ควอวาติส ของแอร์บัส และอินดิโก้สาธิตเทคโนโลยีการนำร่อง RNP ครั้งแรกในประเทศอินเดีย

ข่าวท่องเที่ยว Wednesday December 29, 2010 15:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--โทเทิ่ล ควอลิตี้ พีอาร์ ควอวาติส ของแอร์บัส และอินดิโก้สาธิตเทคโนโลยีการนำร่อง RNP ครั้งแรกในประเทศอินเดีย เอ 320 ของอินดิโก้ สายการบินแห่งแรกที่บินด้วยเทคโนโลยีการนำร่อง RNP ณ สนามบินนานาชาติโคชิน ควอวาดิส อาร์เอ็นพี บริษัทสาขาของแอร์บัส และ สายการบินอินดิโก ได้ประสบความสำเร็จในการสาธิตเทคโนโลยีการนำร่อง Required Navigation Performance (RNP) ในเครื่องบินแอร์บัส เอ320 และนี่ถือเป็นเที่ยวบินทางพาณิชย์เที่ยวแรกในประเทศอินเดีย ณ สนามบินนานาชาติโคชิน ซึ่งเป็นสนามบินแห่งชาติที่มีผู้คนพลุกพล่านเป็นอันดับ 7 ของอินเดีย ขั้นตอนของเทคโนโลยีการนำร่อง RNP สำหรับสนามบินแห่งนี้ได้มีการทำให้สมบูรณ์ด้วยโปรแกรมจำลองเที่ยวบินของแอร์บัส ซึ่งเป็นการพัฒนาโดย ควอวาดิส จากการประสบความสำเร็จในเที่ยวบินของสายการบินอินดิโก ทำให้เจ็ท แอร์เวย์ เตรียมทดสอบระบบนี้ในสนามบินด้วยเครื่อง โบอิ่ง 737-800 เช่นกัน โดยบรรดาสายการบินที่ให้บริการด้วยเครื่องบินซึ่งรองรับระบบนำร่อง RNP จะได้รับประโยชน์อย่างมากหลังจากที่ทางการอินเดียได้ทำการรอนุมัติการใช้ระบบ RNP ที่สนามบินนานาชาติโคชินอย่างเป็นทางการ “เทคโนโลยีการนำร่อง RNP เป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้านการประหยัดทรัพยากรทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัย” พอล-ฟรังค์ บิยอว์ ซีอีโอของ ควอวาดิส กล่าว “เทคโนโลยีการนำร่อง RNP มีความยืดหยุ่นที่จำเป็น ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและแยกเส้นทางการบินที่แตกต่างจากการเดินทางแบบnon-RNP รวมทั้งภูมิประเทศ และ อุปสรรคต่างๆ” พอล-ฟรังค์ บิยอว์กล่าวเพิ่มเติมว่า “ควอวาดิสได้ร่วมกับ CGx AERO ในเอสวายเอส และอีเอ็นเอซี (Ecole Nationale de l’Aviation Civile) เพื่อทำงานร่วมกับทางการของอินเดีย (ดีจีซีเอ) ทางการท่าอากาศยานของอินเดีย รวมทั้งสายการบิน 2 สาย ได้แก่ สายการบินอินดิโก และ เจ็ท แอร์เวย์ เพื่อพัฒนาขั้นตอนการทำงานของเทคโนโลยีการนำร่อง RNP” โดยระบบการนำร่องสำหรับอินเดียในครั้งนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากแอร์บัส และกรมการบินพลเรือนของฝรั่งเศส (ดีจีเอซี) จะได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางการท้องถิ่นและสายการบินที่ใช้บริการยังท่าอากาศยานนานาชาติโคชิน ดังนี้: - การบริหารจัดการเส้นทางการบินอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้เครือข่ายเส้นทางการบินที่มีอยู่ - เส้นทางการบินที่สั้นขึ้น สามารถประหยัดระยะการบินได้ถึง 40 นาโนเมตร เท่ากับสามารถประหยัดพลังงานต่อการลงจอดได้ประมาณ 1,000 ปอนด์ ทั้งยังลดการปล่อยมลภาวะทางเสียงของเครื่องบินได้ - ง่ายต่อการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีเรดาร์จำกัดหรือไม่มีเรดาร์ “การบินด้วยเทคโนโลยีการนำร่อง RNP ในสนามบินที่มีความพลุกพล่าน ถือเป็นสิ่งที่ดีที่รับประกันถึงการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ และการปฏิบัติการที่มีความแน่นอน พร้อมทั้งลดเวลาของเที่ยวบิน และเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการใช้เชื้อเพลิงอีกด้วย” กัปตัน เคทปาเลีย หัวหน้าการตรวจสอบเที่ยวบินของดีจีซีเอ กล่าว “เรามุ่งไปสู่การบินเชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยีการนำร่อง RNP APCH ที่สนามบินนานาชาติโคชินในอนาคตอันใกล้นี้” อาดิทยา โกช ประธานของสายการบินอินดิโกกล่าว “เราคาดหวังที่จะประหยัดต้นทุนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการของเรา” เขากล่าว “สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของก้าวที่สำคัญในการพัฒนาการบริหารจัดการด้านทางอากาศของอินเดีย พร้อมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม” ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ + 66 2 260 5820 ต่อ 115

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ