กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--Vero PR
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ มอบประกาศนียบัตร และประกาศนียบัตรทองคำ ให้แก่องค์กรธุรกิจ ภายใต้โครงการ “โอกาสทองร่วมใจใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชู คุณค่าขององค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ด้านผู้บริหารองค์กรธุรกิจไทยต่างกล่าวรับรองถึงประโยชน์ที่ซอฟต์แวร์แท้นำมาสู่ธุรกิจของตน
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อยกย่อง เชิดชู คุณค่าขององค์กรธุรกิจ ที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยการใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง มร. โรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีเอสเอกล่าว
“องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในประเทศไทยสมควรได้รับการยกย่อง สำหรับความพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง” มร. ชาน กล่าว “การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทลิขสิทธิ์ซอตฟ์แวร์ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจไทย ตลอดจนผู้ประกอบการไทย และผู้สรรค์สร้างนวัตกรรมไทยในทุกอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แท้ยังดีต่อธุรกิจเอง โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล” ผู้นำองค์กรธุรกิจที่เข้าร่วมงานในวันนี้ต่างกล่าวรับรองถึงประโยชน์ที่ซอฟต์แวร์แท้นำมาสู่ธุรกิจของตน
“ซอฟต์แวร์แท้ช่วยเสริมให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่งขึ้น” นายแพทย์อดุล วรินทรเวช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ที่โชคดีได้รับประกาศนียบัตรทองคำมูลค่า 99,999 บาท จากการเข้าร่วมในโครงการในครั้งนี้ของบีเอสเอกล่าว “สำหรับองค์กรของเราแล้ว ซอฟต์แวร์แท้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เรามีปัญหาด้านไอทีลดน้อยลง ไม่ว่าเรื่องไวรัสหรือมัลแวร์ต่างๆ ระบบของเรามีความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งเนื่องจากเราเก็บรักษาข้อมูลผู้ป่วยและข้อมูลสำคัญอื่นๆ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เรายังสบายใจว่าเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ผมคิดว่าพนักงานของเราชื่นชมที่เราเป็นองค์กรที่มีคุณธรรม”
ในฐานะผู้บริหารองค์กรในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง นายแพทย์อดุล ตระหนักดีถึงคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อความสำเร็จในเชิงธุรกิจ โดยกล่าวว่าเป็นผลดีต่อองค์กรธุรกิจไทยเองในการเคารพนวัตกรรมของผู้อื่นและปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
นางสาว วารุณี รัชตพัฒนากุล ที่ปรึกษาของบีเอสเอ กล่าวว่า องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง สมควรได้รับการยกย่องและสนับสนุน ในความพยายามดำเนินธุรกิจ โดยปฎิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย พร้อมกับกล่าวว่าองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กำลังเอาเปรียบองค์กรธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
"องค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ได้ประโยชน์อย่างไม่ธรรมเหนือคู่แข่ง ลูกค้า นโยบายภาษีของรัฐ ตลอดจนอุตสาหกรรมไอทีปลายน้ำ ซึ่งควรได้รับประโยชน์จากการที่องค์กรธุรกิจหันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย" นางสาว วารุณี กล่าว “ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ยังทำให้ข้อมูลของลูกค้าต้องเสี่ยง เนื่องจากอาจมีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยอยู่ในตัวซอฟต์แวร์”
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจไทยได้รับ “โอกาสทอง” ในการเข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรของตนใช้แต่ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายไทย โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง
ส่วนหนึ่งของโครงการนี้คือบีเอสเอจะมอบรางวัลประกาศนียบัตรทองคำแท้ มูลค่า 99,999 บาท ให้กับองค์กรธุรกิจผู้โชคดีที่เข้าร่วมตรวจสอบว่าสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ของตนนั้นมีลิขสิทธิ์ถูกต้องและครบถ้วนโดยการจับฉลาก
องค์กรธุรกิจที่ใช้แต่ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัล นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจทุกแห่งที่ส่งใบตอบรับเข้ามาภายในวันที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา จะได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งลงนามโดยบีเอสเอ เพื่อรับรองการมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้
“วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เพื่อยกย่อง เชิดชู คุณค่าขององค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง โดยองค์กรธุรกิจเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย” นางสาว วารุณี กล่าว
นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดโครงการลักษณะนี้ขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น และจากความปลอดภัยที่สูงกว่า บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเผชิญกับการเสียเวลาทำงานเนื่องจากปัญหาด้านเทคนิค การขาดการสนับสนุนด้านไอที ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะถูกดำเนินการทางกฎหมายอันเป็นผลมาจากการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนว่าองค์กรธุรกิจต้องปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในซอฟต์แวร์
องค์กรธุรกิจที่ต้องการตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ในองค์กรของตนมีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ สามารถ ดาวน์โหลดเครื่องมือตรวจสอบซอฟแวร์ฟรีของบีเอสเอที่ www.bsa.org ผู้จัดการแผนกไอทีและองค์กรธุรกิจที่ปรึกษายังสามารถช่วยในการตรวจสอบว่าสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ขององค์กรมีอนุญาตถูกต้องหรือไม่
ในช่วงสามปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ปีพ. ศ. 2549 เป็นต้นมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในประเทศไทยลดลงจากร้อยละ 80 มาอยู่ที่ร้อยละ 75 ซึ่งบีเอสเอเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเข้าตรวจค้นองค์กรที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จำนวนหลายร้อยแห่งอย่างต่อเนื่องตลอดทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ นางสาว วารุณี ยังกล่าวว่าภาคธุรกิจมีความตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
?
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิค เทคโนโลยี, ออโต้เดสค์, ออโต้ฟอร์ม, อวีวา, เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ, เน็ดกราฟฟิกส์, พาราเมตตริกซ์ เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น, โปรเกรส, เควสท์ ซอฟต์แวร์, สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส และ เดอะ แมธเวิร์กส์
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-684-1551-2 Vero PR