กัลฟ์ แอร์ ส่งเสริมการใช้บัตรโดยสารอีเล็คทรอนิกส์นับตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป

ข่าวทั่วไป Monday April 9, 2007 17:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
หากต้องการบัตรโดยสารแบบกระดาษ ต้องจ่ายเพิ่ม 25 ดอลล่าร์สหรัฐ
เนื่องด้วยสายการบินกัลฟ์ แอร์มีเครือข่ายกว่าร้อยละ 80 ที่ใช้บัตรโดยสารอีเล็คทรอนิกส์ (อี-ทิกเก็ต) ทางสายการบินจึงได้ดำเนินการครั้งสำคัญในการส่งเสริมการออกบัตรโดยสารอีเล็คทรอนิกส์ให้มากขึ้นทุกแห่งที่เป็นไปได้นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 เป็นต้นไป
อี-ทิกเก็ตในปัจจุบันเป็นมาตรฐานของสายการบินส่วนใหญ่จำนวนมาก โดยอี-ทิกเก็ตเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยของการออกบัตรโดยสารซึ่งทำให้แผนการเดินทางของผู้โดยสารยุ่งยากน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลการเดินทางทั้งหมดถูกเก็บรักษาในรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์ในระบบการสำรองที่นั่ง ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทุกเวลาและจะไม่สูญหายหรือถูกขโมยดังเช่นบัตรแบบกระดาษ ผู้โดยสารสามารถพิมพ์ใบเสร็จของอี-ทิกเก็ตของพวกเขาได้ทุกเวลาจากเว็ปไซต์ของกัลฟ์ แอร์ นอกจากนั้นผู้โดยสารที่ใช้อี-ทิกเก็ตยังสามารถเช็คอินได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้เพียงอี-ทิกเก็ตและบัตรประจำตัว
นอกจากนั้น ต้นทุนปฏิบัติการของอี-ทิกเก็ตหนึ่งใบราคาเพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น ในขณะที่บัตรโดยสารแบบกระดาษราคาสูงกว่าในด้านความพยายามและต้นทุนการออก การขนส่ง การติดตาม และการยอมรับบัตรโดยสารแบบกระดาษสำหรับทางสายการบินและตัวแทนจำหน่าย
ด้วยการใช้การเชื่อมโยงระบบการออกบัตรโดยสารอีเล็คทรอนิก (Interline Electronic Ticketing: IET) ผู้โดยสารซึ่งเดินทางบนสายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบินสามารถเดินทางโดยใช้เอกสารอีเล็คทรอนิกเพียงใบเดียว
“กัลฟ์ แอร์ ประสบความสำเร็จในการใช้อี-ทิกเก็ตในกว่าร้อยละ 80ของเครือข่ายตามข้อกำหนดของไออาต้า” ลาร์ส เดนลิว หัวหน้าฝ่ายกระจายสินค้าและอี-คอมเมิร์ซ สายการบินกัลฟ์ แอร์
“อย่างไรก็ตาม เราได้สังเกตว่ายังมีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งซึ่งยังต้องการให้มีการออกบัตรโดยสารแบบกระดาษ ถึงแม้ว่าอี-ทิกเก็ตจะใช้ง่ายกว่าก็ตาม”
“เราเชื่อว่านี่เป็นเพราะผู้โดยสารยังไม่เห็นประโยชน์และความสะดวกของอี-ทิกเก็ตอย่างแท้จริงและตามที่ไออาต้าได้กำหนดเส้นตายของการใช้อี-ทิกเก็ต 100 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซี่งหมายความว่านักเดินทางจะต้องยอมรับการใช้อี-ทิกเก็ตในเวลานั้นโดยปริยาย ไม่ว่าพวกเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม”
กัลฟ์ แอร์ จึงได้ตัดสินใจในการบังคับใช้อี-ทิกเก็ตเพิ่มขึ้นทุกแห่งเมื่อเป็นไปได้และนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ ผู้โดยสารที่ต้องการบัตรโดยสารแบบกระดาษจะต้องชำระค่าธรรมเนียม 25 ดอลล่าร์สหรัฐ (หรือประมาณ 875 บาท) เพื่อครอบคลุมต้นทุนปฏิบัติการ
กัลฟ์ แอร์ ไม่ได้เป็นเพียงสายการบินเดียวที่กำหนดค่าธรรมเนียมการออกบัตรโดยสารแบบกระดาษ สายการบินชั้นนำมากมายทั่วโลกได้บังคับใช้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวกับผู้โดยสารเช่นกัน
“การสื่อสารต่างๆ ได้ถูกส่งไปยังตัวแทนจำหน่ายของกัลฟ์ แอร์เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าวและให้ความรู้และส่งเสริมให้ผู้โดยสารยอมรับอี-ทิกเก็ต เราหวังว่าผู้โดยสารจะให้ความร่วมมือกับเราและตัวแทนจำหน่ายของเราในก้าวสำคัญครั้งนี้” มร. เดนลิว กล่าวสรุป
ในช่วงเริ่มต้น สถานีดังต่อไปนี้จะเริ่มใช้ข้อกำหนดดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป
ออสเตรเลีย บาห์เรน ไซปรัส อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮ่องกง เอสเออาร์ อินเดีย ไอร์แลนด์ คูเวต เลบานอน มาเลเซีย โอมาน กาต้าร์ สิงคโปร์ อัฟริกาใต้ ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเร็ต อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเยเมน
อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการชำระค่าธรรมเนียมหากออกบัตรโดยสารแบบกระดาษตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1) บัตรโดยสารสำหรับเด็กทารก ซึ่งไม่ต้องใช้ที่นั่งแยกต่างหากและมากับครอบครัว (นอกจากอี-ทิกเก็ตสำหรับเด็กทารกออกใช้งาน)
2) บัตรโดยสารเชื่อมโยงใดๆซึ่งไม่สามารถออกเป็นอี-ทิกเก็ตได้
3) เที่ยวบินของกัลฟ์ แอร์ซึ่งสายการบินอื่นให้บริการโดยไม่สามารถทำอี-ทิกเก็ตได้
สายการบินกัลฟ์ แอร์ ผู้ให้บริการเส้นทางบินสำคัญ โดยมีตารางการบินทุกวัน ระหว่าง กรุงเทพฯ — บาร์เรน, กรุงเทพฯ — ฮ่องกง และมีตารางการบินสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ระหว่าง กรุงเทพฯ — มัสกัต
ข้อมูลเกี่ยวกับสายการบิน กัลฟ์ แอร์
สายการบิน กัลฟ์ แอร์ ก่อตั้งในปี 2493 ถือครองโดยสหราชอาณาจักรบาร์เรน และสุลตานแห่งโอมาน โดยถือเป็นสายการบินที่ให้บริการครอบคลุมทั่วทั้งหมดของภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างแท้จริง
สายการบิน กัลฟ์ แอร์ ได้ผสานคุณค่าของภูมิภาค ลักษณะทางภูมิศาสตร์และความงดงามของวัฒนธรรม เข้าด้วยกันมากกว่าครึ่งศตวรรษ และยังคงเป็นศูนย์กลางในการนิยามคุณค่าของสายการบินและการบริการ
ปัจจุบัน สายการบินมีเครือข่ายการบินที่แข็งแกร่งจากยุโรปสู่เอเชีย และครอบคลุม 50 เมือง ใน 30 ประเทศ มีเครื่องบินประจำการ จำนวน 34 ลำ และเป็นเจ้าของเครือข่ายเส้นทางบินทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่แข็งแกร่งที่สุด
ทั้งนี้ สายการบินได้วางแผนงานในการปฏิบัติงานเชิงพาณิชย์ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กร ตามลำดับขั้น ซึ่งได้ช่วยกำหนดโครงสร้างงานสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมถึง บริการสกายเชฟ และสกายแนนนี่ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ “สายการบินอันชาญฉลาดและธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ” ของกัลฟ์ แอร์
สายการบินกัลฟ์ แอร์ ได้รับรางวัลระดับสากลทั้งในด้านนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ บริการคุณภาพมากมาย อันเป็นผลสำเร็จมาจากโครงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กร ดังนี้
* รางวัลบริการอาหารบนชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจยอดเยี่ยม (จากสกายแทร็กซ์ เวิล์ด แอร์ไลน์ เคเตอริ่ง อวอร์ด 2548)
* รางวัลการออกแบบหนังสือบริการระหว่างเที่ยวบินยอดเยี่ยม (จากอเมริกัน ครีเอติวิตี้ อวอร์ด 2548)
* รางวัลสายการบินที่ให้บริการผู้โดยสารชั้นเฟิร์สคลาส ของภูมิภาคตะวันออกกลางที่ดีที่สุด (จากเวิล์ด ทราเวล อวอร์ด 2548)
* รางวัล เล้าจ์ประจำท่าอากาศยานชั้นนำระดับโลก (จากเวิล์ด ทราเวล อวอร์ด 2548)
* รางวัลสายการบินยอดเยี่ยมระดับแพลตตินัม ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและอัฟริกันเหนือ (จากเมนา ทราเวล อวอร์ด 2547)
* รางวัลสายการบินที่ทำการปรับปรุงดีที่สุด (จากสกายแทร็กซ์ อวอร์ด 2547)
* รางวัลสายการบินที่ให้บริการผู้โดยสารชั้นเฟิร์สคลาส ของภูมิภาคตะวันออกกลางที่ดีที่สุด (อาระเบียน บิสสิเนส อวอร์ด)
* รางวัลผลิตภัณฑ์ใหม่ยอดเยี่ยม ในสาขาบริการระหว่างเที่ยวบิน (จากแพ็ก อินเตอร์เนชั่นนัล รีดเดอร์ชิพ อวอร์ด)
* รางวัลบริการอาหารบนชั้นเฟิร์สคลาสยอดเยี่ยม (จากสกายแทร็กซ์ ฟู้ด เคเตอโกรี่ 2547)
* รางวัลให้บริการเช็คอินชั้นธุรกิจยอดเยี่ยม (จากสกายแทร็กซ์ เช็คอิน เคเตอโกรี่ 2547)
* รางวัลภัตตาคารประจำท่าอากาศยานยอดเยี่ยม ของภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมอบให้กับภัตตาคารของสายการบิน ณ เล้าจ์ประจำท่าอากาศยานนานาชาติ บาร์เรน (จากแพ็ก อินเตอร์เนชั่นนัล รีดเดอร์ชิพ อวอร์ด 2548)
เป็นผู้สนับสนุนหลักและเป็นสายการบินหลัก อย่างเป็นทางการของการแข่งขันกัลฟ์ แอร์ บาห์เรน กรังปรีซ์ 2550
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ / ภาวินี เกียรติศรีชาติ
บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ 02-260-5820
โทรสาร 02-260-5847-8
อีเมล์ tqprthai@tqpr.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ