กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ปริมาณการขาย 51,364 คัน ลดลง 7.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,422 คัน ลดลง 4.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 34,942 คัน ลดลง 9.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ จำนวน 30,449 คัน ลดลง 13.9%
ทางด้านสถิติการขายสะสมในช่วง 5 เดือนของปี 2550 มีปริมาณทั้งสิ้น 239,292 คัน ลดลง14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 67,476 คัน ลดลง 13.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 171,816 คัน ลดลง 14.5 % รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 150,319 คัน ลดลง 18.3%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์รวม 5 เดือนที่ผ่านมา ยังคงหดตัวต่อเนื่องในทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยยอดขายรวม 239,292 คัน โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน อัตราเติบโตลดลง 14.5% และ 18.3% ตามลำดับ ส่วนตลาดรถยนต์นั่งลดลง 13.7% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและปัญหาภาคใต้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง และชะลอการตัดสินใจซื้อ ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
2.) ตลาดรถยนต์ในเดือน พฤษภาคม มีปริมาณการขาย 51,364 คัน ลดลง 7.8 % เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมของปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณการขายลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอัตราการหดตัวมีแนวโน้มลดลง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมหดตัว ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 4.7% เป็นผลมาจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า คัมรี, นิว วีออส และ ฮอนด้า ซิตี้ สำหรับตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งลดลง 9.2% และ 13.9% ตามลำดับ
3.) ตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายน คาดว่าอัตราการหดตัวของตลาดน่าจะน้อยกว่าเดือนที่ผ่านๆมา โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อตลาดได้แก่ ความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ การแนะนำรถยนต์รุ่นปรับปรุงโฉม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องของทุกค่ายรถยนต์ ความชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประกอบกับสถิติการขายของเดือนมิถุนายนนั้นจะเป็นเดือนที่มีปริมาณการขายสูงที่สุดในไตรมาสสอง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2550
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 51,364 คัน ลดลง 7.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,112 คัน ลดลง 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 45.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,985 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 19.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,605 คัน เพิ่มขึ้น 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,422 คัน ลดลง 4.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,837 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 53.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,429 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%
อันดับที่ 3 เชฟโรเลต 624 คัน เพิ่มขึ้น 122.1% ส่วนแบ่งตลาด 3.8%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 30,449 คัน ลดลง 13.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,204 คัน ลดลง 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,172 คัน ลดลง 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,191 คัน เพิ่มขึ้น 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,738 คัน
โตโยต้า 1,192 คัน — อีซูซุ 469 คัน — ฟอร์ด 77 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 28,711 คัน ลดลง 13.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,012 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,703 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,191 คัน เพิ่มขึ้น 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 34,942 คัน ลดลง 9.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,275 คัน ลดลง 15.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,985 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,392 คัน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2550
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 239,292 คัน ลดลง 14.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 100,689 คัน ลดลง 9.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 55,751 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 26,145 คัน ลดลง 6.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 67,476 คัน ลดลง 13.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 34,755 คัน ลดลง 7.9% ส่วนแบ่งตลาด 51.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 21,603 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 เชฟโรเลต 3,194 คัน เพิ่มขึ้น 82.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 150,319 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 59,793 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 51,689 คัน ลดลง 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 3นิสสัน 13,934 คัน เพิ่มขึ้น 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 8,990 คัน
โตโยต้า 6,021 คัน — อีซูซุ 2,617 คัน — ฟอร์ด 352 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 141,329 คัน ลดลง 17.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 53,772 คัน ลดลง 11.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 49,072 คัน ลดลง 25.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 13,934 คัน เพิ่มขึ้น 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 171,816 คัน ลดลง 14.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 65,934 คัน ลดลง 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 55,751 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 14,756 คัน เพิ่มขึ้น 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%