ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

ข่าวทั่วไป Tuesday May 15, 2007 14:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--รพ. บำรุงราษฎร์ฯ
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร
มะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็ง 200 ชนิด1 ซึ่งมีการก่อตัวในบริเวณปากมดลูกตรงส่วนที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย2 ที่เชื่อมต่อบริเวณด้าน
ล่างของมดลูกกับช่องคลอด3
มะเร็งปากมดลูก พัฒนามาจากเซลล์ที่ผิดปกติของเยื่อบุมดลูกและได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีผลมาจากการติดเชื้อ HPV4
โดยเซลล์ที่ผิดปกติจะมารวมตัวกันเป็นก้อนที่เรียกว่า เนื้องอก เนื้องอกชนิดไม่รุนแรง (ยังไม่เป็นมะเร็ง) นี้จะไม่แพร่กระจายและโดยปกติจะไม่เกิด
อันตรายใดๆ อย่างไรก็ตาม เนื้องอกนี้ สามารถเกิดการแพร่กระจาย และเจริญเติบโตมาเป็นมะเร็งชนิดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้5
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากสาเหตุอะไร
มะเร็งปากมดลูกเกิดมาจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV)6 บางชนิด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสทั่วไป7 ที่ครึ่งหนึ่งของประชากร มีโอกาสติด
เชื้อนี้ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเขา8
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 2 ใน 3 เกิดจากเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง คือชนิด 16 และ 189
จากการศึกษาระดับนานาชาติของผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก (จำนวนตัวอย่าง(n) เท่ากับ 1050 ราย) ใน 22 ประเทศ พบว่าร้อยละ 90 ของ
ผู้หญิงในประเทศเอเชียใต้ (อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย) ติดเชื้อ HPV ชนิดที่ 16 และ 1810
การศึกษาในประเทศไทย (จำนวนตัวอย่าง(n) เท่ากับ 338 ราย)11 และฟิลิปปินส์ (จำนวนตัวอย่าง(n) เท่ากับ 356 ราย) พบว่าเกือบร้อยละ 9012
ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปากมดลูก มีการติดเชื้อ HPV ชนิดที่ 16 และ 18
สำหรับการศึกษาในฮ่องกง (จำนวนตัวอย่าง(n) เท่ากับ 332 ราย) พบว่าร้อยละ 44 ของผู้หญิงที่ผลการตรวจ Pap tests ออกมาผิดปกติ มีการติด
เชื้อ HPV และในกลุ่มที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เกือบร้อยละ 80 มีการติดเชื้อ HPV13
มะเร็งปากมดลูกพบได้บ่อยแค่ไหน
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในผู้หญิง14 และเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิต15
ในปี 2545 มีการตรวจพบผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงประมาณ 500,000 ราย และเกือบ 275,000 คน ได้เสียชีวิตจากโรคนี้16 โดย
เกือบร้อยละ 80 ของโรคมะเร็งปากมดลูก มักพบในประเทศที่กำลังพัฒนา17
ความชุกของโรคมะเร็งปากมดลูก มีผู้ป่วยประมาณ 1.4 ล้านคนทั่วโลก18
ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งทรวงอก และเป็นสาเหตุอันดับที่สี่ที่ทำให้ผู้หญิงในภูมิภาคนี้
เสียชีวิต19
ในปี 2545 มีการตรวจพบผู้ป่วยใหม่ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 100,000 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 53,000 ราย ในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก ตามข้อมูลดังต่อไปนี้20
ประเทศ จำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต
? จีน ? 45689 ? 25561
? อินโดนีเซีย ? 15050 ? 7566
? ญี่ปุ่น ? 7772 ? 3573
? ฟิลิปปินส์ ? 6000 ? 4349
? ไทย ? 6243 ? 2620
? เวียดนาม ? 6224 ? 3334
? พม่า ? 5017 ? 2594
? เกาหลีใต้ ? 4949 ? 1327
? เกาหลีเหนือ ? 2150 ? 558
? กัมพูชา ? 1768 ? 949
? มาเลเซีย ? 1492 ? 766
? สิงคโปร์ ? 323 ? 205
? ลาว ? 317 ? 159
? มองโกเลีย ? 171 ? 92
? บรูไน ? 26 ? 13
ใครที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัย 40 — 50 ปี21 ในขณะที่ผู้หญิงในวัยนี้อีกหลายคนก็ยังมีให้กำเนิดบุตร และทำงานเลี้ยงดู
ครอบครัว22
ในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้รับการดูแล จะไม่ค่อยมีโอกาสได้รับความรู้เรื่องการตรวจเช็คหามะเร็งปากมดลูก ซึ่งนับเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง
สูงที่อาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้23
จะตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร
การตรวจ Pap test หรือ Pap smear โดยทั่วไปสามารถตรวจได้ที่ คลินิกแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ หรือเซลล์มะเร็ง24
การตรวจ Pap test สามารถตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกก่อนที่จะกลายมาเป็นมะเร็งได้25 ซึ่งการตรวจนี้มีบทบาทสำคัญในการลดอัตราการเสีย
ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่มีการเริ่มใช้ ปี 195026 และในระหว่างปี 1950 — 1970 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน
ลดลงถึงร้อยละ 7027
การตรวจ Pap test ก็เหมือนการตรวจแบบอื่นๆทั่วไป ที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบ28 เพราะบางครั้งก็ไม่สามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติที่มีอยู่ได้ แต่
การตรวจเป็นประจำจะสามารถช่วยให้ผู้หญิง และแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาสามารถเอาชนะปัญหาของการตรวจพบที่เรียกว่า ‘false-negative’ ได้29
นอกจากนี้ การตรวจ Pap test ในบางครั้งก็สามารถตรวจเจอสิ่งผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้30 จากการติดเชื้อ HPV ชนิด 6 และ 11 ซึ่งเป็นชนิด
ที่มีความเสี่ยงต่ำ31 ซึ่งเมื่อตรวจพบก็อาจเป็นสาเหตุให้ระบบสาธารณสุขมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น32 แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคืออาจสร้างความกังวลให้กับ
ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น33
อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะเริ่มต้นบริเวณปากมดลูก โดยปกติจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ34 หรือปรากฏอาการให้เห็น30 ดังนั้นจึง
สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตรวจ Pap test เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปรกติอยู่เป็นประจำ จะได้ทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผล35
ในระยะที่โรคกำลังก่อตัวอยู่ คุณผู้หญิงอาจสังเกตเห็นอาการใดอาการหนึ่ง หรือมากกว่านี้ คือ
เลือดออกบริเวณช่องคลอด36
- เลือดออกผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือน37
- เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 38
- มีประจำเดือนนานกว่าปรกติ หรือ ปริมาณประจำเดือนมากกว่าปรกติ39
- เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน40
มีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดมากขึ้น41
มีอาการเจ็บบริเวณเชิงกราน42
มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์43
การรักษามะเร็งปากมดลูก
การรักษามะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งระยะเริ่มต้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งในแต่ละกรณี ผู้ป่วยและ แพทย์ผู้รักษา จะวินิจฉัยและเลือกวิธีการ
รักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ในกรณีนั้นๆ ไป
ระยะยังไม่แพร่กระจาย (ระยะ 0 — Carcinoma in Situ) เมื่อมะเร็งเริ่มก่อตัวในชั้นเยื่อบุผนังปากมดลูก44 อาจรักษาได้โดย
- ใช้แสงเลเซอร์เพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ45
- Cryosurgery คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณที่เป็นมะเร็งเย็นจนเป็นน้ำแข็ง46
- Loop electrosurgical excision procedure (LEEP) คือการใช้ห่วงโลหะบางๆ ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าผ่านผ่าตัดเอาเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมด
ลูก 47
- Conization คือการผ่าตัดเซลล์รูปกรวยออกจากมดลูก
ในระยะลุกลาม (ระยะ 1 — 4 ) เมื่อมะเร็งได้มีการลุกลามไปข้างในของปากมดลูก อาจจะลามไปยังอวัยวะอื่น48 ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ดังนี้
- Radiation คือการใช้รังสีพลังงานสูงไปทำให้ก้อนเนื้องอกหดตัว และเซลล์มะเร็งถูกทำลายไม่สามารถจะแบ่งตัวต่อไปได้49
- Chemotherapy คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนในร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง รวมทั้งเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจาย
ไปในอวัยวะอื่นๆด้วย50
- Hysterectomy คือการผ่าตัดเอามดลูกออกซึ่งทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง
1) Simple hysterectomy คือการผ่าเอาเซลล์มะเร็งออก รวมทั้งปากมดลูกและตัวมดลูก51
2) Radical hysterectomy คือการผ่าตัดออกทั้งหมด ตั้งแต่ มดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง52
จะป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร
มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ หากเราทำการตรวจ Pep test53 และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจ Pap เป็นประจำ และมีการพุดคุย
ติดตามผลการตรวจกับแพทย์อย่างใกล้ชิด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ