ข้อมูลทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 2, 2011 14:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ ราคาสมาคม เปิดที่ 19,550-19,650 ราคา Gold Spot เปิดที่ 1340.70 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.77-30.80 GFG11 Hi- Low 19,770-19,720 ปิดที่ 19,750 Gold Insight สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 5.8 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 1340.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,326.00 - 1,344.10 ดอลลาร์ เพราะได้แรงหนุนจากการก่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อยังกระตุ้นให้นักลงทุนถือครองทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ 148.23 จุด หรือ 1.25% ปิดที่ 12,040.16 ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) ขานรับดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวเกินคาดของสหรัฐ และผลประกอบการที่แข็งแกร่งในภาคเอกชน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.5%ปิดที่ 90.77 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจาเคลื่อนตัวในช่วง 91.80 - 90.77 ดอลลาร์ เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วของสหรัฐจะพุ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์พลังงานหดตัว กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 01 กุมภาพันธ์ ซื้อเข้า 3.03 ตันเปลี่ยนแปลงการถือครอง จากระดับ 1,224.12ตัน เข้าสู่ระดับ 1,227.15 ตัน USD/EUR ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 1.07% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3832 ยูโร จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3685 ดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) จากการที่นักลงทุนลดการถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เพราะมองว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในอียิตป์ยังไม่ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์จลาจลในอียิปต์เริ่มบรรเทาลง USD/JPY ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.89% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 81.340 เยน จากระดับ 82.070 เยน USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 30.91-30.94 บาทต่อดอลลาร์ซึ่งค่าเงินบาทมีการผันผวนจากการเปิดตลาดในตอนเช้าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.77-30.80บาทต่อดอลลาร์ ข่าวเศรษฐกิจโลก S&P ลดอันดับเครดิตอียิปต์ลงสู่ BB ขู่อาจปรับลดอีกหากการประท้วงยืดเยื้อ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของอียิปต์ ลงสู่ระดับ BB จากระดับ BB+ และเตือนว่าอาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก สหรัฐเผยดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.ขยายตัวที่ระดับ 60.8 จุด พุ่งขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ระดับ 58.5 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 58 จุด ธนาคารกลางออสเตรเลียจะขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2554 หลังจากประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้ เฮเลน คีแวนส์ นักเศรษฐศาสตร์จากเจพีมอร์แกน คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียจะสูงขึ้นในช่วงกลางปี 2554 ซึ่งจะนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 5.50% ภายในปีนี้ IMF ชี้ความไม่สมดุลของศก.โลก, ศก.เอเชียร้อนแรงเกิน อาจขัดขวางการฟื้นตัว โดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนว่า ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก และการขยายตัวร้อนแรงเกินไปของเศรษฐกิจเอเชีย อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก เขากล่าวที่สิงคโปร์ว่า ไอเอ็มเอฟมองเห็นการพัฒนาที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง นั่นก็คือรูปแบบของเศรษฐกิจโลกที่ขาดสมดุลในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงิน ได้กลับมาปรากฏขึ้นอีกครั้ง ซึ่งความไม่สมดุลดังกล่าวทำให้การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเสี่ยง ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนธ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค., ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนธ.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 145,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 103,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 9.5% ในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นจาก 9.4% ในเดือนธ.ค ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง 28 - 31มกราคม 2554 วันอังคาร ? Nonfarm Employment Change ? Unemployment Rate วันพุธ ? Interest Rate Decision ? ECB Press Conference ? nitial Jobless Claims ? Nonfarm Productivity ? Fed Chairman Bernanke Speaks

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ