กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
อินเทลเพิ่มสมรรถนะการประมวลผลอุปกรณ์โมบายล์ด้วยชิปรุ่นใหม่พร้อมคุณสมบัติใหม่ด้านซอฟต์แวร์และระบบเชื่อมต่อนำเสนอชิปตัวอย่างของ Medfield แพลตฟอร์ม LTE และแนวโน้มที่ดีของ MeeGo
ประเด็นข่าว
อินเทลจัดส่งชิป “เมดฟิลด์” (Medfield) รุ่นตัวอย่างให้กับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์แล้ว โดย “เมดฟิลด์” คือชิปรุ่นใหม่สำหรับโทรศัพท์ซึ่งอินเทลผลิตโดยใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตร (nm)
การพัฒนา LTE โดยจะมีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของโซลูชั่นแบบมัลติโหมดรุ่นแรกภายในปีนี้ ตามด้วยดีไซน์ใหม่ๆ ที่มากขึ้นตามมาอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 โดยอินเทล โมบายล์ คอมมูนิเคชั่นส์ (หรือชื่อเดิม คือ อินฟินิออน เทคโนโลยี เอจี ไวร์เลส โซลูชั่นส์ บิซิเนส)
แท็บเล็ตรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MeeGo (“มีโก”) จะเป็นอุปกรณ์ที่เน้นความคล่องตัวในการใช้งานและนวัตกรรม ซึ่งเป็นผลจากแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ของ MeeGo การยอมรับในตัวของ MeeGo จากบริษัทต่างๆ รวมถึง Orange* และ Tencent* ตลอดจนการขยายขอบข่ายโครงการสำหรับนักพัฒนา Intel AppUp เพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องมือรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน MeeGo
ความก้าวหน้าของงานวิจัย RF Radio SoC ทำให้อินเทลสามารถนำชิปเซ็ต RF ซึ่งเดิมเคยแยกกันอยู่สามชิ้น มารวมอยู่ด้วยกันภายในชิปเพียงตัวเดียว
การลงทุนต่างๆ ภายใต้ อินเทล แคปิตอล ส่งผลให้เกิดชุมชนนักพัฒนาอุปกรณ์โมบายล์ที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ รุ่นล่าสุดที่กินไฟต่ำและมีสมรรถนะล้ำหน้ากว่าเดิม ซึ่งใช้กับ แอนดรอยด์ จินเจอร์เบรด และ ฮันนีโคมบ์ จะเปิดตัวในปีนี้
โคเรีย เทเลคอม และ ซัมซุง เดินหน้านำสถาปัตยกรรมอินเทลมาใช้เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการได้เร็วขึ้น และขยายความสามารถของเครือข่ายตามต้องการได้อย่างคุ้มค่า
อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโมบายล์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ชิป ซอฟต์แวร์ และระบบเชื่อมต่อ ซึ่งรวมถึง “เมดฟิลด์” รุ่นตัวอย่าง ซึ่งเป็นชิปสำหรับโทรศัพท์ ที่อินเทลผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 nm การเปิดเผยดังกล่าวมีขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่งาน “โมบายล์ เวิลด์ คอนเกรส (Mobile World Congress) ณ กรุงบาเซโลน่า ประเทศสเปน
นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดเผยถึงความก้าวหน้าของแพลตฟอร์ม LTE ประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้ใช้แท็บเล็ตที่ใช้ “MeeGo” การลงทุนใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ และการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้มีการนำอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมอินเทลไปใช้กับระบบปฏิบัติการได้หลายชนิด
เส้นแบ่งระหว่างอุปกรณ์ประมวลผลและอุปกรณ์สื่อสารเริ่มบางเต็มที ตลอดจนแนวโน้มความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของการใช้อุปกรณ์โมบายล์ คือปัจจัยสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ของอินเทลที่มีทิศทางเติบโตสูงขึ้น โดยอินเทลได้ขยายขอบข่ายในการทำให้โปรเซสเซอร์อินเทลกลายเป็นทางเลือกที่ลูกค้าต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ รวมถึงตลาดในเซ็กเม้นท์อื่นๆ ซึ่งได้แก่ เน็ตบุ๊กและแล็บท้อป รถยนต์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และสมาร์ททีวี เป็นต้น พร้อมทั้งสนองตอบต่อความต้องการที่มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการ บริษัทซอฟต์แวร์ และผู้บริโภคทั่วโลกอีกด้วย
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แม้ว่าตลาดโมบายล์ อินเทอร์เน็ต จะซับซ้อนมาก แต่อินเทลกลับมองว่านี่คือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้อุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตขึ้น จากความพยายามในการพัฒนาและลงทุนในโครงการต่างๆ ดังที่กล่าวมา ตลอดจนโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อินเทลได้ทุ่มเทอย่างเต็มศักยภาพทั้งในด้านทรัพยากรที่มีอยู่ การลงทุนด้านเทคโนโลยี และการนำ “กฎของมัวร์” มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเติมเต็มความต้องการสำหรับตลาดใหม่ๆ รวมถึงการนำเสนอประสิทธิภาพที่ล้ำหน้าที่อุตสาหกรรมคาดหวังจากเรา”
มัลติคอมมูนิเคชั่นและซิลิกอน
หลังจากที่รวมกิจการกับอินฟินิออน เอจี ไวร์เลส โซลูชั่น บิซิเนส เรียบร้อยแล้ว อินเทลจึงได้ออกมานำเสนอกลยุทธ์สำหรับจัดสรรสถาปัตยกรรมอัจฉริยะแบบมัลติ-คอมมูนิเคชั่น เพื่อสนองตอบต่อความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าและบริษัทผู้ให้บริการทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมเรื่องความสามารถของระบบเครือข่าย แอพลิเคชั่น อุปกรณ์ ต้นทุน และรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ ผ่านโซลูชั่นตั้งแต่แบบ WiFi ไปจนถึงแบบ LTE
อินเทลยังได้ประกาศว่า อินเทล โมบายล์ คอมมูนิเคชั่น (Intel Mobile Communications — IMC) จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ตัวอย่างให้ผู้ผลิตภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คือ โซลูชั่นมัลติ-โหมดชนิดกินไฟต่ำที่มีขนาดกระทัดรัด รุ่นแรก (LTE/3G/2G) ซึ่งเป็นโซลูชั่น LTE ระดับโลกอย่างแท้จริง สำหรับตลาดหลากหลายรูปแบบ ขณะนี้ IMC ได้เริ่มจัดส่งโซลูชั่น HSPA+ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งมีดาวน์ลิงก์จริง 21 Mbps และอัพลิงก์จริง 11.5 Mbps เพื่อใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กแล้ว จากนั้น IMC ยังได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่รองรับการทำงานแบบ Dual SIM Dual-Standby (DSDS) สำหรับตลาดอุปกรณ์ซิมคู่ที่กำลังเติบโตอีกด้วย โซลูชั่นสำหรับระบบโมบายล์รุ่นใหม่ๆ เหล่านี้ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของ IMC ในด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้การดำเนินธุรกิจให้เติบโตต่อไปในยุคที่โซลูชั่นแบบมัลติ-คอมมูนิเคชั่นกำลังเป็นที่นิยม
ขณะเดียวกัน อินเทลได้ประกาศว่า กำลังจะดำเนินการส่งมอบชิปตัวอย่างสำหรับสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 nm ในชื่อรหัสว่า “เมดฟิลด์” ให้กับลูกค้า และคาดว่า “เมดฟิลด์” จะเริ่มมีจำหน่ายจริงภายในปีนี้ และถือเป็นการนำคุณสมบัติเด่นด้านประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมอินเทลไปใช้กับโซลูชั่นที่กินไฟต่ำ ซึ่งออกแบบมาสำหรับตลาดสมาร์ทโฟนเป็นหลัก
ในแง่ของการวิจัยนั้น อินเทลได้ประกาศถึงผลสำเร็จในการนำระบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency — RF) มารวมกับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะทำให้สามารถนำชิปเซ็ต RF ซึ่งปกติต้องแยกกันอยู่ 3 ชิ้น ให้มาอยู่รวมกันในชิปเพียงตัวเดียวได้ การใช้ประโยชน์จากตัวทรานซิสเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลกดังกล่าว ช่วยให้นักวิจัยของอินเทลสามารถพัฒนาองค์ประกอบที่กินไฟน้อยลงและรับส่งคลื่นวิทยุได้เร็วกว่าเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ การนำเอา “กฎของมัวร์” มาประยุกต์ใช้ทำให้ผลงานวิจัยชิ้นนี้ กลายเป็นผลงานการออกแบบ SoC รุ่นใหม่ที่กินไฟน้อยลง มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยต้นทุนการผลิตที่ลดลง
นอกเหนือจากนี้ เครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวยังถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับวิวัฒนาการของโมบายล์อินเทอร์เน็ต และช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถจัดสรรบริการได้เร็วขึ้น และขยายความจุเครือข่ายได้อย่างคุ้มค่าตามความต้องการอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ อินเทล เคที และซัมซุง จึงได้ร่วมกันประกาศแผนความร่วมมือในการสาธิตโซลูชั่น LTE โดยออกอากาศสดผ่านทางศูนย์คลาวด์ คอมมูนิเคชั่น เซ็นเตอร์ (CCC) ที่ใช้สถาปัตยกรรมของอินเทล โครงการนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขยายความจุสัญญาณข้อมูลและความคล่องตัวของเครือข่ายไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนโดยรวมให้กับบริษัทผู้ให้บริการด้านการติดตั้งและการดำเนินงานของระบบเครือข่ายอีกด้วย
ความก้าวหน้าด้านซอฟต์แวร์
ผลจากการขยายขอบข่ายการพัฒนาแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์และแอพลิเคชั่นแบบเปิดให้ก้าวหน้าและนำไปใช้กับอุปกรณ์โมบายล์ได้ทุกชนิด ทำให้อินเทลสามารถนำแท็บเล็ตแบบใหม่ซึ่งใช้ MeeGo มาสาธิตให้เห็นการทำงานที่มีความโดดเด่น มีลักษณะการใช้งานที่เข้าใจง่าย ด้วยจอต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงคอนเทนท์และรายชื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันในยุคดิจิตอลได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก ติดต่อกับผู้คน ดูวิดีโอ และชมรูปภาพที่เก็บไว้ ลักษณะการใช้งานแนวใหม่ที่ง่ายต่อการใช้อุปกรณ์ประกอบด้วยคุณสมบัติหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่
เนื่องจาก MeeGo มีการเปิดตัวมาครบหนึ่งปีแล้ว แพลตฟอร์มที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบเปิด จึงมีความก้าวหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยมีการเปิดตัวโค้ดใหม่ๆ ออกมาหลายชุดด้วยกันเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ หลากชนิด ตั้งแต่เน็ตบุ๊กไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น นอกจากนี้ MeeGo ยังได้รับการตอบรับจากอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างล้มหลาม ทั้งผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ ผู้รับเหมาติดตั้งระบบ บริษัทสื่อสาร รวมทั้งผู้ผลิตแบบโออีเอ็มจำนวนมาก ซึ่งต่างได้ทยอยนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ MeeGo หลากหลายรูปแบบวางจำหน่ายแล้ว อาทิเช่น เน็ตบุ๊ก แท็บเล็ต กล่องแปลงสัญญาณ และระบบเพื่อความบันเทิงในรถยนต์ เป็นต้น
นอกจากนั้น อินเทลยังได้เปิดตัว MeeGo รุ่นใหม่ และเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ AppUp รุ่นใหม่ รวมถึงโครงการพัฒนาอื่นๆ เพื่อให้การสนับสนุนนักพัฒนาในการปรับปรุงแอพลิเคชั่นเดิม หรือ เขียนแอพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมทั้งปรับแต่งและเผยแพร่แอพพลิเคชั่นของตนไปไว้ใน Intel AppUp ได้เร็วขึ้น โครงการต่างๆ เหล่านี้ต้องการช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มพัฒนาซอฟต์แวร์ เครื่องมือใหม่ๆ และแผนการพัฒนาอื่นๆ เช่น โครงการมหาวิทยาลัยโลก โครงการห้องทดลองแอพพลิเคชั่น และโครงการแหล่งทรัพยากรอื่นๆ
นายเอกรัศมิ์ ยังกล่าวอีกว่า “อินเทลสนับสนุนการใช้ระบบปฏิบัติการชั้นนำทุกชนิด และได้ทำงานร่วมกับนักพัฒนา ผู้ให้บริการ และผู้ผลิตทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานที่สามารถข้ามแพลตฟอร์มทั้งหมดขึ้นมา รูปแบบการใช้แท็บเล็ตซึ่งใช้ MeeGo แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความคล่องตัวของ MeeGo ในขณะที่การจัดทำเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาและโครงการใหม่ๆ ออกมา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับนโยบายการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแท็บเล็ตของอินเทล และยังเป็นการส่งเสริมชุมชน MeeGo ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตแบบโออีเอ็ม หรือผู้ให้บริการก็ตาม”
ผลจากการสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลากชนิด อินเทลจึงได้ประกาศความตั้งใจที่จะทำให้อุปกรณ์ที่ใช้อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ ร่วมกับแอนดรอยด์ จินเจอร์เบรด และ ฮันนีโคมบ์ สามารถประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุด โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะออกสู่ตลาดภายในปีนี้ พร้อมกันนี้ อินเทลยังได้เปิดเผยการลงทุนหลายรายการของอินเทล แคปิตอล เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับฮาร์ดแวดร์ ซอฟต์แวร์ และแอพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์โมบายล์โดยเฉพาะ ซึ่งจะเน้นไปที่การปรับปรุงรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และแล็ปท้อป เป็นต้น รายชื่อของบริษัทต่างๆ ที่ อินเทล แคปิตอล ได้ลงทุนไว้ ได้แก่ Borqs, CloudMade, InVisage, Kaltura, SecureKey Technologies และ VisionOSS Solutions
นายเอกรัศมิ์ กล่าวว่า “การที่อินเทลนำเอาความชำนาญด้านการผลิตในระดับโลก และเทคโนโลยีซิลิกอน ทรานซิสเตอร์ ที่ทันสมัยที่สุดของเรามาประยุกต์ใช้กับตลาดเหล่านี้ เพราะเราต้องการจัดสรรทรานซิสเตอร์และสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดให้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้กินไฟน้อยที่สุดและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มของคู่แข่ง เมื่อชิปเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากระบบปฏิบัติการบายล์อย่างแอนดรอยด์ และ MeeGoo นั่นถือเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราสามารถสนับสนุนความต้องการที่หลากหลายได้ รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสื่อสารให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอีก ผมจึงมีความมั่นใจว่าเราจะสามารถสรรค์สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการทำตลาดได้อย่างน่าตื่นเต้นยิ่งกว่าเดิมสำหรับพันธมิตรของเราได้อย่างแน่นอน”
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของการประกาศครั้งนี้ได้ที่ www.intel.com/newsroom/mwc2011
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
ติดต่อ:สุภารัตน์ โพธิวิจิตร คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: suparat.photivichit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk