทภาพยนตร์ต้นฉบับให้กับภาพยนตร์ที่ได้รับการชมเชยจากเหล่านักวิจารณ์ ที่ฉายทาง HBO เรื่อง “The Life and Death of Peter Sellers,” แสดงโดยนักแสดงผู้คว้ารางวัล Academy Award เจฟฟรีย์ รัช นี่เป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของพวกเขาที่มีการฉายในรอบปฐมทัศน์การแข่งขันที่งาน Cannes Film Festival ในปี 2004 และกวาดชื่อเสียงต่างๆ มากมาย รวมไปถึงรางวัล Emmy อีก 9 รางวัล มาร์คัสและแม็คฟีลี่คว้ารางวัล Emmy สำหรับการเขียนมินิซีรี่ย์, ภาพยนตร์หรือละครพิเศษที่โดดเด่น เช่นเดียวกันกับรางวัล Writers Guild Award. มาร์คัสและแม็คฟีลี่เป็นนักเขียนของภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูน Marvel คลาสสิคเรื่อง “Captain America: The First Avenger” และต่อไปจะเขียนบทภาพยนตร์ที่อ้างอิงมาจากนวนิยายเรื่องสั้นของ อาร์เธอร์ ฟิลลิปส์ ที่มีชื่อว่า “Wencenslas Square” บทภาพยนตร์แรกของพวกเขาเรื่อง “You Kill Me” ถูกกำกับโดย จอห์น ดาห์ล ในปี 2007 และแสดงโดย เบ็น คิงสลีย์, ที ลีโอนี่ และ ลุค วิลสัน ไมเคิล เพโทรนี่ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) เป็นชาวออสเตรเลียที่ย้ายไปอยู่ลอส แองเจลลิสเพื่อเรียนด้านการเขียนบทภาพยนตร์ที่ AFI Conservatory และสำเร็จการศึกษาในปี 1996 ระหว่างช่วงเวลาที่ AFI เขาเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก “Till Human Voices Wake Us,” ที่เขาทำการกำกับในปี _2002 บทภาพยนตร์ต้นฉบับคว้ารางวัลทั้ง AFI’s Screenplay of the Year และ WGA/Scenario Magazine awards สาขาบทภาพยนตร์เรื่องใหม่ยอดเยี่ยมในปี 1996 เพโทรนี่ยังได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบทภาพยนตร์จาก Film Critics Circle แห่งออสเตรเลียด้วย ตั้งแต่ฤกษ์ดีครั้งนั้นในการปรากฏตัวครั้งแรก เพโทรนี่ได้ร่วมเขียนบทในภาพยนตร์ที่อำนวยการสร้างโดย โจดี้ ฟอสเตอร์ เรื่อง “The Dangerous Lives of Altar Boys,” “Queen of the Damned” (จากนวนิยายของ แอน ไรซ์) และ“Possession” ตอนนี้เขากำลังสร้างผลงานในภาพยนตร์เรื่อง “The Rite” ที่กำกับโดย มิคาเอล ฮาฟสตรอม โปรเจ็กต์อื่นๆ ในการพัฒนายังรวมถึงเรื่อง “The Long Green Shore,” “The Book Thief” และ “Afterlife” เพโทรนี่ได้สร้างภาพยนตร์ซีรี่ย์ที่ฉายทาง ABC-TV เรื่อง “Miracles” เขาเขียนและกำกับภาพยนตร์คอมเมดี้เรื่องสั้น “Boys Own Story” และภาพยนตร์เรื่องสั้นในปี 1998 เรื่อง “Trespasses” ในเวลาต่อมา โดยอำนวยการสร้างโดยแซนดร้า บุลล็อค ก่อนที่จะค่อยๆ เดินหน้าเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ช่วงต้นปี 1990 เพโทรนี่ทำหน้าที่เป็นนักเขียนและผู้แสดงตลกทางทีวีของออสเตรเลีย ปรากฏตัวให้เห็นในฐานะนักแสดงที่มีชี่อว่า ไซโค บ็อบ ในซีรี่ย์ที่มีชื่อว่า “The Big Gig” และ “DAAS Kapital” มาร์ค จอห์นสัน (ผู้อำนวยการสร้าง) หนึ่งในผู้สร้างแห่งวงการที่ได้รับการชมเชยมากที่สุด หวนคืนสู่โลกแห่งนาร์เนียต่อจากภาพยนตร์ฮิตของบ็อก ออฟฟิศทั่วโลกเรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดและตู้พิศวง” และ “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” ซึ่งกวาดรายได้รวม 1.2 พันล้านดอลลาร์จากโรงภาพยนตร์บ็อกซ์ ออฟฟิศทั่วโลก จอห์นสันคว้ารางวัลภาพยอดเยี่ยมอันทรงเกียรติจากภาพยนตร์ดราม่าสะเทือนอารมณ์ในปี 1988 ผลงานของ แบร์รี่ เลวินสัน เรื่อง “Rain Man” แสดงโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน (นักแสดงยอดเยี่ยมเจ้าของรางวัล Oscar) และ ทอม ครูซ หนึ่งในภาพยนตร์หลายเรื่องที่จอห์นสันสร้างร่วมกับเลวินสันระหว่างช่วงเวลา 12 ปี ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Oscar รวม 4 รางวัล และยังคว้ารางวัล Golden Globe สาขาภาพยอดเยี่ยม 3 ปี จอห์นสันหวนคืนสู่งานฉลอง Oscar ในฐานะผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล จากการอำนวยการสร้างภาพยนตร์อัตชีวประวัติอันยิ่งใหญ่ ผลงานของเลวินสันเรื่อง “Bugsy” ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 10 รางวัล ซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์และผู้กำกับยอดเยี่ยม และยังคว้ารางวัลสาขาผู้กำกับศิลป์ยอดเยี่ยมและเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม เขาเกิดที่แมรี่แลนด์ จอห์นสันใช้เวลา 10 ปีของช่วงวัยรุ่นที่สเปน ก่อนเริ่มเส้นทางอาชีพของเขาทางด้านภาพยนตร์ เขาศึกษาปริญญาตรีด้านการละครที่ University of Virginia และปริญญาโทศิลปศาสตร์ของเขาใน Film Scholarship จาก University of Iowa เขาย้ายมาอยู่นิวยอร์คและเข้าร่วม Director’s Guild Training Program ซึ่งโปรเจ็กต์แรกของเขาคือภาพยนตร์ดราม่าอัตชีวประวัติอันน่าประทับใจ ผลงานของ พอล มาเซอร์สกี เรื่อง “Next Stop, Greenwich Village” ต่อมาจอห์นสันได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ลอส แองเจลลิส และเลื่อนขั้นจากผู้ช่วยอำนวยการสร้างภาพยนตร์ไปสู่ผู้ช่วยผู้กำกับในภาพยนตร์เรื่อง “Movie, Movie,” “The Brinks Job,” “Escape from Alcatraz” และ “High Anxiety” ตามลำดับ เขาร่วมเขียนบทภาพยนตร์โดยเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจในอนาคตกับเลวินสัน การประสบความสำเร็จในการจับคู่กับเลวินสัน จอห์นสันทำหน้าที่เป็นผู้เขียน-ผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งหมดจากปี 1982-1994 ต่อมาด้วยภาพยนตร์เรื่อง “Rain Man” รายชื่อของภาพยนตร์ที่ได้รับการชมเชยของพวกเขามีมากมาย ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Good Morning, Vietnam,” “The Natural,” “Tin Men,” “Toys,” “Young Sherlock Holmes,” “Avalon,” “Diner” (โปรเจ็กต์ของพวกเขาครั้งแรกในปี 1982 ซึ่งเลวินสันได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar สำหรับบทภาพยนตร์ของเขา), และภาพยนตร์เรื่อง “Bugsy” ที่ยังครองรางวัล Golden Globe สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ต่อจากการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar อีก 10 รางวัล ในปี 1994, จอห์นสันได้ก่อตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์อิสระ และคว้ารางวัล Film Critics New Generation Award ที่ลอส แองเจลลิส สำหรับความพยายามแรกเริ่มของเขาในภาพยนตร์เรื่อง “A Little Princess” กำกับโดย อัลฟอนโซ่ คอว์โรน ภายใต้สัญลักษณ์ของเขา จอห์นสันยังอำนวยการสร้างภาพยนตร์คอมเมดี้เรื่อง “Home Fries” ร่วมกับ ดรูว์ แบร์รี่มอร์ และภาพยนตร์ดราม่าระทึกขวัญเรื่อง “Donnie Brasco” แสดงโดย อัล พาชิโน่ และ จอห์นนี่ เดปป์ จอห์นสันอำนวยการสร้างในภาพยนตร์ดราม่าสุดฮิต ผลงานของ นิค คาสซาเว็ตตีส์ เรื่อง “The Notebook” สร้างขึ้นจากหนังสือขายดีของ นิโคลัส สปาร์คส และกลับมาร่วมทีมกับคาสซาเว็ตตีส์ ในภาพยนตร์ครอบครัวแนวดราม่าเรื่อง “My Sister’s Keeper” เขายังอำนวยการสร้างในภาพยนตร์ของ วัลเดน มีเดีย ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือเด็กของ โธมัส ร็อคเวล ในภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “How to Eat Fried Worms” และภาพยนตร์ผลงานของ ริชาร์ด เชพาร์ด เรื่อง “The Hunting Party” ต่อมาที่แสดงโดย ริชาร์ด เกียร์ และ เทอร์เรนซ์ ฮาเวิร์ด อ้างอิงจากเรื่องราวในนิตยสาร “Esquire” โดยผู้เขียนที่ได้รับการชมเชยอย่าง สก็อต แอนเดอร์สัน ผลงานที่กำลังจะมาถึงเป็นการอำนวยการสร้างที่จับคู่กับ กิลเลอร์โม เดล โตโร่ ในภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง “Don’t Be Afraid of the Dark” แสดงโดย เคธี่ โฮล์มส และ กาย เพียร์ซ ผลงานเรื่องอื่นๆ ที่ผ่านมาเมื่อไม่นานยังรวมถึงเรื่อง “The Alamo” และ “The Rookie” ทั้งสองเรื่องกำกับโดย จอห์น ลี แฮนค็อก; ภาพยนตร์เรื่อง “The Banger Sisters” ที่ร่วมงานกับ ซูซาน ซารานดอน และ โกลดี้ ฮอว์น; ภาพยนตร์ดราม่า ผลงานของ แบรด ซิลเบอร์ลิง เรื่อง “Moonlight Mile” ร่วมกับซารานดอนและดัสติน ฮอฟฟ์แมน; ภาพยนตร์ระทึกขวัญเหนือธรรมชาติ ผลงานของ ทอม เชดแย็ค เรื่อง “Dragonfly” ร่วมกับ เควิน คอสต์เนอร์ และ เคธี่ เบตส์; ภาพยนตร์แนวเสียดสีชาวไอร์แลนด์ ผลงานของ แบร์รี่ เลวินสัน เรื่อง “An Everlasting Piece”; ภาพยนตร์ระทึกขวัญเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ ผลงานของ โรเบิร์ต เซเม็คคิส เรื่อง “What Lies Beneath” แสดงโดย แฮร์ริสัน ฟอร์ด และ มิเชล ไฟเฟอร์; ภาพยนตร์คอมเมดี้สุดฮิตเรื่อง “Galaxy Quest” ร่วมกับ ทิม อัลเลน และ ซิกอร์นีย์ วีเวอร์; และเรื่อง “My Dog Skip” ภาพยนตร์ครอบครัวแนวดราม่าที่ได้รับการชมเชย (อำนวยการสร้างร่วมกับ จอห์น ลี แฮนค็อก) แสดงโดย แฟรนกี้ มูนิซ, ไดแอน เลน และ เควิน บาคอน จอห์นสันยังคงสร้างผลงานทางทีวี มีการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmy เป็นครั้งแรก ในฐานะผู้อำนวยการสร้างบริหารให้กับภาพยนตร์ดราม่าที่ได้รับการชมเชย ซึ่งฉายทาง AMC เรื่อง “Breaking Bad” เขายังอำนวยการสร้างภาพยนตร์ ที่ฉายทาง CBS เรื่อง “L.A. Doctors” และ “Falcone” รวมถึงอำนวยการสร้างบริหารภาพยนตร์ดราม่ายอดนิยม ที่ฉายทาง CBS เรื่อง “The Guardian” ต่อจากนั้นจอห์นสันได้นำเสนอหรืออำนวยการสร้างบริหารในภาพยนตร์โดยการกำกับของ ลูอิซ โลซ่า เป็นครั้งแรกเรื่อง “Sniper” ภาพยนตร์โดยการกำกับของ ทิม รอบบินส์ เป็นครั้งแรกเรื่อง “Bob Roberts” ภาพยนตร์ผลงานของ สตีเว่น โซเดอร์เบิร์ก เรื่อง “Kafka” ภาพยนตร์ผลงานของ โรเบิร์ต เรดฟอร์ด เรื่อง “Quiz Show” และภาพยนตร์เรื่อง “Journey of Hope,” ต่อมาได้คว้ารางวัล Oscar สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศ ในปี 1999 เขาทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences และเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Academy’s Board of Governors (สาขาผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์) แอนดรูว์ อดัมสัน (ผู้อำนวยการสร้าง) หวนคืนสู่ดินแดนแห่งนาร์เนีย หลังจากการกำกับในภาพยนตร์การผจญภัยของ “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย” สองภาคแรก — โดยคว้ารางวัล Oscar สำหรับตอน “ราชสีห์, แม่มดและตู้พิศวง” (2005) และ “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” (2008) ซึ่งกวาดรายได้รวมมากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์จากบ็อกซ์ ออฟฟิศทั่วโลก เขาเป็นชาวนิวซีแลนด์มาแต่กำเนิด กำกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกปี 2001 ในภาพยนตร์เรื่อง “Shrek” ซึ่งคว้ารางวัล Academy Award เป็นครั้งแรกในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม 3 ปีต่อมา เขากำกับภาพยนตร์ภาคต่อเรื่อง “Shrek 2,” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่กวาดรายได้สูงสุดเป็นปรากฏการณ์ของฮอลลีวูด ภาพยนตร์เรื่อง “Shrek 2” ได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม และเพลงยอดเยี่ยม อดัมสัมเป็นผู้สร้างเรื่องราวและทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารในภาพยนตร์เรื่อง “Shrek the Third” ที่สร้างปรากฏการณ์ทางบ็อกซ์ ออฟฟิศระหว่างการเปิดตัวช่วงสุดสัปดาห์ในเดือนพฤษภาคม 2007 ถัดจากผลงานของเขาในภาพยนตร์แอนิเมชั่นไตรภาคที่เป็นที่สังเกต อดัมสันกำกับภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่นเป็นครั้งแรกเรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” ซึ่งนอกจากความประสบสำเร็จทางด้านรายได้แล้ว ยังคว้ารางวัล Oscar สาขาการแต่งหน้ายอดเยี่ยม และรวมถึงการถูกเสนอชื่อเข้าชิงอีก 2 รางวัลในสาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และเสียง ภาพยนตร์เรื่องที่สองของซีรี่ย์ “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” (ที่เขากำกับ, อำนวยการสร้างและร่วมเขียนบทภาพยนตร์) เปิดตัวอยู่ที่อันดับต้นๆ ของบ็อกซ์ ออฟฟิศอเมริกาในเดือนพฤษภาคม 2008 ขณะอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องที่สามในซีรี่ย์ “นาร์เนีย” อดัมสันก็กำลังอำนวยการสร้างเรื่อง “Tortoise and Hippo” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องใหม่ กำกับโดย จอห์น ไดค์สตรา ให้กับ Walden Media เขายังเขียนและกำลังพัฒนาโปรเจ็กต์อื่นอีก 2 เรื่อง—ภาพยนตร์ระทึกขวัญแนวแฟนตาซีเรื่อง “Benighted” และภาพยนตร์ดราม่าเกี่ยวกับสงครามเรื่อง “Mister Pip” ซึ่งถ่ายทำในปากัวนิวกินีที่อดัมสันใช้เวลาในวัยเด็กโดยส่วนใหญ่ที่นั่น อดัมสันเริ่มเส้นทางอาชีพของเขาด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในนิวซีแลนด์บ้านเกิดของเขา โดยทำงานในตำแหน่งผู้สร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์ที่บริษัทแอนิเมชั่นของท้องถิ่นที่มีชื่อว่า The Mouse That Roared ในปี 1986, เขาย้ายไปในตำแหน่งของผู้สร้างแอนิเมชั่นอาวุโส พร้อมทั้งควบตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบที่ Video Images Ltd. ซึ่งเขาออกแบบตราและสัญลักษณ์การออกอากาศ และโฆษณาทางทีวีต่างๆ มากมาย อดัมสันร่วมกับ PDI (Pacific Data Images, ตอนนี้คือ PDI/DreamWorks) ในปี 1991 ชื่อเสียงต่างๆ ของเขาในฐานะผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์กับ PDI/DreamWorks รวมถึงในภาพยนตร์เรื่อง “Angels in the Outfield” และ “Double Dragon” เขายังทำงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ให้กับภาพยนตร์มากมาย เช่น “True Lies,” “Heart and Souls” และ “Toys” รวมไปถึงการทำหน้าที่เป็นสมาชิกคนสำคัญด้านสายงานด้านธุรกิจของ PDI/DreamWorks ในโฆษณาที่คว้ารางวัลต่างๆ มาแล้วมากมาย ซึ่งรวมถึงโฆษณา Converse ที่มีชื่อว่า “Planet Kevin,” โฆษณา Dow ที่มีชื่อว่า “Scrubbing Bubbles Greatest Show” และโฆษณาของ Miller Genuine Draft ที่มีชื่อว่า “Juke Box” ผลงานของอดัมสันในฐานะผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ยังรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Batman Forever” (ที่เขาร่วมถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Saturn Award จาก Academy of Science Fiction, Fantasy and Horror), ภาพยนตร์เรื่อง “A Time to Kill” และภาพยนตร์เรื่อง “Batman and Robin” รายชื่อของรางวัลและการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลต่างๆ รวมถึง Annie Award สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Shrek,” และการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Annie อีก 2 รางวัล (การกำกับและเขียนบทภาพยนตร์) สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Shrek 2” เขายังคว้ารางวัล BAFTA Children’s Award สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Shrek” และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเป็นครั้งที่สอง ที่งาน Cannes Film Festival’s Palme D’Or สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Shrek” ทั้งสองเรื่อง ต่อจากนั้นเขายังร่วมรับรางวัล Camie Award สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” และร่วมถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Grammy สำหรับการรวบรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์เรื่อง “Shrek 2” ฟิลลิป สติวเออร์ (ผู้อำนวยการสร้าง) กลับมาร่วมทีมกับผู้อำนวยการสร้าง มาร์ค จอห์นสัน ในโปรเจ็กต์ร่วมกันของพวกเขาครั้งที่หก ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง “นาร์เนีย” สติวเออร์อำนวยการสร้างบริหารภาพยนตร์ของจอห์น ลี แฮนค็อก 2 เรื่อง --”The Rookie” หนึ่งในภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมของนักวิจารณ์และสำหรับการทำรายได้ของปี 2002 และภาพยนตร์เรื่องใหญ่ของแฮนค็อกที่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวอีกครั้ง เกี่ยวกับการสู้รบเพื่ออิสรภาพของรัฐเท็กซัสเรื่อง “The Alamo” สติวเออร์และจอห์นสันอำนวยการสร้างผลงานของ Walden Media ที่ดัดแปลงจากหนังสือเด็กยอดนิยมของ โธมัส ร็อคเวล ในภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “How to Eat Fried Worms” ลูกชายของโรเบิร์ต สติวเออร์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และบริหารด้านการจัดจำหน่ายที่ American International Pictures อย่างฟิลลิป สติวเออร์ ใช้เวลาช่วงซัมเมอร์เป็นเด็กฝึกงานในการอำนวยการสร้างภาพยนตร์มากมายของ AIP โดยการฝึกงานเหล่านั้นอัดแน่นไปด้วยอนาคตแห่งการอำนวยการสร้างภาพยนตร์ พร้อมการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกแง่มุมของการสร้างภาพยนตร์ เขากลายเป็นผู้ชำนาญการด้านฉากขั้นสูงในอนาคตของวงการภาพยนตร์ (การทำงานร่วมกับผู้สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับการนับถือ เช่น ไมค์ นิโคลส์, นีล จอร์แดน, เค็น รัสเซล และ บรูซ เบียร์สฟอร์ด) ก่อนค่อยๆ ผันตัวเป็นผู้ควบคุมด้านการอำนวยการสร้าง ให้กับภาพยนตร์ของ ปีเตอร์ เวียร์ เรื่อง “The Truman Show,” ภาพยนตร์คอมเมดี้ ผลงานของ เดวิด เมอร์คิน เรื่อง “Romy and Michele’s High School Reunion,” และภาพยนตร์ดราม่าเกี่ยวกับการคุมขัง ผลงานของ บรูซ เบียร์สฟอร์ด เรื่อง “Last Dance” ต่อมาสติวเออร์ได้เดินหน้าร่วมงานกันกับผู้สร้างภาพยนตร์ นีล ลาบิวต์ การจับคู่ผสานกำลังให้กับ Propaganda Films และอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “Your Friends and Neighbors” ภาพยนตร์โรแมนติกเสียดสีประชดประชันที่แสดงโดย เบ็น สติลเลอร์, อารอน แอคฮาร์ต และ เจสัน แพทริค พวกเขาร่วมงานกันอีกครั้งในภาพยนตร์คอมเมดี้ที่ไม่ปกติและได้รับคำชมเชยจากเหล่านักวิจารณ์เรื่อง “Nurse Betty” ร่วมกับ เรเน่ เซลวีเกอร์, มอร์แกน ฟรีแมน และ คริส ร็อค ซึ่งถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Palme d’Or อันทรงเกียรติที่งาน Cannes Film Festival ในปี 2000 สติวเออร์กลับมาร่วมงานอีกครั้งกับลาบิวต์ในภาพยนตร์เรื่อง “The Shape of Things” เกี่ยวกับเรื่องโรแมนติกแบบแปลกๆ แสดงโดย พอล รัดด์ และ ราเชล ไวสซ์ สติวเออร์ยังได้ฝากความสามารถของเขาไว้กับโลกของงานโฆษณา โดยเขาอำนวยการสร้างบริหารภาพยนตร์โฆษณาสั้นชุดที่สองทางอินเตอร์เนตอันเป็นที่จดจำให้กับ BMW ตามมาด้วยภาพยนตร์ไตรภาคที่มีชื่อว่า “Hire: The Hostage” แสดงโดย คลีฟ โอเวน ในโฆษณาที่กำกับโดย จอห์น วู, โจ คาร์นาฮาน และ โทนี่ สก็อต ต่อจากนั้นสติวเออร์ยังได้อำนวยการสร้างโฆษณาส่งเสริมการตลาดไปทั่วโลกที่มากกว่า 40 ชิ้นกับบริษัทอำนวยการสร้างที่มีชื่อเสียงต่างๆ อย่าง RSA, Propaganda และ Anonymous Content รวมถึงบริษัทอื่นๆ ดัสลาส กรีแชม (ผู้อำนวยการสร้างบริหาร) ทำหน้าที่ร่วมอำนวยการสร้างในภาพยนตร์ตอน “ราชสีห์, แม่มดกับตู้พิศวง” และ “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” กรีแชมเกิดเมื่อปี 1946 เป็นลูกชายคนที่สองของนักแต่งนวนิยาย วิลเลียม ลินเซย์ กรีแชม (1909-1962) และกวี/ผู้แต่งนิยาย เฮเลน จอย เดวิดแมน (1915-1960) หลังการตีพิมพ์นวนิยายของวิลเลียมเรื่อง “Nightmare Alley” ในปี 1946 ครอบครัวได้ย้ายไปที่ออสซิงนิ่ง, นิวยอร์คและจากนั้นย้ายไปที่สแตทเบิร์ก หลังจากนั้นไม่นานก็มีปัญหาเกี่ยวกับการแต่งงานเกิดขึ้น และในปี 1952 แม่ของดักลาส กรีแชมได้ใช้เวลาหลายเดือนที่อังกฤษ เพื่อเขียนหนังสือของเธอที่มีชื่อว่า “Smoke on the Mountain” (1953) ให้เสร็จ ขณะนั้นเธอก็เป็นเพื่อนกับ ซี.เอส.ลูอิส และใช้เวลาช่วงคริสมาสต์กับพี่น้องลูอิสที่ออกซ์ฟอร์ด หลังจากแยกทางกับวิลเลียม กรีแชมแล้ว แม่ของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่ลอนดอนในปี 1953 พร้อมกับลูกชายของเธอ ตามมาด้วยการหย่าร้างของพ่อแม่ในปี 1954 กรีแชมน้อยได้เข้าโรงเรียนในเซอร์รีย์ ปีถัดมาครอบครัวได้ย้ายไปที่เฮดิงตัน, ออกซ์ฟอร์ด ในปี 1956 แม่ของเขาและลูอิสได้แต่งงานกันในพิธีธรรมดาในแบบของชาวคริสต์ หลังจากพบอาการป่วยโรคมะเร็งขั้นสุดท้ายของเธอ หลังที่แม่ของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในปี 1960 ดักลาสได้อาศัยอยู่กับลูอิสต่อไปที่บ้านของพวกเขาใน Headington Quarry จนกระทั่งลูอิสเสียชีวิตลงในปี 1963 (ซึ่งเป็นปีหลังจากที่พ่อแท้ๆ ของดักลาสเสียชีวิตลง) เป็นเวลา 2-3 ปีถัดมา เกรชแฮมศึกษาเกี่ยวกับเกษตรศาสตร์ และทำงานที่ฟาร์ม ระหว่างช่วงเวลานี้เขาได้พบและตกหลุมรักกับเมเรดิธ (“เมอร์รี่”) โคนัน-เดวี่ส์ พร้อมด้วยการแต่งงานของทั้งคู่ในปี 1967 หลังการแต่งงานเพียงไม่นาน เขาและภรรยาได้ล่องเรือไปที่ออสเตรเลีย ระหว่างช่วงเวลาหลายปีอันมีค่าที่พวกเขาอยู่ในออสเตรเลีย เขาได้เป็นเจ้าของฟาร์ม, ผู้กระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์, เจ้าของภัตตาคาร ท่ามกลางงานอื่นๆ อีกมากมาย ลูกๆ พวกเขาเกิดที่ออสเตรเลีย—เจมส์เกิดเมื่อปี 1968, ทิโมธี่เกิดเมื่อปี 1969, โดมินิคเกิดเมื่อปี 1971 และลูซินดาเกิดเมื่อปี 1976 ในปี 1990, เขานำเมโลดี้จากเกาหลีมาเลี้ยงซึ่งตอนนั้นมีอายุ 5 ขวบ ตอนนี้พวกเขามี grandchildren 10 คน ตั้งแต่ปี 1973, กรีแชมได้ทำงานร่วมกับทุกๆ ด้านเกี่ยวกับกองมรดกของ ซี.เอส.ลูอิส ทั้งหมด และในปี 1993, ครอบครัวได้ย้ายไปที่ไอร์แลนด์ ซึ่งเขาสามารถบริหารมรดกได้จริงจังมากขึ้น กรีแชมและภรรยาของเขา (ทั้งคู่เป็นชาวคริสต์ผู้เคร่งศาสนาที่ย้ายไปมัลต้าเมื่อเร็วๆ นี้) ก่อนหน้านี้ได้สร้างบ้านขึ้นที่เคาน์ตี้ คาร์โลว ไอร์แลนด์, ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของชุมชนที่ไม่ได้เป็นนิกายใดๆ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำของกระทรวงและเป็นเจ้าภาพในการประชุมสัมนา ในปี 1988 เกรชแฮมได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติของเขาที่มีชื่อว่า “Lenten Lands” (HarperCollins) หนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “Jack’s Life: The Life Story of C.S. Lewis” ถูกตีพิมพ์โดย Broadman และ Holman ในเดือนตุลาคม 2005 ตอนนี้เกรชแฮมทำงานฟูลไทม์ให้กับบริษัทของ ซี.เอส.ลูอิส และสละเวลาว่างของเขาเพื่องานของคริสตศาสนิกชนต่างๆ เพอร์รี่ มัวร์ (ผู้อำนวยการสร้างบริหาร) เป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารมาเป็นเวลานานให้กับ Walden Media ที่เป็นสื่อในการนำภาพยนตร์แฟรนไชส์เรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย” มาสู่บริษัท (ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นการทำหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างบริหารในภาพยนตร์เป็นครั้งแรกของเขา) มัวร์มาจาก เวอร์จิเนีย บีช, เวอร์จิเนีย เขาศึกษาด้านภาษาอังกฤษเป็นหลักที่ University of Virginia ซึ่งเขาเป็น Echols Scholar และต่อมาทำหน้าที่เป็นเด็กฝึกงานที่ทำเนียบขาว ก่อนที่เริ่มเส้นทางอาชีพในวงการบันเทิงด้วยความสามารถและการพัฒนาที่เครือข่ายดนตรีระดับแถวหน้าของบริษัท Viacom ทางช่อง MTV และ VH1 หลังจากประสบการณ์นั้นเขาได้เป็นหนึ่งในผู้อำนวยการสร้างตอนต้นฉบับ ที่มีการก้าวกระโดดขึ้นอย่างรวดเร็วใน “Rosie O’Donnell Show” หนึ่งในรายการทางทีวีช่วงกลางวันที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดระหว่างช่วงที่ยังมีการฉาย มัวร์ค่อยๆ เข้าสู่โลกแห่งภาพยนตร์โดยการเป็นผู้บริหารการพัฒนาให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์ที่ล่วงลับไปแล้ว เท็ด เด็มเม่ (“Blow”) และผู้อำนวยการสร้าง โจเอล สติลแมน (ผู้ร่วมเขียนในภาพยนตร์เรื่อง “Shrek” และ “Shrek* 2”) ก่อนมาร่วมกับ Walden Media ที่เขาพัฒนาและควบคุมโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “I Am David” ภาพยนตร์จอยักษ์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ได้รับการชมเชยของ แอน ฮอล์ม เรื่อง “North to Freedoms” ระหว่างช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งร่วมกับวัลเดน มัวร์ประสบความสำเร็จและมีการพัฒนาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์อย่างเรื่อง “The Giver,” “Bridge to Terabithia” และ “Manhunt” เมื่อไม่นานมานี้เขาทำการเขียนบทภาพยนตร์-ทำการกำกับเป็นครั้งแรก (ร่วมกับผู้ร่วมเขียน/ผู้กำกับ ฮันเตอร์ ฮิล) ในภาพยนตร์อินดี้แนวดราม่าเรื่อง “Lake City” แสดงโดย ซิสซี่ สเปเส็ก, รีเบ็คก้า โรมิน, เดฟ แมทธิวส์, คีธ คาร์เรดีน, เดรีย เดอ แม็ตติโอ และ ทรอย แกริตี้ ถัดจากนั้นสำหรับผลงานทางด้านภาพยนตร์ของเขา มัวร์ได้เขียนนวนิยายที่ได้รับการชมเชยที่มีชื่อว่า “Hero” ตีพิมพ์โดย Hyperion ในปี 2007 โดยครั้งแรกได้ทำสัญญาการออกหนังสือหลายเล่มกับเจ้าของสำนักพิมพ์ นอกจากนั้นมัวร์ยังเขียนหนังสือที่เป็นทางการเรื่อง “making-of’ book” สำหรับ HarperCollins ที่มีชื่อว่า “‘The Chronicles of Narnia - The Lion, the Witch, and the Wardrobe’ Official Illustrated Movie Companion,” ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีของ “New York Times” ในโอกาสที่วางจำหน่ายในปี 2005 ดันเต้ สปีนอตตี้, ASC, AIC (ผู้กำกับภาพ) ร่วมงานกับผู้กำกับ ไมเคิล แอ็ปเท็ด ในภาพยนตร์เรื่องที่สามของพวกเขา หลังจากการร่วมงานกันเมื่อปี 1993 ในภาพยนตร์ระทึกขวัญที่มีชื่อว่า “Blink” และภาพยนตร์ดราม่าในปี 1994 ที่มีชื่อว่า “Nell” ตากล้องได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1997 ในภาพยนตร์ดราม่าร่วมสมัย ผลงานของ เคอร์ทิส แฮนสัน เรื่อง “L.A. Confidential” (พร้อมการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจาก American Society of Cinematographers, และรางวัล BAFTA) ตามมาด้วยการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar เป็นครั้งที่สอง (และเป็นที่ยอมรับสำหรับรางวัล BAFTA เป็นครั้งที่สาม) 2 ปีถัดมา ในภาพยนตร์ดราม่าชีวิตจริงที่ได้รับการชมเชย ผลงานของ ไมเคิล แมนน์ เรื่อง “The Insider” สปีนอตตี้ได้ร่วมกับแมนน์ในโปรเจ็กต์ภาพยนตร์อื่นๆ ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Manhunter,” “The Last of the Mohicans” (ที่ตากล้องคว้ารางวัล BAFTA Award และได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจาก ASC เป็นครั้งแรก), “Heat” และเมื่อมานานมานี้ในภาพยนตร์มหากาพย์เกี่ยวกับยุคอันน่าสลดของเหล่าอันธพาล เรื่อง “Public Enemies” สปีนอตตี้กลับมาร่วมทีมกับ เคอร์ทิส แฮนสัน ในภาพยนตร์คอมเมดี้-ดราม่าของเขา ที่ได้รับการชมเชยในปี 2000 เรื่อง “The Wonder Boys” และยังได้กำกับภาพให้กับภาพยนตร์เรื่อง “Flash of Genius,” “Beaches,” “Frankie and Johnny,” “The Other Sister,” “Deception,” “Slipstream,” “The Contract,” “Crimes of the Heart,” “Pinocchio” (ที่เขาได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล David di Donatello เป็นครั้งที่สาม), “Bandits,” “Goodbye Lover,” “The Mirror Has Two Faces,” “The Quick and the Dead,” และภาพยนตร์ของผู้กำกับ เบร็ตต์ แรตเนอร์ อีก 4 เรื่อง-- “X-Men: The Last Stand,” “After the Sunset,” “Red Dragon” และ “Family Man” ผลงานอื่นที่มีชื่อเสียง ยังรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Hudson Hawk,” “True Colors,” “From the Hip,” “Illegally Yours,” “The Comfort of Strangers,” “Torrents of Spring” และภาพยนตร์อีก 2 เรื่องที่เขาคว้ารางวัล _David di Donatello Award --”La Leggenda del Santo Bevitore” (1988) และเรื่อง “Il Segreto del Bosco Vecchio” (1993). ภาพยนตร์ภาษาอิตาลีของสปีนอตตี้เรื่องอื่นๆ ยังรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Cenerentola ‘80,” “Il Minestrone,” “Le Armi e Gli Amori,” “Sogno di Una Notte d’Estate,” “Cosi Parlo Bellavista,” “Fotografando Patrizia,” “Aria,” “Il Quartetto Basileus” และ “Interno Berlinese” เขาเกิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี (ภูมิภาคที่มีชื่อว่าฟรูลี่) สปีนอตตี้พบความสนใจของเขาในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น เขาเดินทางไปยังมิลาน ซึ่งเขาได้รับประสบการณ์อย่างมืออาชีพทางด้านภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ที่อิตาลี รวมไปถึงภาพยนตร์มินิซีรี่ย์ทางทีวีในปี1972 เรื่อง “I Nicotera” และในปี 1975 เรื่อง “Tracce Sulla Neve.” การแยกตัวมาสู่ภาพยนตร์ สปีนอตตี้ได้ทำงานอย่างกว้างขวางที่บ้านเกิดของเขา รวมไปถึงการร่วมงานกับ ลีน่า เวิร์ตมุลเลอร์ (ภาพยนตร์ในปี 1984 เรื่อง “Sotto...Sotto...Strapazatto da Anomola Passione”) และ ลิเลียน่า คาวานี่ (ภาพยนตร์เรื่อง “Interno Berlinese,” ในปี 1985) ก่อนเข้ามาสู่อเมริกาเพื่อทำงานร่วมกับแมนน์ ในภาพยนตร์เรื่อง “Manhunter” นอกจากนั้นสำหรับชื่อเสียงต่างๆ ทางด้านภาพยนตร์ของเขา สปีนอตตี้คว้ารางวัล Camera Image Award ในปี 2009 ที่งาน XVII International Film Festival of the Art of Cinematography ในลอดซ์, โปแลนด์, โดยการฉลองผลงานของเขารักษาประเพรณีประจำปีของพวกเขา งานฉลองได้ออกหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในอาชีพการงานของเขา แบร์รี่ โรบิสัน (ผู้ออกแบบฉาก) กลับมาร่วมทีมกับผู้อำนวยการสร้าง มาร์ค จอห์นสัน หลังจากที่มีการร่วมงานกันก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง — ภาพยนตร์ในปี 2002 เกี่ยวกับประวัติของกีฬาเบสบอลเรื่อง “The Rookie,” และภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ในปี 1997 เรื่อง “Home Fries” เขาเป็นชาวแคลิฟอร์เนียมาแต่กำเนิด โรบิสันสำเร็จการศึกษาจาก University of California ที่ลอส แองเจลลิสพร้อมปริญญาทางด้าน Theater Arts and Design เขาเริ่มเส้นทางอาชีพในมินนาอาโพลิสที่โรงละคร Guthrie Theater อันโด่งดัง และที่โรงละคร Children’s Theater of Minneapolis โรบิสันย้ายไปที่ชิคาโก ซึ่งเขาได้ทำงานในโรงละครที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเหมือนสถานที่ชุมนุมกันอย่าง St. Nicholas และ Goodman Theatre เมื่อย้ายไปสู่เมืองนิวยอร์ค เขายังคงออกแบบให้กับโรงละครและโรงละครโอเปร่า ท้ายที่สุดเขาก็ปักหลักอยู่ในโลกของละครโอเปร่า (“Another World,” “All My Children,” “One Life to Live”) โรบิสันย้ายมาสู่วงการฮอลลีวูดเพื่อก้าวเข้าสู่โลกภาพยนตร์อย่างช้าๆ และเขาเพลิดเพลินไปเรื่อยๆ กับร่วมงานกับผู้กำกับทั้งหลาย เช่น โจ จอห์นสตัน (“October Sky,” “Hidalgo”), ดีน พาริสอต (“Home Fries,” “Fun with Dick and Jane”), บิล คอนดอน (“Candyman: Farewell to the Flesh” และภาพยนตร์ที่ฉายทางทีวีช่อง ABC เรื่อง “Deadly Relations” และ “The Man Who Wouldn’t Die,”) และ เกวิน ฮูด (“Rendition,” “X-Men Origins: Wolverine”) เขายังออกแบบให้กับภาพยนตร์เรื่อง “Nim’s Island,” “You, Me and Dupree,” “Wedding Crashers,” “Bubble Boy,” and “Mi Familia” หลังจากโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่ออสเตรเลีย 2 เรื่องติดต่อกัน (“Nim’s Island” และ “X-Men Origins: Wolverine”), โรบิสันได้รับสัญชาติชาวออสเตรเลียในปี 2009 ริค เชน, A.C.E. (ผู้ลำดับภาพ) ได้ร่วมงานกับผู้กำกับ ไมเคิล แอ็ปเท็ด มาอย่างต่อเนื่อง เขาได้ทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ภาพยนตร์เจ็ดเรื่องก่อนหน้านี้ รวมไปถึงภาพยนตร์ระทึกขวัญในปี 1993 เรื่อง “Blink,” ภาพยนตร์ระทึกขวัญเกี่ยวกับด้านการแพทย์ในปี 1996 เรื่อง “Extreme Measures,” ภาพยนตร์ระทึกขวัญในปี 2001 เรื่อง “Enigma,” ภาพยนตร์ซีรี่ย์ 3 ตอนที่ฉายทาง HBO และคว้ารางวัล Emmy มาแล้วเรื่อง “Rome,” ภาพยนตร์ดราม่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในปี 2006 เรื่อง “Amazing Grace,” ภาพยนตร์ระทึกขวัญในปี 2002 เรื่อง “Enough” และภาพยนตร์ทางทีวีในปี 1998 เรื่อง “Always Outnumbered” ชื่อเสียงของเชนยังรวมถึงในผลงานภาพยนตร์ของ หลุยส์ เลเทอร์รีเออร์ เรื่อง “The Incredible Hulk,” ภาพยนตร์ผลงานของ โรเบิร์ต อัลเลน แอคเคอร์แมน เรื่อง “The Ramen Girl” and “Safe Passage,” ภาพยนตร์ผลงานของ อาร์เธอร์ เพ็นน์ เรื่อง “Dead of Winter,” ภาพยนตร์ผลงานของ โจแอน มิคกลิน ซิลเวอร์ เรื่อง “Crossing Delancy,” ภาพยนตร์ผลงานของ เดมอน เวแยนส์ เรื่อง “Behind the Smile,” ภาพยนตร์ผลงานของ เดวิด ทูฮี่ เรื่อง “The Chronicles of Riddick,” บวกกับเรื่อง “Dutch,” “Loverboy,” “The Goodbye People,” “The Gig,” “Eyes of A Stranger” และภาพยนตร์สยองขวัญคลาสสิคของ เวส เครเวน ในปี 1984 เรื่อง “A Nightmare on Elm Street” เขาเกิดที่เมืองนิวยอร์ค ผู้มีฝีมืออย่างเขาศึกษาด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่ Middlebury College ในเวอร์มอนท์ และทำงานที่ Bellevue Hospital ก่อนเข้าศึกษาที่ Columbia University เพื่อเรียนด้านการสร้างภาพยนตร์ภายใต้การสอนของ แมนนี่ เคิร์ชไฮเมอร์ และ ลีโอ เฮอร์วิตซ์ เชนได้เริ่มเส้นทางอาชีพของเขาโดยการเป็นตากล้องก่อนจะพลิกผันสู่การลำดับภาพ ซึ่งเขาได้ขัดเกลาฝีมือของเขาไว้บนภาพยนตร์สารคดีหลายต่อหลายเรื่อง (เรื่องหนึ่งที่เขาเป็นผู้กำกับเองคือ “Quiet Voices,” แสดงที่โรงละคร Bleeker Street Theater ในเมืองนิวยอร์ค) จากนั้นเขาได้เป็นผู้ช่วยผู้ลำดับภาพให้กับภาพยนตร์อย่างเช่น “They Might Be Giants,” “Lenny,” “Night Moves,” “Missouri Breaks” และ “Gimme Shelter” ด้วยเทคนิคที่ชำนาญการของเขาภายใต้การแนะนำของผู้ลำดับภาพที่มีชื่อเสียงต่างๆ อย่าง ดีดี้ อัลเลน, เจอร์รี่ กรีนเบิร์ก และ อลัน เฮล์ม เชนได้รับการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล CableACE สำหรับผลงานของเขาในภาพยนตร์ของ โจแอน มิคลิน ซิลเวอร์ ที่ฉายทางช่อง HBO เรื่อง “A Private Matter,” และทำการลำดับภาพในโปรเจ็กต์ทางทีวีที่มีชื่อว่า “Blind Side,” “Radiant City,” “No Place Like Home,” “Race Against Time” และซีรี่ย์ที่มีชื่อว่า “The Equalizer” อิสซิส มุสเซนเดน (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) ได้คว้ารางวัล Costume Designers Guild อันทรงเกียรติและ Academy of Science Fiction, Fantasy and Horror Saturn Award รวมไปถึงการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล British Academy Award (BAFTA), ซึ่งทั้งหมดเป็นรางวัลสำหรับตู้พิศวงที่เธอออกแบบเอาไว้ใน “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: ราชสีห์, แม่มดและตู้พิศวง” และในความรับผิดชอบเดียวกันของเธอในภาพยนตร์เรื่อง “อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย: เจ้าชายแคสเปี้ยน” เป็นการทำงานร่วมกันอีกครั้งกับผู้สร้างภาพยนตร์ แอนดรูว์ อดัมสัน ที่เธอเคยออกแบบตู้เสื้อผ้าให้ในเรื่อง “Shrek” และ “Shrek 2” ในการเปิดขยายอาชีพเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษของเธอ ชาวแคลิฟอร์เนียอย่างเธอได้ออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับโปรเจ็กต์ภาพยนตร์มาแล้วอย่างหลากหลาย รวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Jay and Silent Bob Strike Back,” “Thirteen Days,” “Life of the Party,” “American Psycho,” “The Astronaut’s Wife,” “Some Girl,” “Dante’s Peak,” “Daylight,” “Albino Alligator,” “White Man’s Burden,” “Ghost in the Machine,” “Shocker,” “Bodies, Rest & Motion,” “Matinee,” “The Waterdance,” “Dirty Dancing: Havana Nights,” “Breakin’ All the Rules” และ “10 Items or Less.” เมื่อไม่นานมานี้เธอออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับ แซม ไรมี่ ในภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง “Drag Me to Hell,” ภาพยนตร์คอมเมดี้ที่ฉายตอนแรกทาง NBC/Universal เรื่อง “Andy Barker, P.I.,” อำนวยการสร้างบริหารโดย โคนัน O’Brien และภาพยนตร์แอนิเมชั่นของ คริส มิลเลอร์ (“Shrek the Third”), “Puss ‘n’ Boots” มุสเซนเดนได้สร้างผลงานอันโดดเด่นของเธอเป็นครั้งแรกในปี 1986 ในภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง “The Allnighter” และในช่วงเริ่มแรกได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ออกแบบให้ภาพยนตร์เรื่อง “Crocodile Dundee” และ “Falling in Love,” และเป็นผู้ช่วยด้านเครื่องแต่งกาย ให้ภาพยนตร์ผลงานของ โรเบิร์ต เบ็นตัน ที่คว้ารางวัล Oscar เรื่อง “Places in the Heart” และภาพยนตร์ผลงานของ วูดดี้ อัลเลน เรื่อง “The Purple Rose of Cairo” เธอยังได้ร่วมงานในโปรเจ็กต์ทางทีวีที่มีการฉายมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงภาพยนตร์ที่ฉายทาง HBO เรื่อง “A Private Matter,” ภาพยนตร์ที่ฉายทาง Lifetime เรื่อง “Storm and Sorrow,” ภาพยนตร์ที่ฉายทาง CBS-TV เรื่อง “Taken Away” และภาพยนตร์ที่ฉายทาง Turner Pictures เรื่อง “Memphis” ที่ทำให้เธอถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล CableACE สำหรับการออกแบบของเธอ เธอยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยด้านเครื่องแต่งกายให้กับมินิซีรี่ย์เรื่อง “Kennedy” นำแสดงโดย มาร์ติน ชีน มุสเซนเดนศึกษาที่ University of California ในซานต้า บาร์บาร่า วิชาเอกด้านศิลปะและศึกษาจาก Parson School of Design อันทรงเกียรติแห่งนิวยอร์ค เธอได้รับปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์ในด้านการออกแบบแฟชั่น เธอเริ่มเส้นทางอาชีพของเธอที่งาน New York Shakespeare Festival อันมีชื่อเสียงของโจเซฟ แพป และสร้างความเฉียบขาดในโลกแห่งโรงละครบนงานแสดงอันมากมาย รวมไปถึงเรื่อง “Been Taken,” “The Crate,” “At Home,” and “Bodies, Rest & Motion” มุสเซนเดนได้ออกแบบตู้เสื้อผ้าให้กับ “Marathons” ในเทศกาลละครเดี่ยว (โดยมีผู้เขียนบทอย่าง เฮดเด็น, เดวิด มาเม็ท และ เชล ซิลเวอร์สไตน์) ที่โรงละคร Ensemble Studio Theater แห่งนิวยอร์ค อังกัส บิคเคอร์ตัน (ผู้ควบคุมด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์) เริ่มเส้นทางอาชีพของเขาในปี 1980 โดยทำงานด้านการควบคุมการเคลื่อนไหว ให้กับภาพยนตร์ซีรี่ย์ทางทีวีที่คว้ารางวัลมาแล้วอย่างเรื่อง “Red Dwarf” ซึ่งทำให้เขาคว้ารางวัล RTS Television award ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของเขารวมไปถึงผลงานของ ทิม เบอร์ตัน ในเรื่อง “Batman” (1989), ภาพยนตร์ของ มาร์ติน สกอร์เซซี่ ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar เรื่อง “Cape Fear” (1991) และภาพยนตร์ของ นีล จอร์แดน เรื่อง “Interview with a Vampire” (1994) บิคเคอร์ตันเดินหน้าควบคุมด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ให้กับภาพยนตร์ผลงานของ โรเบอร์โต เบอเนนี่ เรื่อง “The Adventures of Pinocchio” (1996) และภาพยนตร์ซีรี่ย์ทางทีวียอดนิยมในรูปแบบภาพยนตร์จอยักษ์ เรื่อง “Lost in Space” (1998) ที่ทำให้เขาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Saturn Award บิคเคอร์ตันทำหน้าที่ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในภาพยนตร์ซีรี่ย์ที่ได้รับการชมเชยที่ฉายทาง HBO เรื่อง “Band of Brothers” (2001), อำนวยการสร้างบริหารโดย ทอม แฮงค์ส และ สตีเว่น สปีลเบิร์ก คว้ารางวัล RTS Television award สำหรับชาวอังกฤษอีกครั้ง และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmy ต่อจากความสำเร็จในครั้งนั้นด้วยภาพยนตร์โปรเจ็กต์อีก 3 เรื่องของทางช่อง HBO -- “A Gathering Storm” (2002), “My House in Umbria” (2003), และภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่คว้ารางวัล Emmy เรื่อง “The Life and Death of Peter Sellers” (2004) ในการหวนคืนสู่จอยักษ์ บิคเคอร์ตันได้สร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ให้กับภาพยนตร์เรื่อง “Wimbledon” (2004), “Firewall” (2006), “The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy” (2005), “The Da Vinci Code” และ “Angels and Demons” เดวิด อาร์โนล์ด (ผู้ประพันธ์ดนตรี) กลับมาร่วมงานกับผู้กำกับ ไมเคิล แอ็ปเท็ด อีกครั้งในการร่วมงานกันเป็นครั้งที่สี่ของพวกเขา หลังจากผลงานประพันธ์ดนตรีของเขาให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์ในเรื่อง “The World Is Not Enough,” “Enough,” และ “Amazing Grace” ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาของนักดนตรีที่เกิดที่อังกฤษ เขาได้ประพันธ์ดนตรีให้กับภาพยนตร์กว่า 50 เรื่องรวมไปถึงโปรเจ็กต์ทางทีวี ต่อมาด้วยผลงานของเขาโดยการร่วมงานกับแอ็ปเท็ด อาร์โนลด์เป็นผู้ร่วมงานประจำกับผู้กำกับ จอห์น ซิงเลตัน(“Shaft,” “Four Brothers,” “Baby Boy,” “2 Fast 2 Furious”) และโรแลนด์ เอ็มเมอริช (“Godzilla,” “Stargate, “Independence Day”) สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Independence Day” อาร์โนลด์คว้ารางวัล Grammy สาขาการประพันธ์โดยใช้เครื่องดนตรียอดเยี่ยม สำหรับภาพยนตร์หรือทางโทรทัศน์ เขายังกวาดรางวัล BMI Film & TV Award สำหรับการร่วมงานแต่ละเรื่องกับเอ็มเมอริช อาร์โนลด์เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในฐานะผู้ประพันธ์ดนตรีให้กับภาพยนตร์เรื่อง James Bond ทั้งห้าตอน รวมไปถึงภาพยนตร์ของแอ็ปเท็ดในปี 1999 เรื่อง “The World is Not Enough,” เช่นเดียวกับเรื่อง “Tomorrow Never Dies,” “Die Another Day,” “Casino Royale” (ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Grammy ในเพลง “You Know My Name”) และ “Quantum of Solace” ก่อนอาร์โนลด์ถูกขอให้ประพันธ์เพลงในโปรเจ็กต์ภาพยนตร์เรื่อง Bond เป็นครั้งแรก ผู้ประพันธ์ดนตรีต้นฉบับซีรี่ย์ที่เขาให้การยกย่องชื่นชมอย่าง จอห์น แบร์รี่ ได้สร้างอัลบั้มขึ้นมาในปี 1997 ที่มีชื่อว่า “Shaken and Stirred,” ซึ่งบรรจุไปด้วยเพลงคลาสสิคยอดนิยมของเจมส์ บอนด์มากมาย มีการปรับแต่งทำให้ทันสมัยขึ้นโดยอาร์โนล์ด ขับร้องโดยศิลปินซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างดีมากมาย ซึ่งรวมถึง Leftfield, Pulp, Chrissie Hynde, Propellerheads และ Iggy Pop หลังจากที่จอห์น แบร์รี่ได้ยินเทปบันทึก ได้แนะนำให้อาร์โนลด์รับหน้าที่ทำต่อในภาพยนตร์แฟรนไชส์ของปี 1997 ในตอน “Tomorrow Never Dies” อาร์โนลด์มาจากลูตัน, ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษาด้าน Centre of Arts in Hitchin, เฮิร์ทฟอร์ดเชอร์ ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับศิลปินที่ต้องการอย่างผู้กำกับภาพยนตร์ แดนนี่ แคนนอน ทั้งคู่สร้างภาพยนตร์ของพกเขาเป็นครั้งแรกในปี 1993 เรื่อง“The Young Americans” ตามมาด้วยในปีต่อมาที่อาร์โนลด์ได้ประพันธ์ดนตรีให้กับภาพยนตร์เรื่อง “Stargate” และ “Last of the Dogmen” อาร์โนลด์ยังได้ประพันธ์ดนตรีให้กับภาพยนตร์เรื่อง “The Stepford Wives,” “A Life Less Ordinary,” “Zoolander,” “Changing Lanes,” “Stoned,” “Hot Fuzz,” “Agent Crush” และในส่วนของภาพยนตร์โฆษณา “Don’t” ที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ของ ควินติน ตารานติโน่/โรเบิร์ต โรดริเกซ เรื่อง “Grindhouse” อาร์โนลด์เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประจำให้กับภาพยนตร์ซีรี่ย์คอมเมดี้ยอดนิยม ที่ฉายทางสถานีโทรทัศน์อังกฤษเรื่อง “Little Britain” และซีรี่ย์อีกเรื่องของอังกฤษที่ฉายทาง Channel 4 เรื่อง “Free Agents” บทเพลงของเขาจาก “Stargate” เป็นที่ได้ยินในการรวมตัวกันของทีวีซีรี่ย์เรื่อง “Stargate: SG1” อาร์โนลด์เตรียมแต่งบทเพลงใหม่ให้ภาพยนตร์ของ รอน เกรเนอร์ ที่มีชื่อว่า “Doctor Who” แนวดนตรีสำหรับซีรี่ย์ของดนตรีภาพยนตร์จาก Big Finish Productions ถัดจากนั้นสำหรับผลงานของเขาทางภาพยนตร์และทางทีวี อาร์โนลด์ได้ร่วมงานกับกลุ่มนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และศิลปินเดี่ยว รวมไปถึง Cast, The Cardigans, Kaiser Chiefs, Massive Attack, Pulp, Natasha Bedingfield, Melanie C, Bj?rk (“Play Dead”), Chris Cornell, Shirley Manson และ Mark Morriss เมื่อมานานมานี้อาร์โนลด์ได้รับรางวัล Academy Fellowship โดย BAFTA

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ