อภิสิทธิ์-อมาตยาเซนปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๓ หนุนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมคือหัวใจการพัฒนา

ข่าวทั่วไป Monday December 20, 2010 14:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๓ ปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่ด้วยปาฐกถาพิเศษ”อมาตยาเซน”นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียรางวัลโนเบลคนแรกของเอเซียและ”อภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรีของไทย ทั้งสองหนุนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและเชื่อมั่นว่าการพัฒนาคือการส่งเสริมให้เกิดเสรีภาพที่แท้จริง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 เวลา 15.00 น.ที่ห้องเอสแคป ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯได้มีพิธีปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ ขึ้น โดยในครั้งนี้ได้มีปาฐกถาพิเศษจากศาตราจารย์ อมาตยาเซน(Prof.Amartya Sen) จากคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอมริกา ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลคนแรกของเอเซียในปี ๒๕๔๑ และได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ว่าเป็น๑ใน๑๐๐นักคิดที่มีอิทธิพลต่อโลก และมีคณูปการต่อการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒาที่เน้นคุณภาพชีวิตควบคู่กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิดเป็นHuman Development Index ที่ทางUNDPนำไปใช้ทั่วโลก และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ศ.อมาตยาเซนกล่าวว่า เมืองไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาโดยเฉพาะทางด้านสาธารณะสุขและการเมืองที่ให้ความสำคัญกับประชาชนระดับรากหญ้า แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีช่องว่างทางด้านเศรษฐกิจ เหลื้อมล้ำ แต่ปัญหานี้ก็ไม่มีเฉพาะประเทศไทยยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยควรจะต้องมองปัญหาอย่างองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาแบบรอบด้านไม่ใช่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง “คนที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันเช่นนักการเมือง ประชาชนที่เห็นแตกต่างกันก็ควรจะต้องหาวิธีการพูดคุยและเจรจาเพราะปัญหาความเหลื้อมล้ำเป็นประเด็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดังนั้น กระบวนสมัชชาสุขภาพของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่น ตัวอย่างของนางคำ นายนวล ชนเผ่าที่ยากไร้ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในเวทีนี้ ซึ่งกระบวนสมัชชาจึงมีความสำคัญและควรสนับสนุนให้พัฒนายิ่งขึ้น”ศ.อมาตยาเซนกล่าว นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ความเชื่อของกระบวนสมัชชาคือความเชื่อของกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นหลักคิดสำคัญที่จะทำให้สังคมไทยขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาวะที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันมองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ปัญหาสุขภาพไม่ใช่เป็นปัญหาของกระทรวงสาธารณะสุข แต่เป็นปัญหาของทุกภาคส่วนที่ต้องเชื่อมโยงซี่งกันและกันในทุกๆด้าน กรณีมาบตาพุดเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการแบบแยกส่วน ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ส่วนเกี่ยวข้อง บทเรียนของมาบตาพุดที่ผ่านมาและกระบวนการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่นจึงเป็นบทเรียนที่สำคัญที่รัฐบาลจะนำมาเป็นตัวอย่างในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง “กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางจากทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันเพราะปัญหามีมากมาย และถึงแม้เราจะแก้ปัญหาหนึ่งไปปัญหาอื่นๆ/ใหม่ๆก็จะตามมา ดังนั้น สมัชชาเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะรัฐบาลและหวังว่าทุกคนจะมีส่วนร่วมและเชื่อมั่นแต่อย่าให้ผูกขาดและควรขยายเครือข่ายต่อไป”นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่สุด.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ