กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. พบว่า มีเด็กและเยาวชนหลายคนที่ลาออกจากการเรียนกลางคัน สาเหตุสำคัญของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก ฐานะทางบ้านยากจน เด็กต้องอพยพย้ายถิ่นตามผู้ปกครองหรือไม่ก็มีปัญหาในครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยกเด็กต้องอยู่กับปู่ย่าตายายที่ไม่มีรายได้ ในครอบครัวมีคนเจ็บป่วย หรือพ่อแม่ผู้ปกครองมีปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ต้องคดีถูกจับ เป็นต้น ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีปัญหานี้มากที่สุด มีเด็กและเยาวชนลาออกจากโรงเรียนกลางคัน มากถึง 5,264 คน คิดเป็นร้อยละ 2. 35 รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตามลำดับ
เพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา จึงได้คิดริเริ่ม จัดตั้งกลุ่ม "ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง " ขึ้นเพื่อจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับเยาวชนผู้เป็นสมาชิก ไว้เป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อลดปัญหาการลาออกจากการเรียนกลางคัน
น.ส.จักษณา หนึ่งด่านจาก สมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่า “การผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง”ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากชุมชนและโรงเรียนประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยในตอนแรกทางชมรมทูบีนัมเบอร์วันได้ใช้น้ำตะไคร้หอมฉีดพ่นตามพุ่มไม้ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจนสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งในการป้องกันโรคไข้เลือดออก แต่เมื่อกลิ่นของตะไคร้หอมจางลง ยุงก็จะกลับมาเหมือนเดิม ทางชมรมฯจึงพยายามคิดหาวิธีไล่ยุงในรูปแบบใหม่ โดยได้ไปขอรับคำปรึกษาจากผู้ใหญ่ในชุมชน จนมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับความมุ่งมั่นของสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ ซึ่งนำมาสู่การแปรรูปต้นตะไคร้หอมจนกลายเป็น "เสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง"ในที่สุด
เริ่มต้นจากการทดลองนำเส้นใยของต้นตะไคร้หอมมาผลิตเป็นเสื่อโดยทอผสมกับต้นกกที่เป็นวัสดุในการทำเสื่อในอดีต เมื่อนำเสื่อที่ผลิตได้ไปแจกจ่ายชาวบ้านใช้ปูนั่งปูนอน ปรากฏว่าสามารถไล่ยุงได้ผลดีมากยุงไม่เข้าใกล้ และเมื่อนำเสื่อไปถวายพระ เณร และแม่ชี ไว้ใช้นั่งวิปัสนากรรมฐานในป่า พบว่าเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่ยุงได้ผลดีเช่นกัน พระ เณร และชี ไม่ต้องเดือดร้อนรำคาญกับการไล่ยุงอีกต่อไป...
หลังจากที่ภายในชุมชนมีการตอบรับที่ดีในการใช้เสื่อตะไคร้หอมแล้ว จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่ม "ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง" ขึ้นเพื่อผลิตเสื่อออกจำหน่ายหารายได้เสริม ให้กับเด็กและเยาวชน น.ส.จักษณา กล่าว
น.ส.วันวิสา เดื่อนขุนทด อีกหนึ่งในสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา ได้เล่าถึงวิธีการทำเสื่อตะไคร้หอมไล่ยุงให้ฟังว่า การทำเสื่อตะไคร้หอมนั้นคล้ายๆ กับการทำเสื่อทั่วไป เริ่มต้นด้วยการนำกกไปย้อมเพื่อให้ได้สีต่างๆตามต้องการ จากนั้นนำกกไปตากให้แห้ง หรือถ้าต้องการสีธรรมชาตก็จะใช้กกตากแห้งธรรมดาขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ ก่อนจะเริ่มทอจะนำกกไปแช่น้ำอีกครั้งประมาณ 5 -10 นาที เพื่อให้กกนิ่มจึงนำขึ้นจากน้ำ นำกกมาวางไว้ด้านที่คนทอถนัด ในการทอจะใช้คนทอเพียงคนเดียว สอดไม้ส่งกกตามลวดลายที่วางไว้จนสุดความกว้างของด้าย แล้วสอดเส้นกกใส่ปลายไม้ดึงกลับคืน ทำลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยจะแทรกตะไคร้เข้าไปสลับกับกก ซึ่งจะใช้กก 3 ถึง 4 เส้นต่อตะไคร้ 1 เส้น ทอสลับกันไปจนได้ความยาวของเสื่อตามต้องการ หรือทอจนกระทั่งได้เสื่อเต็มผืนแล้วจึงตัดแต่งริมกกให้สวยงาม
เสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมผืนหนึ่งจะใช้ไล่ยุงได้นานจนกว่าเสื่อผืนนั้นจะเปื่อยยุ่ย หรือขาดจนไม่สามารถใช้ปูนั่งได้อีก หรือถ้ากลิ่นตะไคร้หอมเริ่มจางลงก็สามารถใช้สารสกัดจากน้ำหมักตะไคร้หอมฉีดพรมเสื่อให้ทั่วทั้งผืน เท่านี้ก็จะไล่ยุงได้เหมือนเดิมแล้ว
การผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง ของชมรมทูบีนัมเบอร์วันตำบลหนองตะไก้ช่วยให้เยาวชนมีรายได้เสริมถึง 1,000 - 2,000 บาทต่อเดือน เป็นรายได้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าเล่าเรียนให้กับผู้ปกครอง และสามารถลดปัญหาลาออกจากการเรียนกลางคันของน้องเยาวชนได้ด้วย ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากนี้ก็คือการที่คนในครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าเป็นเวลาที่ผู้ใหญ่จะได้พบปะลูกหลานและอบรมสั่งสอนในเรื่องต่างๆ ทางด้านชุมชนก็จะมีการรวมกลุ่มเพื่อทำการสานเสื่อร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในชุมชนด้วย น.ส.วันวิสา กล่าว
กิจกรรม"ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง" ของชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ ในวันนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อไม่ให้เยาวชนหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่างๆอีกด้วย จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. พบว่า มีเด็กและเยาวชนหลายคนที่ลาออกจากการเรียนกลางคัน สาเหตุสำคัญของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก ฐานะทางบ้านยากจน เด็กต้องอพยพย้ายถิ่นตามผู้ปกครองหรือไม่ก็มีปัญหาในครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยกเด็กต้องอยู่กับปู่ย่าตายายที่ไม่มีรายได้ ในครอบครัวมีคนเจ็บป่วย หรือพ่อแม่ผู้ปกครองมีปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ต้องคดีถูกจับ เป็นต้น ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีปัญหานี้มากที่สุด มีเด็กและเยาวชนลาออกจากโรงเรียนกลางคัน มากถึง 5,264 คน คิดเป็นร้อยละ 2. 35 รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตามลำดับ
เพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา จึงได้คิดริเริ่ม จัดตั้งกลุ่ม "ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง " ขึ้นเพื่อจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับเยาวชนผู้เป็นสมาชิก ไว้เป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อลดปัญหาการลาออกจากการเรียนกลางคัน
น.ส.จักษณา หนึ่งด่านจาก สมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่า “การผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง”ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากชุมชนและโรงเรียนประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยในตอนแรกทางชมรมทูบีนัมเบอร์วันได้ใช้น้ำตะไคร้หอมฉีดพ่นตามพุ่มไม้ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจนสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งในการป้องกันโรคไข้เลือดออก แต่เมื่อกลิ่นของตะไคร้หอมจางลง ยุงก็จะกลับมาเหมือนเดิม ทางชมรมฯจึงพยายามคิดหาวิธีไล่ยุงในรูปแบบใหม่ โดยได้ไปขอรับคำปรึกษาจากผู้ใหญ่ในชุมชน จนมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับความมุ่งมั่นของสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ ซึ่งนำมาสู่การแปรรูปต้นตะไคร้หอมจนกลายเป็น "เสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง"ในที่สุด
เริ่มต้นจากการทดลองนำเส้นใยของต้นตะไคร้หอมมาผลิตเป็นเสื่อโดยทอผสมกับต้นกกที่เป็นวัสดุในการทำเสื่อในอดีต เมื่อนำเสื่อที่ผลิตได้ไปแจกจ่ายชาวบ้านใช้ปูนั่งปูนอน ปรากฏว่าสามารถไล่ยุงได้ผลดีมากยุงไม่เข้าใกล้ และเมื่อนำเสื่อไปถวายพระ เณร และแม่ชี ไว้ใช้นั่งวิปัสนากรรมฐานในป่า พบว่าเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่ยุงได้ผลดีเช่นกัน พระ เณร และชี ไม่ต้องเดือดร้อนรำคาญกับการไล่ยุงอีกต่อไป...
หลังจากที่ภายในชุมชนมีการตอบรับที่ดีในการใช้เสื่อตะไคร้หอมแล้ว จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่ม "ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง" ขึ้นเพื่อผลิตเสื่อออกจำหน่ายหารายได้เสริม ให้กับเด็กและเยาวชน น.ส.จักษณา กล่าว
น.ส.วันวิสา เดื่อนขุนทด อีกหนึ่งในสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ จังหวัดนครราชสีมา ได้เล่าถึงวิธีการทำเสื่อตะไคร้หอมไล่ยุงให้ฟังว่า การทำเสื่อตะไคร้หอมนั้นคล้ายๆ กับการทำเสื่อทั่วไป เริ่มต้นด้วยการนำกกไปย้อมเพื่อให้ได้สีต่างๆตามต้องการ จากนั้นนำกกไปตากให้แห้ง หรือถ้าต้องการสีธรรมชาตก็จะใช้กกตากแห้งธรรมดาขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ ก่อนจะเริ่มทอจะนำกกไปแช่น้ำอีกครั้งประมาณ 5 -10 นาที เพื่อให้กกนิ่มจึงนำขึ้นจากน้ำ นำกกมาวางไว้ด้านที่คนทอถนัด ในการทอจะใช้คนทอเพียงคนเดียว สอดไม้ส่งกกตามลวดลายที่วางไว้จนสุดความกว้างของด้าย แล้วสอดเส้นกกใส่ปลายไม้ดึงกลับคืน ทำลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยจะแทรกตะไคร้เข้าไปสลับกับกก ซึ่งจะใช้กก 3 ถึง 4 เส้นต่อตะไคร้ 1 เส้น ทอสลับกันไปจนได้ความยาวของเสื่อตามต้องการ หรือทอจนกระทั่งได้เสื่อเต็มผืนแล้วจึงตัดแต่งริมกกให้สวยงาม
เสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมผืนหนึ่งจะใช้ไล่ยุงได้นานจนกว่าเสื่อผืนนั้นจะเปื่อยยุ่ย หรือขาดจนไม่สามารถใช้ปูนั่งได้อีก หรือถ้ากลิ่นตะไคร้หอมเริ่มจางลงก็สามารถใช้สารสกัดจากน้ำหมักตะไคร้หอมฉีดพรมเสื่อให้ทั่วทั้งผืน เท่านี้ก็จะไล่ยุงได้เหมือนเดิมแล้ว
การผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง ของชมรมทูบีนัมเบอร์วันตำบลหนองตะไก้ช่วยให้เยาวชนมีรายได้เสริมถึง 1,000 - 2,000 บาทต่อเดือน เป็นรายได้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าเล่าเรียนให้กับผู้ปกครอง และสามารถลดปัญหาลาออกจากการเรียนกลางคันของน้องเยาวชนได้ด้วย ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากนี้ก็คือการที่คนในครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าเป็นเวลาที่ผู้ใหญ่จะได้พบปะลูกหลานและอบรมสั่งสอนในเรื่องต่างๆ ทางด้านชุมชนก็จะมีการรวมกลุ่มเพื่อทำการสานเสื่อร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในชุมชนด้วย น.ส.วันวิสา กล่าว
กิจกรรม"ผลิตเสื่อสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง" ของชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลหนองตะไก้ ในวันนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อไม่ให้เยาวชนหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่างๆอีกด้วย