กรุงเทพฯ--26 พ.ย.--วสท.
การสัมมนาวิชาการเรื่อง“อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยในทศวรรษที่ 21: เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ”
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร วสท.
จัดโดย คณะกรรมการวิศวกรรมเหมืองแร่โลหะการ และปิโตรเลียม วสท.
ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก : เนื่องจากประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลักคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าหลายแสนล้านบาทต่อปี
แนวคิดที่เป็นหลักและหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กนี้ คือ การดำเนินการของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดและมีแนวทางของการชดเชยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ โดยนำแนวคิดของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน (Social Business Enterprise) มาผนวกกับการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โครงการวิสาหกิจชุมชนนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาและสนับสนุน การประกอบอาชีพเดิมของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ ตลอดจนแนวคิดการบริหารจัดการที่เหมาะสมทั้งด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industrial-Town)
แนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นแนวคิดที่จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน และอยู่ร่วมกันได้กับการพัฒนาเมืองและชุมชนเดิม การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ความสำคัญและริเริ่มเผยแพร่แนวทางดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุล
วัตถุประสงค์
1. เผยแพร่ผลการศึกษาของโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น
2. เผยแพร่รูปแบบการพัฒนาแนวใหม่และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
3. เผยแพร่รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างเกื้อกูล
4. กระจายความรู้ให้ทุกภาคส่วนได้รับข้อมูล
5. รวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อผลการศึกษาของโครงการจากทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมการสัมมนา
กลุ่มเป้าหมาย/หน่วยงานของผู้เข้าสัมมนา
1. กระทรวงอุตสาหกรรม
2. ภาควิชาการ นักพัฒนาโครงการ วิศวกร
3. หน่วยราชการและภาครัฐระดับนโยบาย : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) / สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สผ.) / การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) / สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)./ กรมโยธาฯ/ กรมการปกครองฯ - กระทรวงมหาดไทย/ กรมชลประทาน / การเคหะแห่งชาติ)
4. ภาคอุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง/ สภาอุตสาหกรรม
5. ผู้สนใจทั่วไปและสื่อมวลชน
กำหนดการสัมมนา
เวลา ผู้บรรยาย
08.30— 09.00 ลงทะเบียน
09.00— 09.10 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการสัมมนา พิธีกร: คุณศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช
09.10 — 09.30 เปิดงานการสัมมนา: ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ความจำเป็นและที่มาของการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทย/ กรอบแนวคิดในการดำเนินงานศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กแบบยั่งยืนที่สามารถอยู่ร่วมกันได้กับสังคมและชุมชน (อ. วิกรม วัชระคุปต์)
Session 1 แนวทางและข้อเสนอรูปแบบของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยในทศวรรษที่ 21
09.30— 11.30 รูปแบบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ/ การประเมินผลสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็ก/ องค์ประกอบการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอย่างยั่งยืน/ การวิเคราะห์และประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ ดร. ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ และผู้ชำนาญการ
11.30 — 12.00 Q & A ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กฯและผู้ชำนาญการ
12.00 — 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
Session 2 Panel Discussion ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์
13.00-14.30 การบริหารจัดการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นทางออกในอนาคต?....? ดร. มารยาท สมุทรสาคร
คุณ ธงชัย อินทรางกูร ณ อยุธยา
ดร. ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์