สธ.ทุ่มงบ 4พันล้าน ตั้ง “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” เฟสแรกจับมือ มหิดลพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก

ข่าวทั่วไป Monday December 20, 2010 16:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--กรมควบคุมโรค สธ.ทุ่มงบ 4 พันล้าน ตั้ง “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” เฟสแรกจับมือมหิดล พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี่ ควบคุมต้นทางการระบาดของโรค ตั้งเป้าภายในไม่เกิน 10 ปี ไทยต้องผลิตวัคซีนได้เองไม่น้อยกว่า 7 ชนิด มีความมั่นคงทางวัคซีนที่เพียงพอต่อการป้องกันควบคุมโรค สามารถวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรมได้ตามมาตรฐานสากล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในงานพิธีเปิดป้ายสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติถือเป็นหน่วยงานกลางด้านวัคซีนในสังกัดของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการผลักดัน ขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ การขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาวัคซีนพื้นฐานเพื่อควบคุมป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จึงถือเป็นก้าวแรกในการดำเนินงานของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เนื่องจากในอดีตประเทศไทยเคยมีการผลิตวัคซีนได้ถึง 8 ชนิดแต่ปัจจุบัน การพัฒนาวัคซีนขาดความต่อเนื่องทำให้จำนวนวัคซีนที่ผลิตได้ในประเทศเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ วัคซีนไข้สมองอักเสบและวัณโรคในเด็ก ทำให้ต้องนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศถึงร้อยละ 80 จึงถึงเวลาที่จะมีหน่วยงานกลางด้านวัคซีนเพื่อพัฒนาการผลิตวัคซีนขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4,000 ล้านบาท มีการตั้งเป้าระยะยาวใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐานได้เองไม่น้อยกว่า 7 ชนิด โดยแบ่งระยะของการพัฒนาออกเป็นหลายระยะได้แก่ การพัฒนาวัคซีนโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จะใช้เวลาภายใน 2 ปี และ วัคซีนวัณโรค คาดว่าจะใช้เวลา 5 ปี ส่วนวัคซีนไข้สมองอักเสบและเออีคาดว่าจะใช้เวลา 3-5 ปี สำหรับการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี่นั้น ประเทศไทยถือว่าเป็นความหวังสำคัญในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกี่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและนานาชาติที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเป็นอันมาก การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพใช้ในการป้องกันโรคจึงถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง แต่การดำเนินงานดังกล่าวเป็นโครงการระยะยาว ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากและต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีหลายภาคส่วน เนื่องจากการพัฒนาวัคซีนต้องมีกระบวนการหลายขั้นตอน ต้องใช้ทั้ง เทคโนโลยี องค์ความรู้ ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น มีความซับซ้อนทั้งเชิงวิชาการและการบริหารจัดการ ซึ่งผลที่ได้จากการพัฒนาวัคซีนเดงกี่จะเกิดประโยชน์มหาศาลแก่เด็กและประชาชน ที่มีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก สามารถลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความวิตกกังวลของพ่อแม่และครอบครัวของผู้เจ็บป่วย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ทำความตกลงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำ “โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค-มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาวัคซีนเดงกี่มหาวิทยาลัยมหิดลชุดที่ 2 พ.ศ.2553-2557” ขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนด้านนโยบาย งบประมาณ และการบริหารจัดการ ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดลจะสนับสนุนด้านการพัฒนาวัคซีนในระดับพรีคลินิก โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาวัคซีนเดงกี่ที่มีประสิทธิผล มีความปลอดภัย ตามข้อกำหนดของหน่วยควบคุมกำกับของประเทศ เพื่อใช้ในการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชนในวงกว้าง นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของสถาบันวัคซีนแห่งชาติในหลายๆด้าน ได้แก่ ประชาชนจะได้รับวัคซีนเพื่อการควบคุมป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุข อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ทั้งในสถานการณ์ปกติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการรระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนได้รับการสนับสนุนทางวิชาการและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้สามารถวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรมได้ตามมาตรฐานสากล ส่งผลให้ประเทศเกิดความมั่นคงในการมีวัคซีนที่จำเป็นสำหรับการ ควบคุมโรคได้อย่างเพียงพอ สามารถผลิตและพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศอย่างมีคุณภาพและสามารถนำวัคซีนไปใช้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาพยาบาลและลดรายจ่ายจากการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ในอนาคตจะมีการผลักดันให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นองค์การมหาชนเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานซึ่งจะสามารถส่งเสริมและผลักดันความร่วมมือในการดำเนินงานด้านวัคซีนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวกับด้านวัคซีนอย่างครบวงจร ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะยาวนาคตจะมีการการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชนในวงกว้างกเดงถลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความวิตกกังวลของพ่อแม่และครอบและนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นประเทศผู้นำในภูมิภาคด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มเผยแพร่ สำนักเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค โทรศัพท์ :0-2590-3862 โทรสาร :0-2590-3386

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ