กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--แกรนท์ ธอร์นตัน
ระดับความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในภูมิภาคละตินอเมริกาต่อสภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีทัศนคติด้านบวกสูงสุดในช่วงวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน ฉบับล่าสุด หรือ 2011 Grant Thornton International Business Report (IBR) และเป็นครั้งแรกที่ภูมิภาคละตินอเมริกามีทัศนคติด้านบวกสูงนำภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกในปี 2011
ทั่วทั้งละตินอเมริกา นักธุรกิจมีทัศนคติด้านบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาคของตนในปี 2011 ที่ +75% ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) มีทัศนคติด้านบวกที่ +50% ในขณะที่อเมริกาเหนือมีทัศนคติด้านบวกเพียง +26% และยุโรปมีทัศนคติด้านบวกที่ต่ำที่สุดที่ +22%
สำหรับภายในละตินอเมริกา ประเทศชิลี (+95%) มีระดับทัศนคติด้านบวกสูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับการสำรวจ ตามด้วยบราซิล (+79%), อาร์เจนตินา (+70%) และเม็กซิโก (+64%)
เอ็ด นุสบอม ประธานกรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
"ในระยะเวลาหลายปีหลัง จุดศูนย์รวมของกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRIC) อยู่ในประเทศ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศละตินอเมริกาก็มีพัฒนาการอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจะมีการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 4% ในปี 2011 และหากความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เราจะได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของละตินอเมริกาในทศวรรษถัดไป"
"ความสำเร็จและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศบราซิลส่งผลอย่างมากต่อประเทศเพื่อนบ้าน
โดยข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของบราซิลที่คาดการณ์โดย IMF อยู่ที่ 7.5% ในปี 2010 ช่วยดึงให้ภูมิภาคโดดเด่นและแพร่กระจายทัศนคติด้านบวกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี, อาร์เจนตินา และเม็กซิโก นอกจากนี้ เรามิอาจละเลยผลกระทบต่อเนื่องทั่วทั้งภูมิภาคอันเกิดจากการที่บราซิลจะได้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขัน World Cup ในปี 2014 และ Olympics ในปี 2016 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในละตินอเมริกาและส่งผลต่อความรู้สึกเชื่อมั่นและทัศนคติด้านบวก"
ทัศนคติด้านบวกแกว่งตัวและแบ่งเป็นสองขั้วในยุโรป
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ IBR 2011 เปิดเผยว่ากลุ่มเศรษฐกิจหลักในยุโรปมีการแกว่งตัวของทัศนคติด้านบวก โดยธุรกิจในเยอรมนีมีทัศนคติด้านบวกสูงสุดในยุโรปที่ +75% ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา (2010: +38%) นอกจากนี้ ฟินแลนด์ (+57%), เบลเยี่ยม (+45%) และเนเธอร์แลนด์ (+19%) ล้วนมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระดับสูงสำหรับปี 2011 อย่างไรก็ตาม กลุ่มเศรษฐกิจในยุโรปที่ประสบกับปัญหาหนี้สาธารณะ ได้แก่ ไอร์แลนด์ (-45%), สเปน (-50%) และกรีซ (-44%) มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก
ผลการสำรวจของปีนี้รายงานถึงยุโรปในสองขั้วที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยระดับความเชื่อมั่นของธุรกิจที่แยกตัวออกเป็นสองแนวทางทั่วทั้งภูมิภาคจะส่งผลให้ประเทศในยุโรปที่มีความโกลาหลเมื่อปี 2010 มีความตึงเครียดสูงขึ้น การดำเนินการใช้ค่าเงินสกุลเดียวกันในประเทศต่างๆ ที่มีแนวนโยบายไปในทิศทางตรงกันข้ามก็จะยากยิ่งขึ้น ประเทศในแถบยุโรปจึงมีแนวโน้มที่จะประสบกับความตึงเครียดเป็นเวลาหลายปี ตลอดจนความผันผวนระยะยาวในตลาดเงิน ทั้งนี้ ปี 2011 อาจเป็นช่วงเวลาที่จะต้องมีการตัดสินใจครั้งสำคัญเกี่ยวกับเงินสกุลยูโร
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งปีที่ผ่านมามีทัศนคติด้านบวกสูงสุด กลับมีการลดระดับอย่างมีนัยสำคัญจาก +64% เป็น +50% เนื่องจากกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น จีน (ลดลงจาก +60% เมื่อปี 2010 เป็น +42%), ออสเตรเลีย (ลดลงจาก +79% เมื่อปี 2010 เป็น +37%) และนิวซีแลนด์ (ลดลงจาก +66% เป็น +35%) มีการแกว่งตัวของทัศนคติด้านบวกมายังทิศทางลบพอสมควร
ส่วนในประเทศไทย ก็ได้มีการสำรวจผู้บริหารธุรกิจว่ามีทัศนคติด้านบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้าว่าอยู่ในระดับใดเช่นกัน โดยสืบเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งเมื่อปี 2010 ทำให้ผลการสำรวจ IBR ในปีนี้ (2011) สะท้อนให้เห็นว่าระดับทัศนคติด้านบวกยังคงเพิ่มสูงขึ้นจาก 12% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็น 39% ในปีนี้
เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย แสดงความเห็นว่า “เราหวังว่ากระแสที่ต่อเนื่องของทัศนคติด้านบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจจะสามารถกลายเป็นจริงได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ยุ่งยากซับซ้อนในประเทศไทย และหากมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในปี 2011 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจน่าจะยังคงมีความแข็งแกร่งต่อไป หากปราศจากความไม่สงบทางการเมือง”
ธุรกิจทั่วโลกคาดว่าการลงทุนน้อยลงในปี 2011
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ IBR 2011 รายงานว่าเจ้าของธุรกิจคาดว่าจะมีระดับการลงทุนเพียงปานกลางในปี 2011 โดยธุรกิจทั่วโลกจำนวน 35% คาดว่าจะมีการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรกล และ 24% ที่คาดว่าจะมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) เว้นแต่ในจีนแผ่นดินใหญ่ที่แตกต่างออกไปคือธุรกิจจำนวน 47% คาดว่าจะมีการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรกล และ 61% ที่คาดว่าจะมีการลงทุนใน R&D
เอียน แพสโค กล่าวว่า “จะช้าหรือเร็ว ธุรกิจจะต้องมีการลงทุนหากต้องการเติบโต ดังนั้น รัฐบาลในกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ จึงควรสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วในหลายกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาแล้ว ทางเลือกในการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุนจึงอาจไม่สามารถทำได้อีก ดังนั้น รัฐบาลจำต้องมีความคิดที่สร้างสรรค์ โดยอาจมุ่งเน้นไปหาธนาคารที่มีระดับการให้กู้ยืมแก่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจต่างๆ ยังต่ำอยู่ เนื่องจากธนาคารเหล่านั้นต้องการสร้างเสริมงบดุลของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จากวิกฤตการณ์ทางการเงิน”
ในทางตรงกันข้ามกับประเทศอื่นๆ อีกจำนวนมาก นักธุรกิจไทยยังคงมีทัศนคติด้านบวกสูงกว่าปีที่ผ่านมาในทุกๆ ด้าน เช่นมีค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +59% ต่อรายรับที่สูงขึ้น, ค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +49% สำหรับการลงทุนทางด้านโรงงานและเครื่องจักรกล และ ค่าดุลยภาพทัศนคติที่ +47% สำหรับผลกำไรที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ เอียน แพสโค กล่าวเสริมว่า “การแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลให้การส่งสินค้าออกจากประเทศไทยมีราคาสูงยิ่งขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเดียวกันก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ดังนั้น ธุรกิจไทยจึงจำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรายังมีศักยภาพและแข่งขันได้ แกรนท์ ธอร์นตันสนับสนุนให้ผู้วางแผนนโยบายของประเทศให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจไทย โดยพัฒนากรอบการดำเนินการเพื่อให้การอนุมัติการกู้ยืมเงินจากธนาคารมีขั้นตอนที่ง่ายยิ่งขึ้น”
ความคาดหวังต่อการจ้างงาน
เมื่อสอบถามธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับความคาดหวังต่อการจ้างงานในปี 2011 ธุรกิจในยุโรปตอบรับว่ามีทัศนคติด้านบวกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ทั่วโลก โดยธุรกิจในยุโรปมีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวกที่ 16% เปรียบเทียบกับ +35% และ +56% ในเอเชียแปซิฟิกและละตินอเมริกาตามลำดับ ส่วนประเทศไทยมีค่าดุลยภาพทัศนคติในทิศทางบวกที่ +42% โดยเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมาก (+29%) แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ ASEAN เพียงเล็กน้อยที่ +45%
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาดหวังของกว่า 11,000 ธุรกิจจาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำแนวโน้มข้อมูล ซึ่งรวมถึง 19 ปีจากหลายประเทศในยุโรป และ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป
การเก็บข้อมูลการสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทางไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบเจอหน้ากัน), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีเจอหน้ากันและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวนครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้
การเก็บข้อมูลนั้นได้รับการบริหารจัดการโดยบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Experian Business Strategies ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็นภาษาของแต่ละประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ การสำรวจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 ได้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม ปี 2010 (ซึ่งเป็นผลที่ได้นำมาเผยแพร่ในเนื้อข่าวนี้)
กลุ่มตัวอย่างMETHODOLOGY
IBR เป็นการสำรวจความคิดเห็นของธุรกิจที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งทำการสำรวจธุรกิจกว่า 5,700 รายเมื่อไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 และกว่า 11,000 รายในแต่ละปี โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ
กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อ
เอียน แพสโค
กรรมการบริหาร
แกรนท์ ธอร์นตัน
โทร: 02 205 8100
อีเมล์: ian.pascoe@gt-thai.com
ลักษณ์พิไล วรทรัพย์
ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร
แกรนท์ ธอร์นตัน
โทร: 02 205 8142
อีเมล์:lakpilai.worasaphya@gt-thai.com