เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลกสนใจลงทุนในตลาดเกิดใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 21, 2010 09:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลกสนใจลงทุนในตลาดเกิดใหม่ *** เพิ่มน้ำหนักลงทุนในตลาดเอเชีย-แปซิฟิกและตลาดเกิดใหม่ในไตรมาส 4/2010 *** ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลการสำรวจความคิดเห็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำทั่วโลกครั้งล่าสุด พบว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่สนใจให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดที่เติบโตเร็ว เช่น กลุ่มตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) และตลาดเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในไตรมาส 4/2010 กลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนระดับโลกสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (เทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าในไตรมาส 3/2010) เป็นดังนี้ ร้อยละ 75 ให้น้ำหนักกับตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ร้อยละ 75 เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67 ร้อยละ 67 ให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50 ร้อยละ 60 สนใจลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชีย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57 ร้อยละ 83 ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง และตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63 ครึ่งหนึ่งของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น ขณะที่เกินครึ่งหรือร้อยละ 57 ลดการถือครองเงินสด (เทียบกับร้อยละ 38 ในการสำรวจรอบไตรมาส 3/2010) และไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดที่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรในไตรมาสสุดท้ายนี้ (เทียบกับร้อยละ 13 ในไตรมาส 3/2010) กลยุทธ์การจัดสรร ลดน้ำหนักการลงทุน คงน้ำหนักการลงทุน เพิ่มน้ำหนักการลงทุน เงินลงทุนไตรมาส4/2010 (Underweight) (Neutral) (Overweight) หุ้น 0% (20%) 50% (50%) 50% (50%) พันธบัตร 14% (0%) 86% (88%) 0% (13%) เงินสด 57% (38%) 29% (50%) 14% (13%) หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บ ( ) เป็นผลการสำรวจในไตรมาส 3/2010 มร. บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการกองทุนทั่วโลกในครั้งนี้ สะท้อนว่าความเชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ลดน้ำหนักการถือครองเงินสด และแม้ว่าตลาดจะยังคงไม่แน่นอนและผันผวนอย่างต่อเนื่อง แต่การลงทุนในตลาดหุ้นยังคงได้รับความสนใจอยู่มาก โดยเลือกลงทุนในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เราคาดว่าตลาดที่เศรษฐกิจแข็งแกร่งอย่างเอเชียและตลาดเกิดใหม่จะยังคงเป็นดาวเด่นไปจนถึงต้นปี 2011 เพราะเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีอัตราการขยายตัวช้า” “ในปี 2011 อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นปัจจัยหนุนผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ โดยหุ้นกู้น่าจะได้รับความนิยมมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล ถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะน้อยกว่าก็ตาม” ธนาคารเอชเอสบีซีสำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง1 เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (funds under management: FUM) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ (asset allocation views) และกระแสเงินลงทุนทั่วโลก (global money flows) ทั้งนี้ประมาณการกระแสเงินลงทุนสุทธิ (net money flow estimates)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนทั้ง 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ 3.89 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 16.52 ของปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (total global FUM)3 กระแสเงินลงทุนทั่วโลกในไตรมาส 3/2010 ผลการสำรวจพบว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 3/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 345.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.75 จากไตรมาส 2/2010 กองทุนรวมทุกประเภทมีปริมาณเงินลงทุนเพิ่มขึ้น โดยกองทุนหุ้นมีปริมาณเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุดจำนวน 156.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยกองทุนพันธบัตร มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 107.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ กระแสเงินลงทุนสุทธิในไตรมาส 3/2010 เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมการสำรวจ (แยกตามประเภทตลาดและตราสาร) ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส3/2010 สิ้นไตรมาส2/2010 ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) +5.2% +2.5% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ +1.9% -2.2% ตลาดหุ้นจีน -1.0% -4.8% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -1.3% -1.2% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ -2.9% +0.8% ตลาดหุ้นยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -3.8% -2.5% ตลาดหุ้นทั่วโลก -3.9% -3.1% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่/ให้ผลตอบแทนสูง +10.9% +6.8% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก +9.4% +14.8% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา +2.8% -3.9% ตลาดพันธบัตรยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -4.3% -3.6% เมื่อพิจารณาตลาดตราสารทุกประเภทพบว่า ตลาดพันธบัตรในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง มีปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิถึง 10.68 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 3/2010 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 2/2010 ส่วนตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) มีปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิรวม 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวจาก 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 2/2010 และตลาดหุ้นเกิดใหม่ มีปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิรวม 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวดีขึ้นจากที่เคยมีเงินลงทุนไหลออกสุทธิ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 2/2010 มร. ลี กล่าวว่า “ในภาวะที่ดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำ พันธบัตรและหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่ยังคงดึงดูดนักลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทน ขณะที่ตลาดหุ้นในเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงมีโอกาสเติบโตสูง ส่วนปริมาณเงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นจีนจำนวนมากในไตรมาส 2/2010 ขณะนี้ก็เริ่มชะลอตัวลงแล้ว เนื่องจากธนาคารกลางของจีนได้แสดงท่าทีชัดเจนด้วยการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย” ธนาคารเอชเอสบีซีได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ไตรมาส 3/2006 เป็นต้นมา พบว่าในไตรมาส 3/2010 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นยังคงมีเม็ดเงินลงทุนไหลออกอยู่บ้าง แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะนักลงทุนหันไปให้ความสนใจกับตลาดเกิดใหม่มากขึ้น ณ สิ้นไตรมาส 3/2010 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินไหลออกสะสมสุทธิ (cumulative net outflows) 64.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับยอดเงินไหลออก 56.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสก่อนหน้า ปริมาณเงินทุนไหลเข้าสะสมสุทธิ (cumulative net inflows) สู่ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 13.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 28.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือมีเงินไหลออก 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีเงินลงทุนไหลเข้า 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณเงินทุนไหลเข้าสะสมสุทธิ สู่ตลาดหุ้นจีนลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 3/2010 (เทียบกับ 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 2/2010) ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและมีสภาพคล่องในระบบสูง กองทุนพันธบัตรยังคงมีเงินลงทุนไหลเข้าสะสมสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 255.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 3/2010 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากไตรมาสก่อนหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606 หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: 1. ผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ทั้ง 13 แห่ง ได้แก่ AllianceBernstein, Allianz Global Investors, Baring Asset Management, BlackRock, Fidelity Investment Management, Franklin Templeton Investments, HSBC Global Asset Management, Investco Asset Management, Investec Asset Management, J.P. Morgan Asset Management, Prudential Asset Management, Schroders Investment Management และ Soci?t? G?n?rale 2. กระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net fund flows) ได้จากการนำมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้น มาหักออกจากยอดเงินที่เพิ่มขึ้นของกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุน ในไตรมาส 3/2010 3. ปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM) ข้อมูลจาก The Investment Company Institute ระบุว่าปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาส 2/2010 อยู่ที่ 21.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 4. ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสำนักงานให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารและเครือข่ายสาขากว้างขวางทั่วโลก รวมกับความรู้ความชำนาญของบุคลากรภายในประเทศ ธนาคารเอชเอสบีซีเปิดให้บริการด้านการเงินและการธนาคารเต็มรูปแบบ ทั้งบริการด้านเงินฝาก สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจ ธุรกิจสถาบันการเงิน บริการด้านบริหารเงินและตลาดทุน บริการดูแลและรับฝากหลักทรัพย์ บริการการค้าและเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการด้านการชำระเงินและบริหารเงินสดแก่ลูกค้าประเภทองค์กร ตลอดจนบริการบุคคลธนกิจและธุรกิจบัตรเครดิตแก่ลูกค้าประเภทบุคคล ธนาคารเอชเอสบีซีได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านบริการที่ได้มาตรฐานสูง ความมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ และเจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ