กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--สกว.
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย นับถือศาสนาอิสลาม โดยร้อยละ 83 มีการใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสาร ทำให้ชุมชนมีอัตลักษณ์พิเศษด้านภาษา และวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างจากภาษาราชการ และวัฒนธรรมส่วนกลางอย่างมาก ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาภาคบังคับโดยมีการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย เท่านั้น ทำให้เกิดความสูญเสียอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิม ด้วยเหตุนี้ ระบบการเรียนการสอนดังกล่าวจึงไม่ได้รับความนิยมจากพี่น้องในพื้นที่ และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเรียนรู้ของเยาวชนมุสลิม อีกทั้งยังกลายเป็นอุปสรรคต่อการรับรู้ และความเข้าใจระหว่างชุมชนและภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เล็งเห็นว่า แนวทางการจัดการศึกษาอันอยู่บนฐานของภาษา และวัฒนธรรมท้องถิ่น จะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น/ความมั่นคงในอัตลักษณ์การเป็นคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู รวมทั้งการรู้หนังสืออย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการศึกษาภาคบังคับ รวมถึงการศึกษาระดับสูงต่อไปได้ จึงจัดให้มีการเสวนาเรื่อง “มลายูถิ่น” อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บทเรียนจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ ในวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2550 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สกว. เวลา 13.00-16.00 น.
กำหนดการ
13.00-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-13.45 น. กล่าวเปิดแถลงข่าวโดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
13.45-14.05 น. ภาพรวมการเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของนักวิจัยชาวบ้านกับการ
คลี่คลายปัญหาของคนภาคใต้
โดย ผศ.ปิยะ กิจถาวร
คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หน่วยประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภาคใต้ตอนล่าง
14.05-15.30 น. “มลายูถิ่น”: สื่ออัตลักษณ์ตัวตนคนแดนใต้... สะพานแห่งการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มลายู —ไทย
- การใช้ภาษาและความต้องการใช้ภาษาของคนภาคใต้
- การพัฒนาภาษาและการวางแผนการใช้ภาษามลายูถิ่นเพื่อการ จัดการศึกษาและพัฒนาชุมชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- การจัดทำ “5,000 คำศัพท์” พจนานุกรมภาษามลายูปาตานี-ไทย-มาเลเซีย ฉบับเพื่อการศึกษาและการสื่อสารเบื้องต้น
- การพัฒนาระบบเขียนภาษามลายูปาตานีโดยใช้อักษรไทยและอักษรยาวี
โดย ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์
ศูนย์ศึกษา และฟื้นฟูภาษา และวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษา และ
วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์แวยูโซ๊ะ สามะอาลี นักวิจัยในพื้นที่
อาจารย์เจะฮูเซน เจะอุบง นักวิจัยในพื้นที่
อาจารย์สาเหะอับดุลเลาะ อัลยุฟรี นักวิจัยในพื้นที่
อาจารย์แวมายิ ปารามัล นักวิจัยในพื้นที่
15.30-15.45 น. การจัดการศึกษาระบบทวิภาษา (สองภาษา)...เพื่อความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนใต้
โดย ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์
ผศ.ปิยะ กิจถาวร
อ.แวยูโซ๊ะ สามะอาลี
15.45-16.00 น. สรุป ซักถาม และปิดการแถลงข่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โทร.0-2270-1350 - 4 ต่อ 104 E-mail: pr@pr-trf.net