ไอบีเอ็มครองตำแหน่งสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก จดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ 18 ปีติดต่อกัน

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday January 18, 2011 11:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ไอบีเอ็มครองตำแหน่งสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก จดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ 18 ปีติดต่อกันจากนักประดิษฐ์ได้รับสิทธิบัตรกว่า 5,000 รายการในปี 2553 ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรของสหรัฐฯ 5,896 รายการในช่วงปี 2553 ซึ่งนับเป็นปีที่ 18 ติดต่อกันที่ครองตำแหน่งบริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก และเป็นบริษัทแรกที่ได้รับสิทธิบัตรของสหรัฐฯ มากถึง 5,000 รายการภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว ทั้งนี้ในอดีตนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มต้องใช้เวลากว่า 50 ปีสำหรับการจดสิทธิบัตร 5,000 รายการแรก นับจากที่บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2454 นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มเป็นองค์กรระดับโลกที่ได้สร้างคุณค่านวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ที่ช่วยพัฒนาการทำงานให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 100 ปีแล้ว กับภารกิจสำคัญซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึง เพื่อให้ระบบที่หลากหลายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์โลกที่ฉลาดมากขึ้นภายใต้แนวคิด Smarter Planet สิทธิบัตรและผลงานประดิษฐ์คิดค้นเหล่านี้นับเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มและบุคลากรของบริษัทฯ ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ในความเป็นผู้นำด้านสิทธิบัตร ความสำเร็จด้านงานประดิษฐ์คิดค้นของไอบีเอ็มเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นทุ่มเทของบริษัทฯ ในการสำรวจ วิจัย และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง โดยไอบีเอ็มใช้งบประมาณราว 6,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีสำหรับงานวิจัยและพัฒนา” ไอบีเอ็มได้คิดค้น วิจัยและพัฒนา งานประดิษฐ์ที่หลากหลายในช่วงปี 2553 โดยได้จดสิทธิบัตรจากนักประดิษฐ์กว่า 7,000 คนของไอบีเอ็มใน 46 รัฐของสหรัฐฯ และอีก 29 ประเทศ ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้บริษัททำลายสถิติการจดสิทธิบัตรสูงสุดในปี 2553 รวมทั้งบรรดานักประดิษฐ์ที่อยู่นอกสหรัฐฯ มีส่วนร่วมในผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรกว่า 22% ของบริษัทฯ และนับเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 27% ของนักประดิษฐ์ในต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม และนับตั้งแต่ที่ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรใบแรกเมื่อปี 2454 สำหรับบัตรเจาะรูที่ใช้ในการบันทึกคำสั่งควบคุม เรื่อยมาจนถึงสิทธิบัตรที่นักประดิษฐ์ของบริษัทฯ ได้รับในปี 2553 สำหรับระบบวิเคราะห์ข้อมูล, เทคโนโลยีซอฟต์แวร์และการประมวลผลหลัก, ระบบ Smart Utilities, ระบบจราจร และระบบสาธารณสุข บริษัทฯ ยังคงดำเนินกลยุทธ์ที่เหมาะสมและรอบด้านในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นโซลูชั่นที่รองรับการใช้งานจริง และทำให้ระบบต่างๆ รวมถึงกระบวนการ และโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังปรับปรุงขีดความสามารถในการผลิต และเพิ่มความรวดเร็วฉับไวในการตอบสนอง ตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์สำคัญๆ ที่น่าสนใจของไอบีเอ็มซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรในช่วงปี 2553 ได้แก่: - สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,761,440: วิธีการระบบ และผลิตภัณฑ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสังเคราะห์ข้อมูลการวินิจฉัยในฐานข้อมูลทางการแพทย์ — สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนี้จะช่วยปรับปรุงการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อรองรับระบบสาธารณสุขแบบอัจฉริยะ สิทธิบัตรเลขที่ 7,761,440 ออกให้แก่ โทนี่ โช, โรเบิร์ต ฟรีดแลนเดอร์, ริชาร์ด เฮนเนสซี และอันวาร์ คาห์น คณะนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม - สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,760,112: ระบบและวิธีการที่อาศัยระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้เพื่อแจ้งเตือนผู้ขับขี่เกี่ยวกับสภาพการจราจรที่ผิดปกติ — สิ่งประดิษฐ์นี้คาดการณ์สภาพการจราจรโดยอาศัยข้อมูลที่รับส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้ระหว่างรถยนต์แต่ละคน สิทธิบัตรเลขที่ 7,760,112 ออกให้แก่ เฟรเดอริค โบชอท และเจอราร์ด มาร์มิเกอร์ คณะนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม - สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,693,663: ระบบและวิธีการตรวจหาแผ่นดินไหวและสึนามิ และอินเทอร์เฟซสำหรับระบบเตือนภัย — สิทธิบัตรนี้อธิบายถึงเทคนิคที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนฮาร์ดไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์อย่างถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่น ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว โดยข้อมูลวิเคราะห์ที่ได้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินหลังจากที่เกิดภัยธรรมชาติ สิทธิบัตรเลขที่ 7,693,663 ออกให้แก่นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม โรเบิร์ต ฟรีดแลนเดอร์ และเจมส์ เครเมอร์ - สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,790,495: อุปกรณ์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ (Optoelectronic) ที่ประกอบด้วยเครื่องตรวจจับแสงที่ใช้ธาต์เจอร์เมเนียม — สิ่งประดิษฐ์นี้รองรับเทคโนโลยีชิป CMOS Integrated Silicon Nanophotonics ที่ไอบีเอ็มได้เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดยจะมีการผนวกรวมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงไว้บนซิลิคอนชิ้นเดียวกัน เพื่อให้ชิปคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันโดยใช้พัลส์ของแสง (แทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า) และนับเป็นผลงานการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยกว่า 10 ปีของห้องปฏิบัติการทั่วโลกของไอบีเอ็ม สิทธิบัตรเลขที่ 7,790,495 มอบให้แก่นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม โซโลมอน อัสเซฟา, วอลเตอร์ เบเดลล์, ยูริ วลาซอฟ และเฟิงเนียน เซียจำนวนสิทธิบัตรทั้งหมดของไอบีเอ็มในปี 2553 มีมากกว่าฮิวเลตต์-แพคการ์ดถึง 4 เท่า และเกินกว่าสิทธิบัตรที่ไมโครซอฟท์, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด, ออราเคิล, อีเอ็มซี และกูเกิลได้รับรวมกัน บริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ มากที่สุดในปี 2553* 1 ไอบีเอ็ม 5,896 2 ซัมซุง 4,551 3 ไมโครซอฟท์ 3,094 4 แคนนอน 2,552 5 พานาโซนิค 2,482 6 โตชิบา 2,246 7 โซนี่ 2,150 8 อินเทล 1,653 9 แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ 1,490 10 เอชพี 1,480 ข้อมูลจาก IFI CLAIMS Patent Services ข้อมูลเพิ่มเติมมีอยู่ที่: http://www.ibm.com/research หมายเหตุสำหรับสื่อมวลชน:สามารถรับชมและดาวน์โหลดวิดีโอและภาพข่าวสิทธิบัตรของไอบีเอ็มได้จาก http://www.thenewsmarket.com/ibm โดยวิดีโอมีให้เลือกทั้งแบบ HD, ความละเอียดมาตรฐาน และแบบสตรีมมิ่ง [สามารถลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์] สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จินรี ตัณมณี โทร. 02 273 4676 chinnare@th.ibm.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ