กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--โกลบ์เบิล ครีเอชั่น
ภาคอุตฯขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีอุตฯ ต.ค.พุ่ง 6.24% การผลิตรถยนต์-รถจักรยานยนต์-ชิ้นส่วนอิเล็กฯ-แอร์-เม็ดพลาสติก-ผงซักผ้า ยอดผลิตและจำหน่ายยังขยายตัวได้ดี
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต 64.11% อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของ MPI เดือน ต.ค.เมื่อเทียบกับเดีอนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ การผลิตรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ (แอร์) เม็ดพลาสติก ผงซักผ้า เป็นต้น ขณะที่ การผลิต Hard disk drive ปรับฐานเล็กน้อย
การผลิตรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้น 21.4% และ 22.3%ตามลำดับ ขณะที่ การผลิตรถจักรยานยนต์ มีทิศทางการขยายตัวที่สอดคล้องกัน โดยยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 13.4%และ 11.0% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของโลกและของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับตลาดภายในประเทศได้รับผลดีจากค่ายรถยนต์ต่างมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาเสนอเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวได้ดีจึงส่งผลให้เกษตรกรมีกำลังซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น
การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 9.8%และ6.8% ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของตลาดโลก โดย Semiconductor Industry Association : SIA ได้รายงานสถานการณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3/2553 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.2%ยอดขายยังคงเติบโตทั่วโลก และระดับสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่สมดุลกับความต้องการบริโภคสินค้า สินค้าที่มียอดขายสูงสุดได้แก่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค โทรทัศน์จอแบบ และโทรศัพท์มือถือ โดยคาดว่าในปี 2553 อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสขยายตัวได้สูงถึง 28.4%
การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 39.6%และ30.0% ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งเอื้อต่อการขยายตัว คือ การยกเว้นภาษีสรรพสามิตแอร์เป็น 0% จากเดิม 15% อย่างไรก็ตามในไตรมาสสุดท้าย หากต้องเผชิญกับปัจจัยเรื่องเงินบาทแข็งค่าขึ้นและราคาวัตถุดิบที่มีการปรับตัวสูง อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
รายย่อย เนื่องจากไม่ได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงินเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าภาครัฐควรต้องเร่งหามารตการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นการผลิตเม็ดพลาสติก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 23.2%และ17.7% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จึงมีความต้องการใช้เม็ดพลาสติกเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ รวมทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการเพื่อรองรับความต้องการที่มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การผลิตสบู่และผงซักฟอก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 34.5%และ31.2% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น ผู้ผลิตได้มีปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายใต้แนวคิดสะอาดคุ้มค่า อีกทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคพร้อมจับจ่ายสินค้าในกลุ่มนี้ยิ่งขึ้น จึงส่งผลต่ออัตราการขยายตัวดังกล่าว
นางสุทธินีย์ สรุปภาพรวมภาพรวม MPI เดือนตุลาคม 2553 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 191.57 เพิ่มขึ้น 6.24% จากระดับ 180.32 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 194.08 เพิ่มขึ้น 5.32% จากระดับ 184.27 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 190.53 เพิ่มขึ้น 11.46% จากระดับ 170.94 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 121.83 เพิ่มขึ้น 4.94% จากระดับ 116.09 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.34 เพิ่มขึ้น 2.91% จากระดับ 133.46 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.11%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index 2552 2553
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
ดัชนีผลผลิต 180.19 180.37 194.66 179.62 183.31 211.73 179.34 184.94 194.39 190.22 184.14 201.45 191.57
อุตสาหกรรม
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % -3.3 0.03 8.0 -7.9 2.0 15.6 -15.6 2.8 5.07 -2.05 -3.14 9.65 -4.91
อัตราการ -0.5 7.5 30.7 29.1 31.1 32.6 23.0 15.9 14.34 13.16 8.67 8.13 6.24
เปลี่ยนแปลง (YOY) %
อัตราการใช้ 61.0 60.3 61.8 60.4 60.6 67.9 57.9 64.0 65.66 62.40 64.03 64.36 64.11
กำลังการผลิต %
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม