กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--สพฐ.
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัด ประกาศรางวัล "ยอดครูผู้มีอุดมการณ์" ในโครงการ "ตามรอยเกียรติยศ ครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู" เพื่อเป็นการยกย่องให้ครู มีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ทั้งปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม และสร้างค่านิยมให้สังคมยอมรับ และเพื่อผลักดันให้ครูมีกระบวนทัศน์ใหม่ ใฝ่รู้และรู้คิดได้อย่างรวดเร็ว ดำเนินงานประสบความสำเร็จและพัฒนาการศึกษาของประเทศ ในสภาพของชุมชน สังคม ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความ ยากลำบาก มีภัยคุกคามทางสังคม
สำหรับในปี 2554 นี้ สพฐ.ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการครู หรือผู้ทำหน้าที่ครู ทั้งภาคราชการและเอกชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ ที่มีชุมชนและสังคมที่มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม มีปัญหาภัยสังคมหรือความมั่นคงของประเทศ มีความเสี่ยงต่อ การปฏิบัติงานและเป็นผู้ทุ่มเท เสียสละเพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียน อย่างต่อเนื่อง จนเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศ ภาคละหนึ่งคน รวมทั้งหมด 4 คน ได้แก่
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางศิริพร หมั่นงาน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านวังอ้ายคง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา รวมทั้งยังเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยครูนครราชสีมา
2. ภาคเหนือ น.ส.สุพิทยา เตมียกะลิน ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านสล่าเจียงตอง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
3. ภาคใต้ นายศรัทธา ห้องทอง ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านคลองน้ำใส อ.กาบัง จ.ยะลา
4. ภาคกลาง นางสิริยุพา ศกุนตะเสถียร ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานารี เขตธนบุรี กทม.
สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล "ยอดครูผู้มีอุดมการณ์" ในโครงการ "ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู"ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางศิริพร หมั่นงาน ครูชำนาญการ พิเศษ ร.ร.บ้านวังอ้ายคง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รวมทั้งยัง เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยครูนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นครูผู้หญิงคนแรก ของโรงเรียน การเดินทางเมื่อปี พ.ศ.2523 การเดินทางต้องเดินทาง ด้วยเท้า มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออก ชุมชนเป็น คนภูเขา (ชาติพันธุ์ญัฮกุร) เรียกตนเองว่า "ชาวบน" หรือ "คนดง" ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงได้เริ่มศึกษาและทำโครงการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมของชาวญัฮกุร ขึ้นมา ถือเป็นแบบเรียนภาษาท้องถิ่นญัฮกุรเล่มแรกของโลก ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (เด็กญัฮกุร) ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ให้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ จนได้รับ รางวัลครูดีเด่นด้านการพัฒนาเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ผ่านภาษาแม่ (ญัฮกุร) นำมาซึ่งความเชื่อถือ ศรัทธายกย่องยอมรับจา
กเด็กนักเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและเผยแพร่ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-4425-4000 nrrupr@gmail.com