ฟรอสต์คาดการณ์ตลาดระบบนำทางภายในรถยนต์ของประเทศไทยโตร้อยละ 30 ต่อปี

ข่าวทั่วไป Tuesday December 21, 2010 17:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--Frost & Sullivan นักวิเคราะห์คาดการณ์ตลาดระบบนำทางหรือนาวิเกเตอร์ในประเทศไทยจะขยายตัวแบบปีต่อปีร้อยละ 30 โดยคาดว่าจะมียอดถึง 322,300 หน่วยในปี 2554 จากยอดประมาณการณ์ 247, 800 ของปี 2553 มร. มาซากิ ฮอนด้า ที่ปรึกษาอาวุโส จากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิเคราะห์ทางธุรกิจระดับโลกกล่าวว่า ปัจจุบันตลาดของระบบนำทางหรือนาวิเกเตอร์ในประเทศไทยมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากประชาชนเริ่มตระหนักในความสำคัญของระบบนำทางมากขึ้น ประกอบกับจำนวนยานพาหนะที่มีระบบนำทางได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดระบบนำทางในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 30 ต่อปี และคาดว่าจะมีตัวเลขอยูที่ 322,300 หน่วยในปี 2554 จากประมาณ 247,800 หน่วยในปีนี้ มร.มาซากิกล่าวต่อว่า อุปกรณ์ช่วยนำทางส่วนบุคคล (PND) สามารถครองตลาดเครื่องมือนำทางในรถยนต์ในประเทศไทยได้มากถึงร้อยละ 95 เนื่องจากมีการกำหนดราคาที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย นอกจากนี้ ระบบนำทางมักถูกนำเสนอมากับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ แต่ก็มีโอกาสน้อยในการทำตลาดเนื่องจากราคาที่สูงขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน รถยนต์ขนาดใหญ่และรถยนต์กลุ่มตลาดบนมักจะมีการติดตั้งระบบนำทางแบบฝังมากับตัวรถ แต่ในอนาคต รถยนต์กลุ่มอื่นๆก็มีแนวโน้มที่จะมีการติดตั้งระบบนำทางเช่นกัน นอกจากนี้ ค่ายผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่น ที่มีโรงงานประกอบในประเทศไทยมักจะใช้ระบบนำทางจากผู้ผลิตในประเทศ ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ที่นำเข้ารถยนต์จากฝั่งยุโรปมักจะติดตั้งระบบนำทางจากโรงงานผลิตในยุโรป จากผลการวิจัยเรื่อง Strategic Analysis of ASEAN Market for Navigation Systems ของบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก พบว่า ธุรกิจระบบนำทางในรถยนต์ของประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียน 4 ประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อสยละ 33.5 (2552-2558) โดยมีตัวเลขสูงถึง 1.7 ล้านหน่วยภายในปี 2015 สำหรับประเทศไทย คาดว่าจะมีโอกาสขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 (CAGR) ตั้งแต่ปี 2552-2558 และมีตัวเลขสูงถึง 779,000 หน่วย ภายในปี 2558มร.มาซากิ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า PND ยังเป็นระบบนำทางในรถยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีการใช้งานมากกว่า 95% ของระบบนำทางรถยนต์ในตลาดของทั้งสี่ประเทศ เนื่องจากราคาที่เหมาะสม และฟังก์ชั่นในการทำงานสูง“คุณสมบัติใหม่ๆ เช่น มุมมองแบบสามมิติ และมุมมองทางแยก จะกลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานใน PND อีกทั้ง PND ยังได้รวมคุณสมบัติอื่นๆ อาทิ MP3 ระบบ FM และบลูทูธ เอาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ให้บริการระบบนำทางต่างก็โปรโมตระบบนำทางภายในรถยนต์โดยเฉพาะ PND ผ่านทางสื่อและนิทรรศการต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคก็ได้ตระหนักถึงความสะดวกสบายของการมีระบบนำทางในรถยนต์เช่นกัน” มร. มาซากิกล่าว ปัจจุบัน PND ได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องมาจากราคาที่เหมาะสม แต่ราคาดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากการลดลงของชิ้นส่วนต่างๆอย่างเช่น ชิป อีกทั้ง ผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์รุ่นที่มีระบบนำทางในตัว แต่ขนาดของตลาดยังค่อนข้างเล็กเนื่องจากมีราคาสูง เนื่องจากราคาของระบบนำทางที่ฝังมากับตัวรถมีราคาสูงกว่า PND ถึง 30-50 เท่า ดังนันผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็พยายามไม่ใส่ระบบนำทางที่ฝังมากับตัวรถไว้ในรุ่นมาตรฐาน อีกทั้ง PND ยังมีข้อได้เปรียบมากกว่าระบบนำทางที่ฝังมากับตัวรถ ไม่เพียงแต่ราคาที่ต่ำกว่าเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การใช้งานง่ายและซื้อหาได้ไม่ยากอีกด้วย นอกจากนี้ มร. มาซากิ ได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน ระบบนำทางถือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคถือว่า “มีก็ดี ไม่มีก็ได้” เนื่องจากพวกเขาไม่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบนำทางในขณะที่ขับรถไปในเส้นทางที่รู้จักอยู่แล้วอย่างไรก็ตาม ข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ อาทิ สภาพการจราจรบนท้องถนน และทางด่วน รวมถึงรายงานอุบัติเหตุ จะเปลี่ยนให้ระบบนำทางเป็นสิ่งที่ “ต้องมี” เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้งานระบบนำทางมากขึ้นแม้จะขับอยู่บนเส้นทางที่คุ้นเคยอยู่แล้วก็ตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 630 1734 Frost & Sullivan
แท็ก ฮอนด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ