กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--ปภ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ร่วมกับจังหวัดสตูล และสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 7 รุ่น ในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการป้องกัน เตือนภัย บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสมเกียรติ อินทรคำ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจาก การกระทำของมนุษย์ สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล จึงได้ร่วมกับจังหวัดสตูล และสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้แก่ประชาชนตามชุมชนพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดสตูล จำนวน 7 รุ่นๆ ละ 50 คน ระหว่างวันที่ 22 ส.ค. — 6 ต.ค. 2550 โดยมีรายละเอียดดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 22-24 ส.ค. 2550 ชุมชนบ้านทุ่งนางแก้ว หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู บริเวณอาคารอเนกประสงค์บ้านทุ่งนางแก้ว รุ่นที่ 2 วันที่ 28-30 ส.ค. 2550 ชุมชนบ้านโตน หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง บริเวณอาคารอเนกประสงค์บ่อน้ำร้อนบ้านโตน รุ่นที่ 3 วันที่ 4-6 ก.ย. 2550 ชุมชนบ้าน หัวสะพานเหล็ก หมู่ที่ 6 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน บริเวณโรงเรียน สัจธรรมอิสลาม หมู่ที่ 6 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน รุ่นที่ 4 วันที่ 10-12 ก.ย. 2550 ชุมชนผัง 50,47 หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมพัฒนา กิ่งอำเภอมะนัง บริเวณศาลาอเนกประสงค์ผัง50 รุ่นที่ 5 วันที่ 17-19 ก.ย. 2550 ชุมชนบ้านปูยู หมู่ที่ 3 ตำบลปูยู อำเภอเมือง บริเวณสถานีอนามัยบ้านปูยู รุ่นที่ 6 วันที่ 1-3 ต.ค. 2550 ชุมชนบ้านตันหยงลาไน้ หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู ชุมชนบ้านบุโบย หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู ชุมชนบ้านสุไหงบุโส๊ะ หมู่ที่ 5 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู บริเวณอาคารอเนกประสงค์บ้านตันหยงลาไน้ และรุ่นที่ 7 วันที่ 4-6 ต.ค. 2550 ชุมชนบ้านทุ่งมะหงัง หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านทุ่งสะโบ๊ะ หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านทุ่งทะนาน หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า บริเวณสถานีอนามัยหมู่ที่ 5 เพื่อให้ชุมชนและหมู่บ้านเสี่ยงภัยมีความเข้มแข็งสามารถจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคนในชุมชนร่วมเป็นเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการบริหารจัดการสาธารณภัยให้กับท้องถิ่นของตนเอง ในอนาคตต่อไป