พิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์แห่งแรกของโลกเตรียมเปิดแล้วที่ มารีน่า เบย์ แซนด์ส พื้นที่แกลลอรี่กว่า 50,000 ตารางฟุต

ข่าวท่องเที่ยว Friday January 21, 2011 11:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--จิ๊กซอ คอมมิวนิเคชั่นส์ พิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์แห่งแรกของโลกเตรียมเปิดแล้วที่ มารีน่า เบย์ แซนด์ส พื้นที่แกลลอรี่กว่า 50,000 ตารางฟุต จัดแสดงผลงานชิ้นเอกและซุ้มนิทรรศการ ฤกษ์ดี 17 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 13.18 น. มารีน่า เบย์ แซนด์ส เตรียมเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์แห่งแรกของโลก การออกแบบอาคารของพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรูปลักษณ์ความงามของดอกบัวจะกลายเป็นศูนย์กลางของกระแสการตื่นตัวที่กำลังเติบโตขึ้นทางด้านศิลป์และศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นสถานที่แห่งแรกสำหรับการจัดทัวร์นิทรรศการนานาชาติใหญ่ๆจากคอลเลคชั่นที่มีชื่อเสียงทั่วโลก พิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างล่าสุดของมารีน่า เบย์ แซนด์ส ประกอบด้วย 21 แกลลอรี่ พื้นที่รวมทั้งหมด 50,000 ตารางฟุต จะพาเหรดขบวนนิทรรศการอันสุดประทับใจซึ่งครอบคลุมศาสตร์ในหลากหลายสาขาตั้งแต่ ศิลปะและวิทยาศาสตร์, สื่อและเทคโนโลยี่ ตลอดไปจนถึงการออกแบบและสถาปัตยกรรม มาจัดแสดง มร. โทมัส อาราสิ ประธานบริหารมารีน่า เบย์ แซนด์ส กล่าวว่า “สิงคโปร์ได้กลายเป็นศูนย์กลางปริวรรคเงินตราของธุรกิจทางการเงินที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมและความรู้ และที่พิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ของมารีน่า เบย์ แซนด์ส เราจะจัดให้มีเวทีสัมมนาที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทฤษฎีและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ล่าสุด เราภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำเสนอแก่ผู้สนใจทั้งในและนอกสิงคโปร์ ของขวัญที่สิงคโปร์มอบให้แก่โลก ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ใหม่ทางด้านวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ” นโยบายที่เรารับมาจากรัฐบาลสิงคโปร์ คือ การก่อสร้างมารีน่า เบย์ ต้องมีการสร้างศูนย์วัฒนธรรมที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์บนแหลมที่หันหน้าสู่ท้องทะเล และเพื่อเป็นการสนองนโยบาย โมเช่ ซาฟดี้ นักสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ฝันที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเกื้อหนุนปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลป์และศาสตร์ “บางคนมองพิพิธภัณฑ์เหมือนรูปทรงของดอกบัว ขณะที่บางคนเห็นเหมือนมือที่ผายออก แต่สำหรับผม การออกแบบพิพิธภัณฑ์เป็นตัวแทนจิตวิญญาณการมองไปข้างหน้าของสิงคโปร์” ซาฟดี้ กล่าว งานแสดงชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์ ศิลป์และศาสตร์ ซึ่งชื่อว่า ท่องสู่โลกแห่งการสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงชุดผลงานถาวรซึ่งจะเป็นฐานที่มั่นสำคัญในการเป็นด่านหน้าทางเทคโนโลยี่, การออกแบบและวัฒนธรรม ให้แก่พิพิธภัณฑ์ นิทรรศการจะเป็นการเปิดบทสนทนาระหว่างศิลป์และศาสตร์ และความสัมพันธ์ซึ่งไม่สามารถแยกจากกันได้ระหว่างสองสิ่งนี้ มร.ทอม ซาลเลอร์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ กล่าวว่า “สิ่งที่เชื่อมศิลป์และศาสตร์เข้าด้วยกัน คือสัญชาตญานของการช่างสังเกต การเชื่อมโยง การกล้าเสี่ยงและการค้นคว้าความคิดใหม่ๆ รวมทั้งวิธีที่จะเข้าใจถึงปัญญาญาณของธรรมชาติและประสบการณ์ที่ผ่านมาที่ก่อกำเนิดเป็นวัฒนธรรมของเรา ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์จะได้ศึกษาและค้นหาความสัมพันธ์ของความลึกลับเหล่านี้ผ่านแกลลอรี่ทั้ง 3 อันได้แก่ Curiosity (ความใคร่รู้) , Inspiration (แรงบันดาลใจ) และ Expression (การแสดงออก) เพื่อผู้ชมจะได้เริ่มการเดินทางสู่การสำรวจความคิดสร้างสรรค์ของตนเองผ่านบิดาแห่งนวัตกรรมอย่าง ลิโอนาโด ดา วินชี และ ลู แบง” Curiosity (ความใคร่รู้) เป็นแกลลอรี่ที่จะถึงเป็นที่แรกบนชั้นสามของพิพิธภัณฑ์ ที่ซึ่งผู้เข้าชมจะได้รับการแนะนำให้รู้จัก ความว่างเฉพาะ ผ่านการเดินขึ้นบันได “ลอย” ได้ แกลลอรี่ Curiosity จะท้าทายผู้เข้าชมด้วยคำถามซึ่งได้เคยกระตุ้นเหล่าศิลปินและนักคิดทางวิทยาศาสตร์ผ่านกาลเวลามาแล้วด้วยแผ่นป้ายโปร่งแสงที่แขวนจากเพดานเทลาดขนาดใหญ่ของแกลลอรี่ Inspiration (แรงบันดาลใจ) เป็นแกลลอรี่เชิงปฏิสัมพันธ์ที่จัดแสดงงานประดิษฐ์กรรมแขวนลอยขนาดใหญ่ 6 ชิ้น อันเปรียบเสมือนตัวแทนนวัตกรรมสร้างสรรค์ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมาซึ่งเชื่อมการแบ่งแยกของศิลป์และศาสตร์เข้าด้วยกัน แกลลอรี่มีทั้งผลงานของ ลิโอนาโด ดา วินชี อย่าง “Flying Machine” , ตะเกียงขงเบ้ง , ปลายนต์ไฮเทค , แบบจำลองพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ , แบบจำลองโมเลกุล “บัคกี้บอล” และจารึกแผ่นหนังจีนโบราณ อีกทั้งแกลอรี่ยังได้เตรียมทัชสกรีนที่บรรจุข้อมูลนวัตกรรมของศิลป์และศาสตร์ภายในบริเวณงาน อย่างเช่นงานด้าน สถาปัตยกรรม , การขนส่ง , เทคโนโลยี่ และการสำรวจ ไว้ให้ค้นหาได้อย่างสะดวก Expression (การแสดงออก) เป็นแกลลอรี่ Multimedia Dynamic ซึ่งเชื่อมภาพเคลื่อนไหว และระบบแสง สี เสียงเข้าด้วยกัน ผู้ชมจะหลงใหลไปกับพัฒนาการของนวัตกรรมผ่านระบบภาพไคเนติด ผู้ชมจะได้ติดตามไปกับการเดินทางของเหล่าศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ผ่านข้ามกาลเวลาและวัฒนธรรม และในระหว่างการบรรยายไฟจะส่องสว่างตามลำดับไปยังประดิษฐกรรมซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของศาสตร์ในแต่ละสาขา พิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ของมารีน่า เบย์ แซนด์ส ยังได้เป็นเจ้าภาพจัดซุ้มนิทรรศการของสะสม ที่นำมาจัดแสดงโดยพิพิธภัณฑ์ชั้นนำและจากนักสะสมทั่วโลก และในเดือนถัดๆ ไป พิพิธภัณฑ์จะได้เชิญบรรดาวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจะเป็นการชักนำเหล่านักคิดที่มีชื่อเสียงทั่วโลกในวงการศิลป์และศาสตร์มารวมตัวกันที่สิงคโปร์ เพื่อเปิดสัมมนาและเป็นการต่อยอดของศาสตร์ในด้านนี้ “มือที่ยินดีต้อนรับของสิงคโปร์” เป็นชื่อที่ประธานบริหาร ลาสเวกัส แซนด์ส คอร์ป มร.เชลดอน จี อเดลสัน ใช้เรียกพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ของมารีน่า เบย์ แซนด์ส อย่างชื่นชม รูปทรง “กลีบบัว“10 กลีบ ซึ่งกึ่งกลางถูกยึดด้วยฐานทรงกลมลักษณะเฉพาะ การออกแบบกลีบบัวแต่ละกลีบแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของพื้นที่แต่ละแกลลอรี่ที่รับแสงที่ส่องจากฟากฟ้าตรง “ปลายกลีบ” ก่อให้เกิดรูปแสงเงาบนผนังภายในแกลลอรี่อย่างชวนหลงใหล“ดอกบัวรูปทรงเรขาคณิตเป็นหนึ่งในการออกแบบที่ยุ่งยากที่สุดงานหนึ่ง แต่เพื่อความลงตัวของพิพิธภัณฑ์ศิลป์และศาสตร์ พิพิธภัณฑ์จึงได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” ซาฟดี้กล่าว หลังคาทรงจานช่วยเปิดทางระบายน้ำฝนให้ไหลลงสู่ห้องโถงกลางของพิพิธภัณฑ์ สรรค์สร้างให้เป็นน้ำตกความสูง 35 เมตร ไหลลงสู่สระน้ำสะท้อนประกายเบื้องล่าง น้ำฝนยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในห้องน้ำของอาคาร วัสดุที่ใช้อย่างเช่น โพลิเมอร์เสริมใยแก้ว (GFRP) ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ในเรือยอร์ชที่ใช้ในการแข่งขันนั้นไม่เคยถูกใช้ในการก่อสร้างที่ใดในสิงคโปร์มาก่อน แต่ได้ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมมหัศจรรย์หลังนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ