กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
เจ้าชายวิลเลียม ได้เดินตามรอยเท้าบรรพบุรุษในราชวงศ์ ด้วยการแต่งงาน ณ วิหารเวสต์มินสเตอร์ แอบบีย์
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ภายหลังคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2) ได้ทำการอภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าชาย ฟิลิป ของ กรีซ (ภายหลังคือ ดยุคแห่งเอดินเบอระ) ในวิหารแห่งนี้ และถือเป็นเจ้าสาวอันดับที่สิบของราชวงค์ที่ได้อภิเษกสมรสในวิหารนี้ โดยพระราชบิดา และพระราชมารดาของพระองค์ได้ทำการอภิเษกสมรสในวิหารแห่งนี้ ในวันที่ 26 เมษายน 2466
เนื่องจากเป็นสองปีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยอันเคร่งครัด ทำให้พิธีอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเอลิซาเบธมีการเพิ่มจำนวนที่นั่งเพียงเล็กน้อย และมีแขกมาร่วมงานประมาณ 2,000 คน
วิหารแอบบีย์มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่าล้านคนต่อปี และอีกนับพันคนที่เข้ามาสักการะในวิหารแห่งนี้เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่กษัตริย์ พระราชินี รัฐบุรุษ ทหาร คนแต่งบทกวี นักบวช วีรบุรุษ เรื่อยไปจนถึงคนร้าย วิหารแอบบีย์คือสถานที่ที่ไม่ควรพลาดในการเยี่ยมชมประวัติศาสตร์ของบริเตน
วิหารแห่งนี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์เพียงแค่บริเตนเท่านั้น แต่ยังแสดงถึง “เขตศาสนจักรของโลก” เนื่องจากยังมีความเกี่ยวพันธ์กับอีกหลายประเทศ
อาคารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 700 ปี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 1788 และนี่คือหนึ่งในตึกที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิกที่สำคัญที่สุดของประเทศ ซึ่งนักบุญเบเนดิกตินได้เข้ามาในสถานที่นี้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 10
วิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกตั้งแต่พ.ศ. 1609 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมได้ขึ้นครองราชย์ พร้อมทั้งเป็นสถานที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ถึง 17 พระองค์ประชาชนกว่า 3,000 คนได้มีโอกาสฝากร่างสุดท้ายของเขาไว้ในโบสถ์และพระระเบียง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยอนุสาวรีย์ และอนุสรณ์ต่างๆ มากกว่า 600 แห่ง รวมไปถึงหลุมฝั่งศพของทหารนิรนาม ซึ่งไม่เป็นเพียงแค่สถานที่ฝั่งศพของผู้ที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคคลนับล้านที่เสียชีวิตจากความขัดแย้งทางทหารดังกล่าว
โดยส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของ วิหารเวสต์มินสเตอร์ แอบบีย์คือ มุมนักกวี (Poets’ Corner) บริเวณทางเดินทางทิศใต้ ซึ่งทางเดินนี้มีรูปทรงเหมือนไม้กางเขนในแบบสถาปัตยกรรมโกธิก โดยแรกนั้น สถานที่แห่งนี้ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นสถานที่ฝั่งศพของนักเขียน ผู้เขียนบทละคร นักกวี หากแต่เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ เป็นนักกวีคนแรกที่ได้ฝากร่างสุดท้ายไว้ที่นี่ เนื่องจากเขาเคยเป็นเสมียนให้กับพระราชวังของเวสต์มินสเตอร์ ไม่ใช่เพราะเขาเป็นผู้ประพันธ์ Canterbury Tales และการถูกฝั่งหรือได้ถูกจารึกในวิหารแห่งนี้บางครั้งก็ไม่กระทำในทันทีหลังจากเสียชีวิต อาทิเช่น ลอร์ด ไบรอน นักประพันธ์ผู้อื้อฉาวถึงแม้บทประพันธ์ของเขาจะเป็นที่ชื่นชมก็ตาม เขาได้เสียชีวิตใน พ.ศ. 2367 แต่ท้ายที่สุดก็ได้ถูกจารึกในพ.ศ. 2512 หรือแม้แต่ เชกสเปียร์ ที่ฝังที่ สแตรตฟอร์ด อัพพอน เอวอน ในปี พ.ศ. 2159 และต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2283 กว่าที่จะได้สร้างเป็นอนุสาวรีย์ในมุมนักกวีแห่งนี้
นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่มีชื่อเสียงอื่นๆอีกหลายท่านที่ได้ถูกฝังในวิหารแห่งนี้ เช่น นักกวี จอห์น ไดรเด็น, เท็นนิสัน, รอเบิร์ต บราวน์นิ่ง และ จอห์น เมสฟิลด์ รวมไปถึงนักประพันธ์ ได้แก่ ดร. แซมมวล จอห์นสัน, ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์, ริชาร์ด บรินซเลย์ เชอริแดน, รัดยาร์ด คิปลิง และ โธมัส ฮาร์ดี ก็ได้ถูกฝังในที่แห่งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลุมศพของดิคเก้นส์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ส่วนผู้ที่มีความทรงจำในที่แห่งนี้ก็ได้ถูกฝังเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น นักกวี จอห์น มิลตัน, วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ, โทมัส เกรย์, จอห์น คีตส์, เพอร์ซี บิช เชลลี่, โรเบิร์ต เบิร์น, วิลเลียม เบลก, ที.เอส. เอลเลียต และ เจอร์ราด แมนเลย์ ฮอปกินส์ และนักประพันธ์ ได้แก่ แซมมวล บัทเล่อร์, เจน ออสเตน, โอลิเวอร์ โกลด์สมิธ, เซอร์ วอลเตอร์ สกอตต์, จอห์น รัสคิน, ชาร์ลอตต์, เอมมิลี่ และ แอนน์ บรอนเต้, เฮนรี่ เจมส์ และ เซอร์ จอห์น เบชเชอแมน ก็ได้ถูกจารึกเป็นอนุสรณ์ที่นี่เช่นกัน
การเยี่ยมชม: วิหารแห่งนี้มีบริการไกด์นำเยี่ยมชมเป็น ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลี, รัสเซีย, โปรตุเกส, โปแลนด์, ฮังการี, ภาษาจีนกลาง และญี่ปุ่น โดยการเยี่ยมชมที่เป็นภาษาอังกฤษจะบรรยายโดยเจ้าของรางวัลออสการ์ เจเรมี่ ไอร่อนส์ อีกทั้งยังมีทัวร์พิเศษที่เป็นภาษาอังกฤษจากผู้ดูแลโบสถ์ สำหรับคนเดียวหรือครอบครัว โดยจะเริ่มจากทางด้านประตูฝั่งเหนือ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 90 นาที รวมถึงการทัวร์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ (ซึ่งประกอบด้วยสุสานของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เดอะ คอนเฟสเซอร์) สุสานของราชวงศ์, มุมนักกวี, โบสถ์ คลอยสเตอร์ โดยสนนราคาอยู่ที่ 3 ปอนด์ ต่อหนึ่งท่าน (ไม่รวมเข้าค่าผ่านประตู)
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับวันอาทิตย์วิหารจะเปิดสำหรับการสักการะเพียงอย่างเดียว — หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม http://www.westminster-abbey.org/visit-us/opening-times
อัตราค่าธรรมเนียม: ผู้ใหญ่ราคา 15 ปอนด์, นักเรียน/นักศึกษา 12 ปอนด์, เด็กนักเรียนอายุ 11-18 ปี 6 ปอนด์, เด็กอายุต่ำกว่า 11 ปี และมากับผู้ปกครอง เข้าฟรี และตั๋วแบบครอบครัว ราคา 30 ปอนด์ ทุกราคารวมเครื่องออดิโอไกด์เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเสียงดนตรี ห้ามพลาดที่จะเยี่ยมชม Evensong - ในการรับฟังคณะนักร้องประสานเสียงประจำวิหารเวสท์มินสเตอร์ แอบบีย์ที่จะขับร้องดนตรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในสถานที่ผ่อนคลายกลางกรุงลอนดอน