กรุงเทพฯ--7 มิ.ย.--ดาวิน ชอยส์
โรคหวัดแมว (cat flu)เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV) นอกจากนี้ยังอาจมีการติดเชื้ออื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Bordetella หรือ Clamydia ซึ่งจะทำให้แมวแสดงอาการรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในลูกแมวและแมวที่อ่อนแอ
รู้จักไวรัสหวัดแมว
โดยทั่วไป มีไวรัส 2 ชนิดเมื่อแมวได้รับเชื้อและจะมีการอาการหวัด โดยการแยกอาการของการติดเชื้อไวรัสสองตัวนี้อย่างคร่าว ๆ คือการสังเกตุได้จากอาการ ซึ่งไวรัส FCV จะไม่ค่อยมีอาการที่ตาและจมูก แต่อย่างไรก็ตาม แมวสามารถมีการติดเชื้อร่วมกันของไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นไปอีก Feline Viral Rhinotracheitis (FVRV) หรือ Feline Herpesvirus (FHV)
หลังจากแมวได้รับเชื้อ FVRV เชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 ถึง 10 วัน โดยจะทำให้แมวมีอาการอักเสบที่ตา จมูก หลอดลม ซึ่งทำให้แมวมีน้ำตาไหล มีน้ำมูกและเสมหะ นอกจากนี้ยังทำให้แมวมีอาการซึม หายใจลำบาก เป็นไข้ ไอ จามและเบื่ออาหาร ในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรีย ร่วมด้วยนั้น จะทำให้น้ำมูกข้นเหนียวจนเป็นหนอง อาจพบแผลหลุมเป็นวง ๆ บนลิ้น ทำให้แมวเจ็บมากจนไม่อยากกินอาหาร อาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นเกิดปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดอักเสบและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
Feline Calici Virus (FCV)
ไวรัสชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม แต่อาจแสดงอาการรุนแรงมากกว่านั้นได้ สำหรับอาการที่เด่นชัดที่สุดคือ แผลหลุมบนลิ้น จะทำให้มีน้ำลายไหลยืดตลอดเวลา แผลในช่องปากจะทำให้แมวกินอาหารลำบาก ความอยากอาหารลดลง ทำให้อาการทรุดลงเร็ว
การติดต่อของโรคไข้หวัดแมว
การติดต่อของหวัดแมวเกิดจากแมวได้รับการสูดดมเชื้อไวรัสที่กระจายในอากาศจากแมวที่ติดเชื้อ หรือมีการสัมผัสกับแมวที่ติดเชื้อโดยตรง ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณที่มีแมวมาอยู่รวมกันมาก ๆ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจติดตามเสื้อผ้าของเจ้าของที่ออกไปสัมผัสแมวป่วยนอกบ้านได้เช่นกัน ดังนั้นหลังจากสัมผัสแมวนอกบ้านแล้ว ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าและร่างกายก่อนที่จะมาสัมผัสแมวในบ้านเพื่อเป็นการป้องกันโรคสู่แมวของเรา ในกรณีที่แมวป่วยและหายจากโรคแล้วนั้นสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป
การดูแลและป้องกันเมื่อเจ้าเหมียวเป็นโรคหวัด
สิ่งแรกที่ต้องทำคือพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนว่าเป็นโรคหวัดแมวหรือไม่ การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย รวมทั้งยาลดเสมหะ นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพน้องแมวว่าจำเป็นต้องได้รับน้ำเกลือ วิตามินต่าง ๆ เพื่อบำรุงตามความเหมาะสมหรือไม่
การให้อาหารควรน้องแมวได้กินอาหารอย่างเพียงพอ เพราะหากเจ้าเหมียวมีแผลในปากจะทำให้ไม่อยากกินอาหารเอง จึงอาจต้องมีการป้อนอาหารและยาให้ นอกจากนี้ต้องดูแลเรื่องความสะอาดด้วย เช่น เช็ดขี้มูก ขี้ตาอย่าให้เกรอะกรัง ทำความสะอาดปากทุกครั้งหลังป้อนอาหาร และควรให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย เท่านี้น้องแมวของท่านก็จะหายจากอาหารหวัดแมวได้อย่างแน่นอน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือการนำแมวที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไปปะปนกับแมวภายนอก หากต้องนำแมวไปฝากเลี้ยงหรือต้องนำแมวไปในที่มีแมวรวมตัวกันมาก ๆ ต้องมั่นใจว่าแมวของเรามีภูมิคุ้มกันดีพอ ซึ่งทำได้โดยการนำแมวของท่านมารับวัคซีนป้องกันโรคหวัดแมว
หากคุณดูแลเอาใจใส่เจ้าแมวน้อยอย่างใกล้ชิด เจ้าแมวน้อยก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ปลอดภัยจากโรคหวัดอย่างแน่นอน สำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเจ้าเหมียว สามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์ ได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ซอยทองหล่อ โทร. 0-2712-6301-4 สาขาลาดพร้าว โทร. 0-2934-1407-9 สาขาสิรินทร-ปิ่นเกล้า โทร.0-2433-7550-1 หรือติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ www.thonglorpet.com
ต้องการข้อมูลข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณอรณัฐา สื่อมวลชนสัมพันธ์ บริษัท ดาวิน ชอยส์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์)
โทรศัพท์. 02 960 0852-4, 081 351 5296, 083 053 1756 โทรสาร 02 9600853
e-mail: medias@darwinchoice.co.th , darwinchoice@yahoo.com
website: http://www.darwinchoice.co.th