กรุงเทพฯ--15 ธ.ค.--มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมโครงการบริการวิชาการด้านดาราศาสตร์ ในการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ พบกับการบรรยายพิเศษด้านดาราศาสตร์ และกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2553 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ บ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เข้าใกล้โลก และเวลาที่โคจรเข้ามาใกล้โลกก็จะทิ้งเศษที่เป็นฝุ่นของแข็ง น้ำแข็งจำนวนมากมายไว้ เศษฝุ่นที่เป็นเศษหลงเหลือจากดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้น จะตกเข้ามาใกล้บรรยากาศของโลก ซึ่งเมื่อเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศของโลกก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกเจมินิดส์อยู่ระหว่างดาวคาสเตอร์ (Castor) และดาวฝาแฝดมีชื่อว่า พอลลัก (Pollux) โดยจะขึ้นจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเห็นฝนดาวตกได้ในช่วงวันที่ 7-17 ธันวาคม 2553 และจะเริ่มสังเกตเห็นมากที่สุดตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 13 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ตามเวลาประเทศไทย คาดว่าจะเห็นโดยเฉลี่ยประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายเลขโทรศัพท์ 044-254000 ต่อ 1313 , 2010