ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2550 มีกำไรสุทธิ 3,699 ล้านบาท

ข่าวทั่วไป Friday April 20, 2007 08:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2550 มีกำไรสุทธิ 3,699 ล้านบาทเพิ่มร้อยละ 207 จากไตรมาสก่อน โดย
สินเชื่อ SME และสินเชื่อเช่าซื้อขยายตัวสูง
ธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งผลประกอบการเบื้องต้นสำหรับไตรมาส 1/2550 (งบการเงินรวม) ก่อนการสอบทานโดยผู้สอบบัญชีอิสระ มีกำไรสุทธิจำนวน 3,699
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,495 ล้านบาทหรือร้อยละ 207.3 จากไตรมาสก่อน และลดลง 523 ล้านบาทหรือร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่เอื้ออำนวยแต่ผลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ โดย
สินเชื่อมีอัตราเติบโตสูงกว่าตลาด เพิ่มขึ้น 17,857 ล้านบาทจากสิ้นปี 2549 โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ (SME) และสินเชื่อเช่าซื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
และ 10.2 ตามลำดับ เมื่อประกอบกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.54 รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
จึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตร้อยละ 2.0 จากไตรมาสก่อน
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า
“สำหรับไตรมาสที่หนึ่งปี 2550 ธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยนัก เป็นผลมาจากความแข็งแกร่ง
และการเตรียมความพร้อมในทุกด้านของธนาคาร”
“นโยบายธุรกิจสำหรับระยะเวลาที่เหลือของปี 2550 นี้ ธนาคารไทยพาณิชย์จะยังคงดำเนินกลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งตลาดสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะสินเชื่อ SME และเช่าซื้อ พร้อมทั้งรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจลูกค้าบุคคล ทั้งนี้ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังค่อนข้างผันผวน
ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง และคุณภาพสินเชื่อด้วย”
คุณกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวเสริมว่า
“ผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสที่ผ่านมานั้นเป็นที่น่าพอใจ สินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SME และเช่าซื้อที่
ขยายตัวได้ดีใกล้เคียงกับเป้าหมาย นอกจากนี้ธนาคารสามารถบริหารให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ปรับตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 3.54
ขณะเดียวกันรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยยังเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะรายได้จากการปริวรรตและรายได้อื่นจากบริษัทย่อย”
“ในไตรมาสนี้ธนาคารตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในส่วนของธนาคารจำนวน 900 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับภาวะตลาด ณ สิ้นไตรมาส 1/2550
ธนาคารมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพสุทธิหรือ Net NPL จำนวน 23,428 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.4 ซึ่งธนาคารมีนโยบายที่จะบริหาร NPL ให้มีสัดส่วนลดลงเป็นลำ
ดับ”
รายการทางการเงินที่สำคัญสำหรับไตรมาสแรกของปี 2550
คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน หนึ่ง
สำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550
กำไรจากการดำเนินงานตามงบการเงินรวมในไตรมาสแรกประจำปี 2550 (ไม่รวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อย) ก่อนการสอบทานโดยผู้สอบบัญชีอิสระของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีจำนวน 6,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 จาก
จำนวน 6,207 ล้านบาทในไตรมาส 4/2549 และเพิ่มขึ้น 204 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.4 จากไตรมาส 1/2549
เมื่อพิจารณากำไรสุทธิมีจำนวน 3,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,495 ล้านบาทหรือร้อยละ 207.3 จากไตรมาส4/2549 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ธนาคาร
ได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญครั้งเดียวเพื่อรองรับมาตรฐานการบัญชีสากล (IAS 39) จำนวน 5,100 ล้านบาทในไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาส
1/2549 กำไรสุทธิลดลง 523 ล้านบาทหรือร้อยละ 12.4 เนื่องจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส เปลี่ยนแปลง ไตรมาส เปลี่ยนแปลง
1/2550 4/2549 (% qoq) 1/2549 (% yoy)
กำไรจากการดำเนินงาน 6,224 6,207 0.3% 6,020 3.4%
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,032 5,099 -79.8% 292 253.9%
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,468 -138 NA 1,455 0.9%
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 25 42 -41.0% 51 -51.8%
กำไรสุทธิ 3,699 1,204 207.3% 4,223 -12.4%
งบกำไรขาดทุนตามงบการเงินรวม สำหรับไตรมาสแรกของปี 2550
1. รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิในไตรมาสนี้ตามงบการเงินรวมมีจำนวน 8,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 351 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.2 จากไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้น 1,199 ล้านบาทหรือร้อยละ 15.9 จากงวดเดียวกันในปีที่ผ่านมา
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส เปลี่ยนแปลง ไตรมาส เปลี่ยนแปลง
1/2550 4/2549 (% qoq) 1/2549 (% yoy)
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 15,088 14,889 1.3% 10,694 41.1%
- เงินให้สินเชื่อ 11,142 10,963 1.6% 8,075 38.0%
- รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 1,839 2,107 -12.7% 1,253 46.8%
- การให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าการเงิน 1,059 907 16.7% - NA
- เงินลงทุน 1,048 912 14.9% 1,366 -23.3%
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 6,333 6,485 -2.3% 3,138 101.8%
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 8,755 8,404 4.2% 7,556 15.9%
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 3.54% 3.39% 3.69%
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อจำนวน 11,142 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179 ล้านบาท (ร้อยละ 1.6) จากไตรมาสก่อนจากการขยายตัวของ
สินเชื่อ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยระหว่างธนาคารและตลาดเงินลดลง 268 ล้านบาท (ร้อยละ 12.7) หรือเท่ากับ 1,839 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระหว่าง
ธนาคารที่ปรับลดลง สำหรับดอกเบี้ยจากการให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าการเงินเพิ่มขึ้น 152 ล้านบาท (ร้อยละ 16.7) เป็น 1,059 ล้านบาท เนื่องจากการ
เติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อ ส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 136 ล้านบาท (ร้อยละ 14.9) เป็นจำนวน 1,048 ล้านบาท โดยใน
ไตรมาสนี้ธนาคารได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งจำนวน 322 ล้านบาท
ดอกเบี้ยจ่ายของธนาคารในไตรมาสนี้มีจำนวน 6,333 ล้านบาท ลดลง 152 ล้านบาท (ร้อยละ 2.3) จากไตรมาส ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจาก
ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินฝาก จำนวน 5,442 ล้านบาท ลดลง 216 ล้านบาท (ร้อยละ 3.8)
หนึ่ง หมายเหตุ — การที่ธนาคารเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นเกินกว่าร้อยละ 50 ในเดือนเมษายน
2549 ทำให้บริษัทเปลี่ยนสถานะมาเป็นบริษัทย่อยของธนาคารซึ่งจะต้องนำมาจัดทำงบการเงินรวมตามมาตรฐานบัญชี โดยนำธุรกรรมของบริษัทมาแสดงเสมือนหนึ่ง
เป็นรายการของธนาคาร ดังนั้น งบการเงินรวมของธนาคารตั้งแต่ไตรมาส 2/2549 จะสะท้อนผลประกอบการของ บริษัทไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หลาย
รายการ ในขณะที่ในไตรมาส 1/2549 ผลประกอบการของ บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) จะแสดงอยู่ในรายการเดียวของงบการเงินรวมคือ รายการส่วน
แบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วม
จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคาร (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลดลงจากร้อยละ 3.5-5.0 ณ สิ้นปี 2549 เป็นร้อยละ 3.25-3.5 ณ
สิ้นไตรมาส 1/2550) ส่วนดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมลดลงร้อยละ 21.2 สำหรับดอกเบี้ยจ่ายของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.7 จากการ
บริหารสภาพคล่อง
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ปรับตัวดีขึ้นมากกว่าดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin)
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.39 ในไตรมาสก่อน เป็นร้อยละ 3.54 และลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.69 ในไตรมาส 1/2549 ทั้งนี้หากไม่รวมเงินปันผลจาก
กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็นร้อยละ 3.41
2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มาจากธุรกิจหลัก (ไม่รวมกำไรจากเงินลงทุน) ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ในไตรมาส 1/2550 มีจำนวน 5,301 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 191 ล้านบาท (ร้อยละ 3.7) จาก 5,110 ล้านบาทในไตรมาสก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจำนวน 3,423 ล้านบาท ลดลง 66 ล้านบาท (ร้อยละ 1.9) เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ
หลักทรัพย์ของบริษัทในเครือลดลง อย่างไรก็ตามรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคาร (จากงบการเงินเฉพาะธนาคาร) ยังขยายตัวดี
กำไรจากการปริวรรตมีจำนวน 771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107 ล้านบาท (ร้อยละ 16.1) ตามปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและการให้บริการด้านอนุพันธ์
การเงิน
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมของธนาคารมีจำนวน 89 ล้านบาท ลดลง 22 ล้านบาท (ร้อยละ 20.2) เป็นไปตามผลประกอบการของบริษัทร่วม
รายได้อื่นมีจำนวน 1,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 173 ล้านบาท (ร้อยละ 20.5) จากไตรมาสก่อน มีสาเหตุจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัทย่อย กำไร
จากการขายสินทรัพย์และสินทรัพย์รอการขาย
ในไตรมาสนี้ ธนาคารมีกำไรจากเงินลงทุน จำนวน 178 ล้านบาท ลดลง 81 ล้านบาท (ร้อยละ 31.3) จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด
โดยรวมแล้วรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยของธนาคารและบริษัทย่อยมีจำนวน 5,479 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110 ล้านบาท (ร้อยละ 2.0) จากไตรมาสก่อน
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส เปลี่ยนแปลง ไตรมาส เปลี่ยนแปลง
1/2550 4/2549 (% qoq) 1/2549 (% yoy)
ค่าธรรมเนียมและบริการ 3,423 3,489 -1.9% 3,450 -0.8%
- การรับรอง รับอาวัล และค้ำประกัน 213 209 1.9% 229 -7.2%
- อื่นๆ 3,210 3,280 -2.1% 3,221 -0.4%
กำไรจากการปริวรรต 771 664 16.1% 673 14.5%
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม 89 111 -20.2% 204 -56.6%
รายได้อื่น 1,019 846 20.5% 548 85.9%
รวมรายได้จากธุรกิจหลัก 5,301 5,110 3.7% 4,876 8.7%
กำไรจากเงินลงทุน 178 259 -31.3% 412 -56.8%
รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 5,479 5,369 2.0% 5,288 3.6%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มาจากธุรกิจหลักของธนาคารเพิ่มขึ้น 425 ล้านบาทหรือร้อยละ 8.7
จากกำไรจากการปริวรรต เพิ่มขึ้น 98 ล้านบาท และรายได้อื่น เพิ่มขึ้น 471 ล้านบาท เมื่อรวมกำไรจากเงินลงทุนที่ลดลง 234 ล้านบาท รายได้ที่มิใช่
ดอกเบี้ยของธนาคารในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 191 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.6 จากไตรมาส 1/2549
3. ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 8,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 444 ล้านบาท (ร้อยละ 5.9) จาก 7,566 ล้านบาทในไตรมาสก่อน โดยมีรายการ
สำคัญดังนี้
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน มีจำนวน 2,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 644 ล้านบาท (ร้อยละ 27.6) เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการตั้งค่าใช้จ่ายค้าง
จ่ายสำหรับค่าตอบแทนพิเศษตามผลงาน (Cash Bonus and Deferred Bonus) และการปรับเพิ่มเงินเดือนประจำปี
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์มีจำนวน 1,713 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44 ล้านบาท (ร้อยละ 2.6) จากการขยายเครือข่ายบริการและ
ระบบงานต่างๆ ของธนาคาร
ค่าภาษีอากรมีจำนวน 592 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72 ล้านบาท (ร้อยละ 13.8) ตามรายได้ดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้น
ค่าธรรมเนียมและบริการมีจำนวน 616 ล้านบาท ลดลง 96 ล้านบาท (ร้อยละ 13.4) จากค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ค่าใช้จ่ายอื่นมีจำนวน 1,297 ล้านบาท ลดลง 284 ล้านบาท (ร้อยละ 18.0) ส่วนใหญ่เป็นผลจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่น้อยลงของธนาคาร ขณะที่
ค่าใช้จ่ายของบริษัทย่อยสูงขึ้นตามปริมาณธุรกิจ
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส เปลี่ยนแปลง ไตรมาส เปลี่ยนแปลง
1/2550 4/2549 (% qoq) 1/2549 (% yoy)
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 2,978 2,334 27.6% 2,998 -0.7%
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 1,713 1,669 2.6% 1,589 7.8%
ค่าภาษีอากร 592 520 13.8% 446 32.6%
ค่าธรรมเนียมและบริการ 616 712 -13.4% 554 11.2%
ค่าตอบแทนกรรมการ 15 14 9.0% 21 -27.9%
เงินสบทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 799 736 8.5% 626 27.5%
ค่าใช้จ่ายอื่น 1,297 1,581 -18.0% 588 120.5%
รวมค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 8,010 7,566 5.9% 6,823 17.4%
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 56.3% 54.9% 53.1%
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1,186 ล้านบาทจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และ
อุปกรณ์ 124 ล้านบาท ค่าภาษีอากร 146 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการ 62 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่น 709 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยาย
เครือข่ายของธนาคาร และค่าใช้จ่ายทางการตลาด
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 54.9 เป็นร้อยละ 56.3 ในไตรมาสนี้ และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.1
ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ในไตรมาสนี้ ธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงบการเงินเฉพาะธนาคารจำนวน 900 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งสำรองเป็นการทั่วไป (General
Reserve) เมื่อรวมกับบริษัทย่อย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามงบการเงินรวมมีจำนวน 1,032 ล้านบาท
งบดุลตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ธนาคารมีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,077,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45,746 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.4 จากสินทรัพย์รวมจำนวน
1,031,596 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สินเชื่อและเงินฝาก
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ยอดสินเชื่อตามงบการเงินรวมของธนาคารมีจำนวน 765,494 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17,857 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.4 จากยอด
สินเชื่อ 747,637 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 โดยธนาคารมีการตัดหนี้สูญจำนวน 607 ล้านบาท
สินเชื่อทั่วไปของธนาคารเพิ่มขึ้นสุทธิจากสิ้นปี 18,086 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 ขณะที่สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สินลดลง 229 ล้านบาท
หรือร้อยละ 0.4
สินเชื่อของธนาคารยังขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อธุรกิจ (SME) ที่เพิ่มขึ้น 9,284 ล้านบาท (ร้อยละ 6.1 จากสิ้นปี 2549) และ
สินเชื่อเช่าซื้อที่เพิ่มขึ้น 5,305 ล้านบาท (ร้อยละ 10.2) ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 2,517 ล้านบาท (ร้อยละ 1.0) สินเชื่อเคหะ
เพิ่มขึ้น 4,498 ล้านบาท (ร้อยละ 2.4) และสินเชื่ออื่นๆ ลดลง 3,519 ล้านบาท (ร้อยละ 7.9)
(ล้านบาท)
เงินให้สินเชื่อ 31 มี.ค. 50 31 ธ.ค. 49 เปลี่ยนแปลง 31 มี.ค. 49 เปลี่ยนแปลง (% yoy)
(% qoq)
สินเชื่อทั่วไป 707,087 689,001 2.6% 556,839 27.0%
ธุรกิจขนาดใหญ่ 257,593 255,076 1.0% 242,939 6.0%
ธุรกิจ 162,248 152,964 6.1% 113,795 42.6%
สินเชื่อบุคคล 287,246 280,961 2.2% 201,589 42.5%
- สินเชื่อเคหะ 188,984 184,486 2.4% 171,534 10.2%
- สินเชื่อเช่าซื้อ 57,400 52,095 10.2% - NA
- สินเชื่ออื่นๆ 40,862 44,381 -7.9% 30,055 36.0%
สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สิน 58,407 58,636 -0.4% 64,344 -9.2%
รวมเงินให้สินเชื่อ 765,494 747,637 2.4% 622,667 22.9%
เงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวน 813,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 21,101 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 จากจำนวน 792,081 ล้านบาท ณ
สิ้นปี 2549 เป็นผลจากการจากการระดมเงินฝากของธนาคาร และการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากลูกค้าบริหารการเงินเพื่อธุรกิจ (Business Cash Management) และ
ลูกค้ารายใหญ่ โดยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8) เงินฝากจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.5) และเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7) ส่งผลให้สัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.0 ณ สิ้นปี 2549 เป็นร้อยละ
41.4 ณ สิ้นไตรมาส 1/2550
ณ 31 มีนาคม 2550 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก ตามงบการเงินรวมเท่ากับร้อยละ 94.1 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 94.4 ณ สิ้นปี 2549
ขณะที่สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากตามงบการเงินเฉพาะธนาคารเท่ากับร้อยละ 87.8 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 88.1 ณ สิ้นปี 2549
(ล้านบาท)
เงินฝาก 31 มี.ค. 50 31 ธ.ค. 49 เปลี่ยนแปลง 31 มี.ค. 49 เปลี่ยนแปลง (% yoy)
(% qoq)
จ่ายคืนเมื่อทวงถาม 35,098 33,922 3.5% 35,918 -2.3%
ออมทรัพย์ 336,702 324,783 3.7% 381,964 -11.8%
จ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา 441,383 433,376 1.8% 314,781 40.2%
- ไม่ถึง 6 เดือน 227,703 187,242 21.6% 189,721 20.0%
- 6 เดือนไม่ถึง 1 ปี 95,417 108,540 -12.1% 31,027 207.5%
- 1 ปีขึ้นไป 118,263 137,594 -14.0% 94,033 25.8%
รวมเงินฝาก 813,183 792,081 2.7% 732,663 11.0%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก (งบการเงินรวม) 94.1% 94.4% 85.9%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) 87.8% 88.1% 85.5%
2. เงินลงทุนในหลักทรัพย์
เงินลงทุนในหลักทรัพย์มีจำนวน 121,471 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 1/2550 เพิ่มขึ้น 24,514 ล้านบาท (ร้อยละ 25.3) จากสิ้นปี 2549 โดยเงิน
ลงทุนชั่วคราวสุทธิเพิ่มขึ้น 25,291 ล้านบาท (ร้อยละ 107.9) จากการลงทุนในตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น เงินลงทุนระยะยาวสุทธิลดลง 883 ล้านบาท และเงิน
ลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 106 ล้านบาท
(ล้านบาท)
31 มี.ค. 50 31 ธ.ค. 49 เปลี่ยนแปลง 31 มี.ค. 49 เปลี่ยนแปลง (% yoy)
(% qoq)
เงินลงทุนชั่วคราวสุทธิ 48,741 23,449 107.9% 24,536 98.6%
เงินลงทุนระยะยาวสุทธิ 69,306 70,190 -1.3% 72,878 -4.9%
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 3,424 3,318 3.2% 5,755 -40.5%
รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 121,471 96,957 25.3% 103,169 -17.7%
3. เงินกู้ยืม
เงินกู้ยืมมีจำนวน 30,438 ล้านบาท ลดลง 14,524 ล้านบาท (ร้อยละ 32.3) จากสิ้นปี 2549 โดยเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาวลดลง
7,782 ล้านบาท และ 6,742 ล้านบาทตามลำดับ จากการครบกำหนดอายุของหุ้นกู้
4. ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคาร ณ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวน 104,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,031 ล้านบาทจากสิ้นปี 2549 โดยส่วนใหญ่เนื่องมาจาก
กำไรสุทธิไตรมาส 1/2550 จำนวน 3,699 ล้านบาทและกำไรจากการตีราคาหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจำนวน 312 ล้านบาทตามสภาวะตลาด
มูลค่าตามบัญชีของธนาคาร ณ 31 มีนาคม 2550 คิดเป็น 30.77 บาทต่อหุ้น (จำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ณ 31 มีนาคม 2550 รวม 3,399 ล้าน
หุ้น) เพิ่มขึ้นจาก 29.58 บาทต่อหุ้น ณ สิ้นปี 2549
เงินกองทุนของธนาคารตามกฎหมาย (งบการเงินเฉพาะธนาคาร)
เงินกองทุนตามกฎหมาย (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2) ของธนาคาร ณ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวน 99,151 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.9 ของสินทรัพย์เสี่ยง
ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 78,916 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.1
สินเชื่อด้อยคุณภาพ (งบการเงินเฉพาะธนาคาร)
ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพทั้งหมดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (net
NPLs) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 จำนวนทั้งสิ้น 23,428 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้น 748 ล้านบาทจากจำนวน 22,680 ล้านบาท (ร้อยละ 3.4) ณ 31
ธันวาคม 2549 ซึ่งจำนวนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ที่เพิ่มขึ้นนี้ธนาคารได้มีสำรองไว้เพียงพอแล้ว สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อหนี้
สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (gross NPLs) วันที่ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวน 54,515 ล้านบาทหรือร้อยละ 7.6
ทั้งนี้ สินเชื่อด้อยคุณภาพ (net NPLs) ของธนาคารรวมบริษัทบริหารสินทรัพย์ จตุจักร จำกัด และบริษัทไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) มี
จำนวนรวม 25,585 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.5 และสินเชื่อด้อยคุณภาพ (gross NPLs) มีจำนวนรวม 61,489 ล้านบาทหรือร้อยละ 8.0
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวน 48,383 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 442 ล้านบาท จาก 47,941 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 ส่วนใหญ่
เป็นผลสุทธิของการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายที่ระมัดระวังของธนาคารและการตัดหนี้สูญ
(ล้านบาท)
31 มีนาคม 2550 31 ธันวาคม 2549
จำนวน ค่าเผื่อหนี้ จำนวน ค่าเผื่อหนี้
สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ
สินเชื่อจัดชั้นและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ปกติ* 653,760 9,775 636,692 10,856
กล่าวถึงเป็นพิเศษ* 7,908 221 9,270 396
ต่ำกว่ามาตรฐาน 6,420 3,667 5,831 3,095
สงสัย 6,405 2,433 10,690 3,132
สงสัยจะสูญ 41,690 19,820 36,168 19,079
รวมตามเกณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย 716,183 35,916 698,651 36,559
สำรองที่ตั้งเป็นการทั่วไปและเฉพาะรายเพิ่มเติม 12,467 11,382
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวม 48,383 47,941
สินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิจากสำรอง 23,428 22,680
(ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานและต่ำกว่า)
% ต่อสินเชื่อรวม (รวมเงินให้สินเชื่อสถาบันการเงิน) 3.4% 3.4%
หมายเหตุ: สำรองสำหรับชั้นหนี้ปกติและชั้นหนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษ ธนาคารไม่ได้นำหลักประกันมาหักจากยอดหนี้
ผลจากการเปลี่ยนแปลงวิธีบันทึกบัญชีเงินลงทุน
จากการที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศว่าด้วยเรื่องการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะของบริษัทจากวิธี
ส่วนได้ส่วนเสียเป็นวิธีราคาทุน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ซึ่งมีผลทำให้กำไรและกำไรสะสมในงบการเงินเฉพาะและงบการเงินรวมแตกต่างกัน
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเท่านั้น มิได้ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของธนาคารเปลี่ยนแปลงไป
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทำให้งบการเงินเฉพาะธนาคาร วันที่ 1 มกราคม 2550 เปลี่ยนแปลงไปดังนี้
กำไรสะสม ลดลง 1,568 ล้านบาท
เงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วมลดลง 1,662 ล้านบาท
รายการอื่นในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 95 ล้านบาท
งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ที่นำมาเปรียบเทียบมีกำไรลดลง 266 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ