ING Investment Management ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีหน้า มองบรรยากาศการลงทุนผันผวน ท่ามกลางความขัดแย้งของทิศทางตลาด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 21, 2010 13:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ ING Investment Management ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2554 จากความแตกต่างระหว่างศักยภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่จะกว้างขึ้น ความผันผวนในตลาด ประกอบกับความไม่แน่นอนในประเด็นด้านเศรษฐกิจ ING Investment Management กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจโลกในการการประชุมทิศทางและภาพรวมเศรษฐกิจประจำปี ที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอน เมื่อพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา มาตรการทางการเงินหลายอย่างที่รัฐบาลและธนาคารกลางนำมาประกาศทดลองใช้ (Test Tube Policies) นั้นอาจก่อให้เกิดความผันผวนต่อตลาดการลงทุนอย่างรุนแรง INGIM ยังกล่าวด้วยว่า โดยภาพรวมมีเพียง 30-40% ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมดที่ปรับตัวเข้ากับภาวะการลงทุนในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่ามีโอกาสประมาณ 60% ที่เศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับความยุ่งเหยิงและวุ่นวายตลอดปี 2554 Valentijn van Nieuwenhuijzen, Head of Strategy, Strategy and Tactical Asset Allocation Group กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจในปีหน้าว่า “เราจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและบรรยากาศการลงทุนที่ผันผวนในปี 2011 และความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจกลุ่มประเทศเกิดใหม่กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะกว้างขึ้นและปรากฎอย่างเด่นชัด ผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างต้องเตรียมพร้อมเผชิญกับผลที่อาจเกิดจากมาตรการทางการเงินที่รัฐบาลและธนาคารกลางนำมาทดลองบังคับใช้” ING Investment Management คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเติบโตประมาณ 3.8% ในปี 2554 เปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ 4.8% ในปี 2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ จะมีการขยายตัวที่ระดับ 6.5% ในปี 2554 (ปี 2553 : 8.1%) และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ระดับ 1.6% ในปี 2554 (ปี 2553 : 2.2%) ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่าง ศักยภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) เพิ่มมากขึ้น การคาดการณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า มีความเป็นไปได้ 25% ที่โลกจะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงอีกครั้ง และความเป็นไปได้ 15% ที่จะเกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอ้ตราการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอาจยังอยู่ภายใต้แรงกดดันในการปรับลดระดับหนี้สาธารณะและสัดส่วนช่องว่างทางการผลิตซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจขยายตัวต่ำ ING IM Global Economic Outlook Real GDP Inflation Policy Rates (%, YE) 2010 2011 2010 2011 2010 2011 World 4.8 3.8 2.9 2.7 Developed 2.2 1.6 1.2 1.0 0.45 0.53 US 2.6 1.8 1.5 0.9 0.13 0.13 Euro 1.5 1.7 1.3 1.6 1.0 1.25 Japan 2.9 1.1 -1.0 -0.6 0.10 0.10 UK 1.4 1.5 3.1 2.5 0.50 0.50 Emerging 8.1 6.5 5.1 4.9 China 10.1 8.5 2.8 3.6 มุมมองภาวะตลาดตราสารหนี้ ING Investment Management เชื่อว่าผลตอบแทนของตราสารหนี้และส่วนชดเชยความเสี่ยงยังคงต่ำ ปัจจัยเกื้อหนุนตลาดตราสารหนี้ คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำ, มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและภาวะเงินฝืด Valentijn van Nieuwenhuijzen, Head of Strategy, Strategy and Tactical Asset Allocation Group ให้ความเห็นว่า “นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ยังคงมองหาตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในภาวะตลาดปัจจุบัน และตราสารหนี้ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ซึ่งเป็นตราสารหนี้ในกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงนั้น ก็ได้รับความนิยมสูงจากนักลงทุน อย่างไรก็ตามสภาพคล่องในการลงทุนนับเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรพิจารณาสำหรับการลงทุนในปีหน้า และอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้” มุมมองภาวะตลาดทุน ING Investment Management เชื่อว่าตลาดทุนในปี 2554 ยังน่าลงทุนด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงอัตราการเติบโตของกำไร, มูลค่าการลงทุนที่ยังคงต่ำ, สภาพคล่องที่ยังคงสูงและการเพิ่มพูนความมั่งคั่งของบริษัทและองค์กรเอกชน ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังช่วยเน้นให้เห็นถึงธีมการลงทุน 3 ธีมคือ รายได้และการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable income and growth), การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นขององค์กร (Increased corporate spending) และการลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging markets) ในปีหน้า ING Investment Management — Index Targets Index Current End 2010 End 2011 EuropeStoxx 600 267.0 280.0 310.0 US S&P 500 1185.0 1190.0 1300.0 JapanTopix 817.0 860.0 950.0 MSCI EM Free 1115.0 1175.0 1350.0 ทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้นนี้ได้ถูกสะท้อนออกมาให้เห็นในรูปของการปรับเพิ่มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญทั่วโลก: รายได้และการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable income and growth) : เงินปันผลจะเป็นตัวสร้างรายได้ที่สำคัญ ขณะที่อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลที่ต่ำ, งบดุลที่แข็งแกร่งและกำไรจากผลประกอบการที่สูงขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นขององค์กร (Increased corporate spending) : ระดับความเชื่อมั่นขององค์กรที่สูงขึ้น กระแสเงินสดและงบดุลที่แข็งแกร่ง จะผลักดันให้เกิดการซื้อคืนกิจการ การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการและการลงทุนที่เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจมากขึ้น การลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging markets) : ยังคงมีกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีหนี้สาธารณะและเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง INGIM ยังคงเชื่อว่าระดับราคาหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ยังอยู่ในระดับปกติ Patrick Moonen, Senior Equity Strategist, Strategy and Tactical Asset Allocation Group ให้ความเห็นว่า “ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นยังคงน่าสนใจและเราคาดว่าผลตอบแทนในการลงทุนนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของผลกำไร อย่างไรก็ตามนักลงทุนอาจเน้นลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนและมีการเติบโตสูง ขณะที่การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นขององค์กรเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด” ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2554 สำหรับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2553 ทาง บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด คาดการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง เติบโตประมาณร้อยละ 3.0 ถึง 5.0 แม้ว่าจะชะลอตัวจากปี 2553 ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตประมาณร้อยละ 7.0 ถึง 8.0 อย่างไรก็ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2554 จะเป็นการเติบโตจากทุกภาคส่วน จากการลงทุนภาคเอกชนและรัฐบาล รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553 มีภาคการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อน โดยคาดว่าภาคการส่งออกน่าจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากปี 2553 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินบาท สำหรับความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ประเทศไทยเติบโตน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน คือ ความเสี่ยงทางด้านการเมืองที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ความเสี่ยงเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรปยังคงอยู่ แม้รัฐบาลของประเทศต่างๆ จะมีความพร้อมมากขึ้นในการแก้ไขปัญหา โดยปัญหาที่เหลืออยู่ ได้แก่ การว่างงานและราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐฯ ถึงแม้สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลัง และการผ่อนคลายทางการเงิน โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงในระดับต่ำสุดรวมถึงการเข้าซื้อสินทรัพย์แล้วก็ตาม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกลไกการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ คุณจารุวัฒน์ ปรีดิ์เปรมกุล หัวหน้าฝ่ายจัดการลงทุน — ตราสารหนี้ มองว่า จากแนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลงในปี 2554 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0-4.0 จาก 7.0-8.0 ในปี 2553 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับ 2.5-3.5 คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.5-1.0% ในปี 2554 เพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันบัตรและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารปรับตัวสูงขึ้นตาม คาดว่าเส้นอัตราผลตอบแทนจะปรับตัวในทิศทางที่แบนราบลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นและกลางมีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากประมาณพันธบัตรที่ออกเสนอขายใหม่ในปี 2554 มีน้อยเมื่อเที่ยบกับความต้องลงทุนของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้สำหรับปี 2554 ก็ยังคงเหมือนกับในปี 2553 คือเน้นการลงทุนในตราสารระยะสั้นและเงินฝากเพื่อลดผลกระทบและความผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้น และจะเพิ่มการลงทุนในตราสารระยะปานกลางจนถึงยาวเมื่ออัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น ที่มา: ING Investment Management และ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด มุมมองภาวะตลาดทุน คุณศิริพรรณ สุทธาโรจน์ หัวหน้าฝ่ายจัดการลงทุน — ตลาดทุน มองว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในปี 2554 คาดว่า ตลาดยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก โดยมีผลจากปัจจัยบวกทั้งในประเทศและนอกประเทศดังต่อไปนี้ ปัจจัยต่างประเทศ ปัจจัยบวก - การอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม โดยเฉพาะ FED / ECB / BoE เพราะล้วนแต่อยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจรอบที่ 2 มากขึ้น การเพิ่มงบประมาณขาดดุลฯ ของรัฐบาล ทำได้จำกัด - ทิศทางค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า จากการเร่งใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น - ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างน้ำมันและทองคำ ยังเป็นขาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน เชื่อว่าจะมีโอกาสทดสอบ US$90-100 แม้ว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกจะขยายตัวไม่มาก แต่ก็ได้ประเด็นบวกของค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวช่วย ปัจจัยลบ - การโยกย้ายเงินทุนต่างชาติไปยังตลาดหุ้นที่ Laggard อย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป หากเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวส่งสัญญาณฟื้นตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น - การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ หลังจากครบกำหนด QE2 อาจกระทบต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กลับมาแข็งค่า ปัจจัยในประเทศ ปัจจัยบวก - Satisfactory levelการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี - ผลการดำเนินงานของบริษัทที่ดีอย่างต่อเนื่อง - ความเชื่อมั่นผู้บริโภค และภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.สูงสุดในรอบ 30 เดือน รวมถึงภาคการลงทุนภายในประเทศที่ขยายตัว - ผลจากมาตรการ QE จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง ด้วยภาพการเมืองที่มีเสถียรภาพ การเติบโตเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่า เป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติยังต้องการเพิ่มน้ำหนัก / หรือรักษาน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ปัจจัยลบ - ความกังวลต่อมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว และในอัตราที่สูงกว่าค่าเงินในภูมิภาคปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปีหน้า แม้ว่า ณ ปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับตัวขึ้นมากกว่าร้อยละ 40 แล้วจากต้นปี 2553 ในระยะสั้น คาดว่า ดัชนีฯ น่าจะมีความผันผวนจากแรงขายทำกำไรเป็นช่วงๆ เนื่องจากระดับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดหลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินในปี 2551 แต่ในระยะยาวทาง บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) คาดว่า ตลาดหุ้นไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจัยบวกข้างต้น ในระดับผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียน มีผลการดำเนินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า บริษัทจดทะเบียนน่าจะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ (EPS-Earning per Share) มากกว่าร้อยละ 15 ในปี 2554 ในเชิงของระดับราคา อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ในปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 12 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับ P/E เฉลี่ยของภูมิภาคที่ 12.7 เท่า* และค่า P/E เฉลี่ยของ SET INDEX ในช่วง 10 ปีย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้น ค่า P/E ของตลาดควรที่จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในการลงทุนในระยะยาว ได้แก่ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ เช่น กลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ผลจากมาตรการ QE น่าจะทำให้กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงกลุ่มปิโตรเคมี จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มราคาโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น รวมถึงกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของตลาดทุนไทย และส่งผลให้ดัชนีฯ สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องไปได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณพรพรรณ ไพบูลย์วัฒนชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนและที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด T- 0-2688-7785 F- 0-2688-7707 E- Pornpun.P@ingfunds.co.th เอกสารนี้จัดเตรียมขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใช้เป็นข้อมูลเท่านั้น ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำหรือความเห็น และ ไม่ถือเป็นการแทนคำแนะนำในแต่ละกรณี ข้อมูลในเอกสารนี้ไม่ใช่คำเสนอ ซื้อ ขาย หลักทรัพย์ใดๆ หรือ การเข้าร่วมกลยุทธ์ทางการค้าใดๆ บุคคลภายนอกไม่สามารถได้รับสิทธิใดๆ จากเอกสารนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการพิจารณาเนื้อหาบางส่วนไว้โดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่สิ่งรับรองถึงความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ ข้อมูลที่ให้ไว้อาจเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ผู้อ่านได้รับ เนื่องจากการใช้เอกสารนี้หรือตัดสินใจจากเนื้อหาในเอกสารนี้ (เช่น แต่ไม่จำกัดเพียง ความเสียหายโดยตรง ความเสียหายที่เป็นผลเนื่องจาก ความเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ความเสียหายด้านจิตใจ หรือ ความเสียหายโดยอ้อม) ไม่อาจเรียกร้องได้ อนึ่ง การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และ มีความเสี่ยง มูลค่าการลงทุนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ และ ผลการดำเนินงานในอดีตไม่เป็นสิ่งที่รับรองผลการดำเนินงานในอนาคตและไม่ถือว่าเป็นการรับรองการดำเนินงานในอนาคตด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ