ดัชนีอุตฯ พฤศจิกายน 2553 “ฟื้นตัว” ยังวิตกราคาน้ำมัน แนะรัฐแก้ปัญหาแรงงาน

ข่าวทั่วไป Friday December 17, 2010 15:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--ส.อ.ท. นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,030 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของ สภาอุตสาหกรรมฯ ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 99.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 98.7 ในเดือนตุลาคม โดยค่าดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบของดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ โดยมีปัจจัยที่ทำให้ระดับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน คือ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี ภาคการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ยกเว้นในพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 113.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.1 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ ดัชนีความเชื่อมั่นของ อุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลางปรับตัวลดลง โดยอุตสาหกรรม ขนาดย่อม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 92.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับระดับ 84.0 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ซึ่งการผลิตของอุตสาหากรรมขนาดย่อมส่วนใหญ่เพื่อการจำหน่ายในประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 112.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.3 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 110.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ในเดือนตุลาคม โดยมีองค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเลียม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 112.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.8 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลาง เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 101.7 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 115.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 111.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคใต้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม เนื่องจากภาคใต้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในหลายจังหวัด ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 102.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาวะน้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมสำคัญในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับประเภทเครื่องเงินมียอดขายในประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ชิ้นส่วนโทรทัศน์ หลอดไฟ แผงวงจรมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเครื่งปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (ยอดส่งออกตู้เย็น ไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมอาหาร (ยอดการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ไปอาเซียนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมยา (ยอดขายยาสามัญประจำบ้านภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน) อุตสาหกรรมก๊าซ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.1 ลดลงจากระดับ 111.9 ในเดือนตุลาคม โดยมีองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมและผลประกอบการ ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 101.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 92.7 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน อุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (ยอดขายหินก่อสร้าง หินประดับในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมสมุนไพร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 118.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 112.1 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 93.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ จากภาวะน้ำท่วมที่คลี่คลาย ปริมาณวัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขี้น ส่งผลต่อค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (ยอดขายกระเบื้องมุงหลังคา แผ่นฝ้าในประเทศเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 126.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.7 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 108.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.0 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมและผลประกอบการ ทั้งนี้ภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคตะวันออกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก (ยอดขายโครงเหล็กและเหล็กเส้นเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (ยอดการส่งออกน้ำมันเตาไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.5 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ส่วนภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 83.0 โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 97.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ เนื่องจากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดและเกิดดินโคลนถล่มในบางพื้นที่ สร้างความเสียหายให้กับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและไม่มีไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (ผลผลิตน้อยลงจากฝนที่ตกตลอดทั้งเดือนและเกิดดินโคลนถล่มในบางพื้นที่) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.6 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลง โดยกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 100.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.0 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ?ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ดี อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 115.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.8 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ และผลประกอบการ และดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 96.6 ปรับลดลงจากระดับ 101.2 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ อุตสาหกรรมสำคัญที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 107.8 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันมากที่สุด รองลงมา คือ อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ทางการเมือง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามลำดับ โดยมีความกังวลเพิ่มขึ้นในปัจจัย สถานการณ์ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนด้านการลงทุนของอุตสาหกรรมขนาดย่อม และขนาดกลาง ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพของแรงงาน พร้อมแก้ปัญหาราคาพลังงานไม่ให้สูงมากเกิน และสนับสนุนให้มีการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ