กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง
มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ เผยผลสำรวจพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ครึ่งปีแรกปี 54 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และอัฟริกา พบ คนไทย 67% เข้าอินเตอร์เน็ทเพื่อช้อปออนไลน์ ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ย (61%) ของภูมิภาค โดยผู้หญิง และผู้บริโภคอายุระหว่าง 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่ช้อปมากสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า นักช้อปชาวไทยมีอัตราการช้อปผ่านมือถือสูงสุดในภูมิภาค (34%) ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา และมีจำนวนถึง 30% ที่เตรียมช้อปผ่านมือถือต่อในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ผลสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 3 กันยายนถึง 1 ตุลาคมปีที่ผ่านมา จากจำนวนผู้บริโภคทั้งหมด 8,500 คน ใน 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อัฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย จากจำนวนนี้เป็นคนไทย 500 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี มีบัญชีส่วนตัว และใช้อินเตอร์เน็ทอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ไอลีน วี รองประธาน และผู้จัดการอาวุโส ประจำประเทศไทย มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าวว่า “ช้อปปิ้งออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช้อปผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่ผ่านมาพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ยึดติดกับวิถีการช้อปแบบเดิมๆ ประกอบกับปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และระบบที่รองรับการช้อปออนไลน์ ซึ่งจากผลสำรวจ 92% ของผู้บริโภคให้ความเห็นว่าการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจบัตรเครดิต”
สำหรับสินค้า และบริการ 5 อันดับแรกที่มีการซื้อออนไลน์สูงสุด ได้แก่ ตั๋วเครื่องบิน (33%) เสื้อผ้า และเครื่องประดับสตรี (32%) ซีดี/ดีวีดี/วีซีดี (29%) ที่พักโรงแรม (27%) และเครื่องสำอางค์ (25%) และ 5 อันดับแรกที่ซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (24%) อาหารสำเร็จรูป และอาหารเดลิเวอรี่ (22%) ตั๋วหนังและคอนเสิร์ต (20%) แอพพลิเคชั่น/ซอฟท์แวร์มือถือ (19%) และเครื่องสำอางค์ (17%) ไฮสปีดอินเตอร์เน็ทที่แพร่หลาย และมีประสิทธิภาพส่งผลให้การช้อปออนไลน์ และ e-commerce เติบโตขึ้น และเป็นผลมาจากความคิดเห็นเชิงบวกของนักช้อปชาวไทยใน 6 หัวข้อ ได้แก่ เว็บไซต์มีระบบชำระเงินที่ปลอดภัย (92%) สะดวกสบาย (89%) ราคาของสินค้าเป็นที่พอใจ (86%) มีนโยบายเปลี่ยน/รับคืนสินค้าที่ดี (85%) ความรวดเร็วของการรูดบัตร (85%) และเว็บไซต์ใช้ง่าย (84%)
ในระดับภูมิภาค นักช้อปจากเกาหลีมีอัตราการช้อปออนไลน์สูงสุด (85%) ตามด้วยจีน (84%) ญี่ปุ่น (75%) อินเดีย (67%) และไทย (67%) ด้านการช้อปผ่านมือถือในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยช้อปผ่านมือถือมากที่สุด (34%) ตามด้วยอินโดนีเซีย (29%) อินเดีย (28%) จีน (23%) และเกาหลีใต้ (19%)
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย Other highlights for Thailand:
67% เล่นอินเตอร์เน็ท แต่ช้อปออนไลน์บางครั้งเท่านั้น, 22% เล่นอินเตอร์เน็ท และช้อปออนไลน์ด้วย, 8% เล่นอินเตอร์เน็ท แต่ไม่ช้อปออนไลน์
ปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้นักช้อปชาวไทยช้อปออนไลน์ ได้แก่ สินค้าลดกระหน่ำ และราคาถูกเมื่อเทียบกับสินค้าที่มีวางจำหน่ายในร้านค้า (67%), โฆษณา และโปรโมชั่น (56%), เป็นสินค้าที่มีจำหน่ายเฉพาะออนไลน์เท่านั้น (52%), สินค้ามีจำหน่ายออนไลน์ก่อนวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป (38%), เห็นสินค้าแล้วถูกใจ จึงซื้อเลย (29%)
สินค้าที่กระตุ้นการซื้อมากที่สุด ได้แก่ ซีดี/ดีวีดี/วีซีดี (40%), ตั๋วเครื่องบิน (39%), ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพส่วนตัว และความงาม (36%), ที่พักโรงแรม (35%) และเครื่องสำอางค์ (33%)
เว็บไซต์ 5 อันดับแรกที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมสูงสุด ได้แก่ เว็บโหลดเพลง เช่น iTunes (51%), โรงภาพยนตร์ (50%), ร้านค้าปลีกประเภทเสื้อผ้า และเครื่องประดับ (45%), หนังสือ/ซีดี/ดีวีดี (44%) และร้านอาหาร / อาหารเดลิเวอรี่ (38%)
*การเข้าอินเตอร์เน็ทเพื่อช้อปออนไลน์
ประเทศ 2553 2552 2551
เกาหลีใต้ 85% 87% 80%
จีน 84% 80% 82%
ญี่ปุ่น 75% 74% 84%
อินเดีย 67% 72% 54%
ไทย 67% 63% 43%
ไต้หวัน 66% 66% -
สิงคโปร์ 64% 56% 54%
นิวซีแลนด์ 59% 63% -
ออสเตรเลีย 58% 63% 66%
มาเลเซีย 55% 33% -
อัฟริกาใต้ 51% 42% 50%
ฮ่องกง 49% 47% 45%
อินโดนีเซีย 44% - -
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 42% 29% 34%
ฟิลิปปินส์ 27% 30% -
เฉลี่ย 61% 60% 59%
สถิติและคาดการณ์การช้อปผ่านโทรศัพท์มือถือ
ประเทศ 3 เดือนที่ผ่านมา อีก6 เดือนข้างหน้า
ไทย 34% 30%
อินโดนีเซีย 29% 16%
อินเดีย 28% 32%
จีน 23% 33%
เกาหลีใต้ 19% 25%
ไต้หวัน 16% 19%
ฮ่องกง 15% 16%
มาเลเซีย 15% 22%
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 12% 25%
สิงคโปร์ 12% 20%
ญี่ปุ่น 11% 4%
อัฟริกาใต้ 11% 13%
ฟิลิปปินส์ 7% 20%
ออสเตรเลีย 6% 4%
นิวซีแลนด์ 5% 4%
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.masterintelligence.com
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง จำกัด
อลิซาเบท วงศ์วาสิน ต่อ 216 lisa@124comm.com
เอกภพ พันธุรัตน์ ต่อ 156 eakkapop@124comm.com
โทร. 02 718 1886