ส่องโลกไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย แกะรอยความท้าทายและโอกาสในปี 2553 และวิเคราะห์ทิศทางตลาดไอทีปี 2554

ข่าวเทคโนโลยี Monday December 13, 2010 09:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ โดย ดร. เบง เทค เลียง กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส บริษัท ฮิวเลตต์ — แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด ความท้าทายและโอกาสของไอทีในปี 2553 ความท้าทายและโอกาสของไอทีในปี 2553 มีดังต่อไปนี้ การใช้เทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลแบบผนวก ในปี 2553 เป็นปีที่องค์กรหลายแห่งเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการอัดแน่นของเทคโนโลยี ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลระบบไอทีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงหันมาแก้ไขปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของไอที ด้วยการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวก (converged infrastructure solutions) ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2555 ตลอดปีที่ผ่านมา เอชพีเดินหน้าส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกอย่างครบวงจร ซึ่งรวมระบบคอมพิวติ้ง อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ลูกค้าสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมเพี่อสนับสนุนการทำธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางการดำเนินการดังกล่าวของเอชพีจะช่วยธุรกิจต่างๆ เร่งพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถคาดการณ์ และทำซ้ำได้ ส่งผลให้มีการนำทรัพยากรไอที สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และพนักงานมาใช้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยองค์กรต่างๆ สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งยังใช้ทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวตามต้องการในแนวทางที่คุ้มค่าสูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน ระบบ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความคุ้มค่าจากการลงทุนด้านไอทีได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การมุ่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ล้ำสมัย ในปี 2553 นี้ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านไอทีหรือซีไอโอหลายรายได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงระบบไอทีที่ไร้ประสิทธิภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายและนำงบประมาณไปสร้างสรรค์ระบบการทำงานใหม่ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่เน้น การให้บริการตนเองมากขึ้น ดังนั้น แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทต่างๆ จึงต้องรองรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถก้าวไปในระดับเดียวกัน หรือล้ำหน้าคู่แข่ง เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทมีความต่อเนื่อง ราบรื่น ไม่สะดุด อย่างไรก็ตาม องค์กรหลายแห่งมีการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ซ้ำซ้อน ไม่คล่องตัว ทั้งยังต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษามาก ขณะที่การอัพเดทระบบให้ทันสมัยก็มีค่าใช้จ่ายสูง องค์กรเหล่านั้นจึงได้ปรับปรุงและยกระดับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบเดิมลดลง ทั้งยังมีงบประมาณเหลือนำไปลงทุนสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัยเพิ่มขึ้น การวางระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซีไอโอในองค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต่างเผชิญกับความกดดันในการมอบบริการที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้บริโภค หนึ่งในโซลูชั่นที่ได้รับความนิยมขององค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ คือ ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่ส่งเสริมการทำคอลลาบอเรชั่น พร้อมทั้งเพิ่มความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในการที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งมาใช้ให้ได้ประโยชน์มากสุด องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องรู้ว่า ระบบไอทีของตนนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์จากแหล่งใดและอย่างไร พร้อมพิจารณาคุณสมบัติของเทคโนโลยีคลาวด์เปรียบเทียบกับระบบการให้บริการแบบเดิม และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานของตนให้บรรลุเป้าหมายได้ตรงตามงบประมาณที่วางไว้ สุดยอดเทรนด์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยในปี 2554 การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบเคลื่อนที่รวมทั้งระบบปฏิบัติการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ก่อให้เกิดการทำงานและการติดต่อสื่อสารที่ฉับไว เพราะว่าได้เชื่อมโยงทุกสิ่งไว้ด้วยกัน ลูกค้าและประชาชนจึงคาดหวังที่จะได้รับบริการที่รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทันทีทันใด ไม่ต้องใช้เวลารอนานเป็นวันๆ หรือหลายสัปดาห์ดังเช่นที่ผ่านมา จากผลการวิจัยล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยเอชพีบ่งชี้ถึงบทบาทของไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบันว่า มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งมีบทบาทสนับสนุนเพียงแค่งานบริหารขององค์กรมาเป็นบทบาทของการเป็นศูนย์กลางที่สนับสนุนการทำงานทุกอย่างขององค์กร(1) ผู้บริหารระดับอาวุโสในภาครัฐและธุรกิจร้อยละ 80 ตระหนักว่า องค์กรของตนต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชนได้ดีขึ้นและตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ขณะที่ร้อยละ 73 ระบุว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาครัฐและธุรกิจ และอีกร้อยละ 76 กล่าวว่า ความสำเร็จในการดำเนินงานเกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการให้บริการของภาครัฐและธุรกิจ มุ่งหน้าสู่ Instant-On Enterprise วิสัยทัศน์การสร้างองค์กรแบบ Instant-On Enterprise จะทำให้องค์กรต่างๆ มีแต้มต่อใน การแข่งขันที่เหนือกว่า ทั้งยังให้บริการตรงตามความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างฉับไวและทันที ทั้งนี้ เอชพีได้เปิดตัวโซลูชั่น HP Hybrid Delivery เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้ทำงานแบบ Instant-On อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยลูกค้าวางกลยุทธ์สำหรับการให้บริการของตน พร้อมทั้งการศึกษาวิเคราะห์ปริมาณงานและการใช้งานภายในองค์กร เพื่อกำหนดความเหมาะสมภายในสภาพแวดล้อมแบบผสมหรือ Hybrid นอกจากนี้ยังทำให้ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจหลักที่ต้องทำเพื่อปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการให้บริการแบบผสม เนื่องจากองค์กรธุรกิจและภาครัฐต่างมุ่งยกระดับขึ้นเป็นองค์กรแบบ Instant-On Enterprise เอชพีเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีระดับองค์กรที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสูงในอนาคต มีดังนี้ โซลูชั่น Application Transformation ระบบ Instant-On Enterprise ทำงานบนแอพพลิเคชั่นที่มีความพร้อมในการใช้งานตลอดเวลาและสามารถปรับให้เข้ากับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการใช้งานเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายมากกว่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพพลิเคชั่นที่เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับองค์กรธุรกิจและภาครัฐ อย่างไรก็ตาม แอพพลิเคชั่นที่ใช้กันในปัจจุบัน ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่สามารถให้บริการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ โซลูชั่นเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้มีงบประมาณบานปลายในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ผลการศึกษาล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยเอชพีเผยว่า องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าร่วมการสำรวจมากกว่าร้อยละ 50 ใช้แอพพลิเคชั่นที่มีอายุนานกว่า 8 ปี ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 15 มีแอพพลิเคชั่นที่มีอายุนานกว่า 16 ปี และอีกมากกว่าร้อยละ 50 มีความเห็นว่า ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการปรับปรุงและดูแลรักษาแอพพลิเคชั่นรุ่นเดิมเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่สามารถให้บริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว พอร์ทโฟลิโอแอพพลิเคชั่นมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดปัญหา การขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 100 ส่วนใหญ่มีขนาดของซอฟต์แวร์ (Line of Code) สูงถึง 35 ล้านหน่วย และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี เนื่องจากองค์กรต่างๆ มีการขยายตัวของแอพพลิเคชั่นเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานมานานแล้ว นอกจากนี้ยังมีโมเดลการให้บริการด้านไอทีรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบโมบายล์และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งใหม่และท้าทายสำหรับองค์กรต่างๆ ทำให้หลายๆ องค์กรจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Application Transformation ที่เหมาะสม โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ 60 ระบุว่า การใช้เทคโนโลยี Application Transformation เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ตนจะทำเป็นอันดับแรกในปี 2554 ดังนั้น เอชพีจึงเชื่อมั่นในการพัฒนาและยกระดับแอพพลิเคชั่นและกระบวนการต่างๆ สู่ยุคอนาคต เพื่อช่วยธุรกิจต่างๆ ควบคุมและบริหารจัดการแอพพลิเคชั่นที่ล้าสมัย ตลอดจนกระบวนการทำงานที่ไม่มีความคล่องตัวให้เป็นการทำงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เพื่อรองรับ การพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน ตอบสนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โซลูชั่น Converged Infrastructure ระบบ Instant-On Enterprise คือ การพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีที่สามารถปรับขยายและปรับลดให้ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม โดยจะต้องมีเทคโนโลยีในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่มีปริมาณที่เหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สำหรับองค์กรธุรกิจหลายแห่ง โครงสร้างพื้นฐานทั้งแบบปกติและแบบเสมือนที่ไม่มีความยืดหยุ่น และมีการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบ ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีการทำงานที่ไม่สะดวกและคล่องตัว ส่งผลให้การทำงานและการบำรุงรักษาระบบไอทีต้องใช้ทรัพยากรไอทีมากกว่าร้อยละ 70 และเหลืออีกร้อยละ 30 สำหรับนำไปใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ โซลูชั่น HP Converged Infrastructure คือ พิมพ์เขียวสถาปัตยกรรมโครงสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคตที่ได้รับออกแบบให้อุดช่องว่างระหว่างความต้องการขององค์กรและบริการไอที จึงช่วยลูกค้าขจัดปัญหาความอัดแน่นของเทคโนโลยี ทั้งยังสามารถผนวกรวมอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่ายเข้าไว้ด้วยกันเป็นศูนย์รวมทรัพยากรที่สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดไฟและควบคุมระบบทำความเย็นได้เป็นอย่างดี ด้วยแพลทฟอร์มการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันดังกล่าว โซลูชั่น HP Enterprise Security ประธานเจ้าหน้าที่ด้านไอที (ซีไอโอ) และประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ที่มีระบบไอทีขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise ล้วนตระหนักดีว่า โซลูชั่น Enterprise Security เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งประกอบด้วยระบบและโซลูชั่นต่างๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างองค์กรธุรกิจและลูกค้า หรือระหว่างภาครัฐและประชาชน ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเลือกใช้แนวทางการเชื่อมโยงกับลูกค้าและประชาชนแบบเปิด โดยใช้แอพพลิเคชั่นแบบเคลื่อนที่ ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการคลาวด์ สำหรับโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง รายงานผลการสำรวจล่าสุดของฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช อิงค์ ระบุว่า กระแสบริโภคนิยม (consumerism) คือเทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้บริหารระบบรักษาความปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นองค์กรธุรกิจเกือบครึ่ง (ร้อยละ 46) เผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในระบบสมาร์ทโฟน ขณะที่อีกร้อยละ 38 มีความวิตกกับความปลอดภัยของเทคโนโลยี Web 2.0 สำหรับการเป็นองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร เพื่อปกป้องสินทรัพย์ทางธุรกิจของบริษัท และเปิดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าใช้งานได้เท่านั้น การศึกษาล่าสุดที่จัดทำขึ้นในนามของเอชพี ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และด้านเทคโนโลยีทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทุก 1 ใน 2 คน เผชิญอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรม การเพิ่มความคล่องตัวของเทคโนโลยี และการให้บริการลูกค้า ซึ่งมีสาเหตุจากปัญหาระบบการรักษาความปลอดภัย โซลูชั่น HP Enterprise Security จะทำให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพยากร รวมทั้งบริหารความเสี่ยงและขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง โซลูชั่น Information Optimization องค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐเผชิญความท้าทายที่เกิดจากการขยายตัวของข้อมูลอย่างรวดเร็ว ระบบไอทีมีการออกกฎหมายและข้อบังคับการควบคุมการใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการมีอยู่เท่าเดิมหรือลดลง ขณะเดียวกัน ผู้นำในองค์กรภาครัฐและธุรกิจต้องการการให้บริการข้อมูลที่ตรงตามกำหนดเวลาเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์ ผลการวิจัยล่าสุดของเอชพีบ่งชี้ว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีและธุรกิจเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่ระบุว่า ฝ่ายไอทีได้ให้ข้อมูลตามที่เขาต้องการตลอดเวลา ปัญหานี้จะเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจาก - ในปี 2548 มนุษย์สร้างข้อมูลดิจิตอลจำนวน 150 เอ็กซาไบด์ แต่สามารถเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่าในปี 2553 - ผู้บริหารระดับสูงทั้งทางด้านไอทีและธุรกิจร้อยละ 88 เชื่อว่า อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่มากกว่าร้อยละ 86 เชื่อว่า อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านกฎหมายมีมูลค่าประมาณ 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อข้อมูล 1 เทราไบด์ การจะเอาชนะความท้าทายดังกล่าว องค์กรต่างๆ สามารถเลือกใช้โซลูชั่น HP Information Optimization เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมด้านไอทีให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้มีการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องตรงตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งยังช่วยสนับสนุนองค์กรนั้นๆ ให้มีแต้มต่อในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งอีกด้วย ดังนั้น การใช้โซลูชั่น HP Information Optimization จึงทำให้องค์กรต่างๆ สามารถควบคุมและศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) [1] “HP Research: The Instant-On Enterprise,” Coleman Parkes Research Ltd., October 2010.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ