กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
กฎหมายแรงงานไทยที่ผู้บริหารกิจการจำเป็นต้องทราบ (Thai Labor Law for Executive)อบรมวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2554ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
เนื่องจากในปัจจุบันมีกิจการต่างๆในรูป บริษัท/ห้าง/ร้าน/องค์กรและ สมาคมต่างๆ จดทะเบียนประกอบกิจการในราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมาก แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการต่างๆ ทั้งที่เป็นคนไทย และชาวต่างประเทศ อาจมีความรู้ในการทำงานเป็นอย่างดี แต่มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายแรงงานไทยไม่ถูกต้อง จึงได้มีการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงานอยู่บ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่มิได้ตั้งใจจะกระทำความผิด แต่เพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในตัวบทกฎหมายแรงงานไทย ทำให้มีการสั่งการต่างๆ ที่ผิดกฎหมายบ้าง กระทำผิดกฎหมายบ้าง หรือมิได้สั่งการให้กระทำให้ถูกกฎหมายแรงงานไทยบ้าง ซึ่งก็จะตกเป็นผู้กระทำผิด และตัวบุคคลผู้บริหารกิจการนั้นๆก็ต้องถูกลงโทษตามบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากกฎหมายมิได้บัญญัติให้ลงโทษกิจการ แต่กฎหมายบัญญัติ ให้ลงโทษตัวบุคคลผู้บริหารกิจการที่กระทำผิดกฎหมายนั้นๆ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีคำถามจากผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย ผู้บริหารฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ ผู้บริหารฝ่ายนโยบายและกำกับ ของกิจการต่างๆ รวมทั้งผู้ที่เป็นเลขานุการของ กรรมการผู้จัดการ และ ประธานบริษัทต่างๆ ได้สอบถามปัญหาไปที่ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแรงงานระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์เสมือนเป็นห้องสมุดกฎหมายแรงงานไทยเคลื่อนที่ ให้ช่วยชี้แจง ให้ความกระจ่างในกฎหมายแรงงานไทยอยู่บ่อยครั้งมาก
ดังนั้น WASO Training Center จึงได้เปิดการอบรมนี้เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในแง่มุมที่สำคัญของกฎหมายแรงงานไทย ที่ผู้บริหารกิจการต่างๆจำเป็นต้องทราบ ซึ่งกิจการต่างๆ ควรส่งบุคลากรทุกระดับ ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับคนของบริษัทฯ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทฯ มารับการสัมมนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในครั้งนี้
Training Schedule
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.30 น
1. ลักษณะของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีความสำคัญเพียงไร
2. การทำสัญญา / ข้อตกลง ที่ลูกจ้างเต็มใจตกลงด้วย ทำไมศาลฎีกา ให้ตกเป็นโมฆะ
3. กิจการทำผิดกฎหมาย ทำไมผู้บริหารกิจการจึงต้องถูกจำคุก และ /หรือ ถูกปรับ มาจากกฎหมายอะไรในมาตราใด มีความหมายอย่างไร
4. ต่อไปจะไม่จ้างลูกจ้างประจำ จ้างแต่ลูกจ้างชั่วคราวได้ไหม
5. การจ้างลูกจ้างชั่วคราว จ้างได้ไม่เกินกี่ปี จ้างกันนานๆจะกลายเป็นลูกจ้างประจำไหม
6. การนับอายุงาน นับอย่างไรจึงจะถูกต้อง
7. ค่าชดเชยมีกี่อัตรา จ่ายเท่าไร ทำไมจึงมิใช่จ่าย 1 เท่า, 3 เท่า, 6 เท่า, 8 เท่า, 10 เท่า ของเงินเดือน
8. พนักงานลาออก ไม่ต้องจ่ายเงินอะไรบ้าง
9. เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานปี 2551 มีเงื่อนไขอย่างไร
10. งานใดไม่ควรใช้การจ้างแรงงาน แต่ควรจ้างแบบเหมาบริการ มีประโยชน์แก่กิจการอย่างไร
11. การจ้างเหมาค่าแรง คือการจ้างแบบใด และกิจการที่จ้างต้องมีความรับผิดชอบอย่างไร
12. ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเท่าไร จึงจะถูกกฎหมาย
13. การคิดค่าจ้างต่อวันในลูกจ้างรายเดือน คิดอย่างไรจึงจะถูกกฎหมาย
14. การปฏิบัติต่อลูกจ้างชาย -หญิง อย่างเท่าเทียมกัน มีความหมายเพียงไร
15. งานใดควรใช้เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น และงานแบบใดควร fix เวลาเข้างาน /ออกงาน
16. การให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง subcontractor มีผลให้กิจการนั้นกลายเป็นนายจ้างโดยตรงทันที การให้สวัสดิการแบบใดที่ไม่ทำให้กิจการตกเป็นนายจ้างของลูกจ้าง subcontractor
17. ขั้นตอนการนัดหยุดงานที่ถูกกฎหมาย มีกระบวนการ และขั้นตอนอย่างไร
18. ถ้าลูกจ้างนัดหยุดงานผิดขั้นตอน นายจ้างควรดำเนินการอย่างไร
19. จะลงโทษกรรมการสหภาพแรงงานที่ทำผิด เหมือนพนักงานทั่วไป ได้หรือไม่ เพียงไร
20. ข้อห้ามในการเลิกจ้างลูกจ้าง 3 มาตรา มีอย่างไร หากฝ่าฝืนผู้บริหารกิจการมีโทษอย่างไร
21. กรรมการสหภาพแรงงาน มีสิทธิลาไปร่วมกิจกรรมอะไรได้บ้าง โดยถือเป็นวันทำงาน
22. ทำไมสหภาพแรงงาน จัดกิจกรรมในวันเวลาทำงานไม่ได้
23. ปัญหาที่ต้องระวังในการอนุมัติให้สหภาพแรงงาน ลาไปทำกิจกรรมต่างๆมีอย่างไร
24. ควรมีเงื่อนไขจำกัดอย่างไร ในการให้ลาไปทำกิจกรรมต่างๆ
25. นายจ้างจะป้องกันความลับทางธุรกิจมิให้รั่วไหล ในการเจรจาต่อรองได้แค่ไหน อย่างไร
26. ความจำเป็นในการชี้แจงเหตุผล และปัญหาการประกอบธุรกิจ ควรกระทำในขอบเขตเพียงไร
27. การประเมินผลงานกรรมการสหภาพฯ ควรใช้แบบฟอร์มแตกต่างจากลูกจ้างทั่วไปหรือไม่ อย่างไร
28. หากใช้แบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ทำไมถึงมีการจำคุกผู้บริหารกิจการด้วย มาจากกฎหมายมาตราใด
29. นายจ้างเข้าไปจัดการกับผู้ที่เป็นกรรมการสหภาพฯ ที่ลูกจ้างไม่นิยม ไม่ชอบ ได้เพียงไร
30. กฎหมายแรงงานไทยภาคเอกชนที่สำคัญ มีถึง 6 ฉบับรวม 602 มาตราที่ยังไม่นับรวมประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ประกาศอธิบดี คำสั่งอธิบดีในกิจการภาคเอกชน และยังไม่นับรวมกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจไทย) มีกฎหมายแรงงานไทยในชื่อใดบ้าง แต่ละฉบับมีกี่มาตรา
31. ทางออกของผู้บริหารกิจการต่างๆ หรือ ตัวช่วยในการแก้ปัญหาความไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมายแรงงานไทย มีอย่างไรบ้าง
32. ถาม — ตอบ สารพันปัญหาในกฎหมายแรงงานไทย
Instructor
อ .รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ประธานที่ปรึกษาสำนักงานกฎหมายมงคลรุ่งเรือง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน ฯลฯ
Registration Fee
3,200 + VAT 224 = 3,424 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)