กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--กระทรวงสาธารณะสุข
มติเอกฉันท์อนุกรรมการสมัชชาสุขภาพฯรับรองหลักเกณฑ์ว่าด้วยมาตรการควบคุมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ทุกฝ่ายผลักดันกฏหมายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และกำหนดมาตรการควบคุมตลาดนมผงอย่างจริงจัง
นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณะสุข ในฐานะประธานคณะทำงานประเด็นการควบคุม กลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก กล่าวว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๓ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคมนี้นั้นประเด็นการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นประเด็นที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งคณะทำงานประเด็นฯมีมติเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับมาตรการการควบคุม กลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ๖ ประการ เข้าสู่เวทีการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ เพื่อที่จะให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป
มติข้อเสนอ ๖ ประการที่จะเสนอคือ (๑) การพัฒนาและผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติอาหารทารกและเด็กเล็กพ.ศ....โดยทำให้เสร็จสิ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๕ เพื่อควบคุมปัญหากลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก รวมทั้งการจัดการประเด็นอื่นๆโดยการรับรองหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องพ.ศ.๒๕๕๑ (๒) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ผ่านสื่อสาธารณะและสื่อบุคคล ฯลฯ (๓) การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการพัฒนาศักยภาพและสร้างแรงจูงใจผู้เยวชาญด้านกาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระบบบริการสาธารณะสุขอย่างต่อเนื่อง (๔)การพัฒนากลไกการเฝ้าระวัง กำกับ และการติดตามการปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
(๕)การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น คลินิคให้คำปรึกษานมแม่ในโรงพยาบาล มุมนมแม่ในโรงพยาบาลและสถานประกอบการ (๖)การกำหนดเป็นกฏหมายให้สถานประกอบการและสถานที่ราชการทุกประเภทรัฐวิสหากิจและองค์กรอิสระภายใต้การกำกับของหน่วยงานราชการให้มีมาตรการหรือสวัสดิการให้แก่หญิงตั้งครรภ์และแม่ทำงานที่เป็นมารดา และการปรับปรุงกฏหมายด้านการสิทธิการลาคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยการเพิ่มระยะเวลาเป็น ๑๘๐ ปีโดยได้รับค่าจ้างเต็มเวลา
“ทั้ง ๖ ข้อคณะทำงานประเด็นฯมีมติเป็นเอกฉันท์เสนอเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๓ นี้ โดยคาดว่าคงจะมีการถกแถลงในรายละเอียดต่างๆซึ่งเมื่อผ่านเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแล้วคงจะผลักดันให้เป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป”
นายแพทย์ศิริวัฒน์กล่าวในที่สุด.