กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จากกรณีเด็กกตัญญูชกมวยเพื่อหาเลี้ยงยายปรากฏในหน้าสื่อมวลชน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและสังคมทั่วไปมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ชื่นชมในความกตัญญูของเด็ก
แต่ในแวดวงผู้ที่ทำงานด้านเด็ก เห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและยกเป็นกรณีตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลระหว่างความกตัญญูและเรื่องของสิทธิเด็กที่ต้องได้รับการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครอง เนื่องจากการชกมวยเป็นอาชีพส่งผลกระทบในหลายประเด็น
ได้แก่ ประเด็นแรก คือ ผลกระทบ ทางด้าน ร่างกาย จะต้องได้รับบาดเจ็บ ไม่มากก็น้อย ถ้าเป็นมวยไทย ซึ่งใช้อาวุธทั้ง หมัด ศอก และเข่า เวลาขึ้นชก เด็กมีโอกาส จะได้รับบาดเจ็บ ตั้งแต่ศีรษะ จนถึงลำตัว ผู้เชี่ยวชาญ ทางการแพทย์ หลายท่าน ยืนยันว่า สมองของเด็ก อายุไม่เกิน ๑๒ ปี ยังโตไม่เต็มที่ หากถูกชก กระแทก หรือสะบัด อย่างแรง จะเกิดอาการ ช้ำใน ไม่ต่างจาก อุบัติเหตุรุนแรง ทางรถยนต์ เด็ก อาจเกิดอาการ ชา หมดสติ หรือเสียชีวิตได้เฉียบพลัน หรือถ้าเด็ก มีอาการบาดเจ็บ แต่ละครั้ง ไม่รุนแรง แต่ต้องชกมวย อย่างต่อเนื่อง อาการบาดเจ็บ ในสมอง จะสะสม จนกระทั่ง เด็กไม่มีสมาธิ ใ นการเรียน ความจำไม่ดี นอกจากนี้ การชกมวย อาจทำให้เกิดอาการ บาดเจ็บ บริเวณช่องท้อง ตาบอด จนกลายเป็น คนพิการ.....
ประเด็นที่ ๒ ผลกระทบ ทางด้านจิตใจ เพราะเด็กที่ชกมวย มักเกิดความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียด เป็นประจำ เด็กเหล่านี้ จะคุ้นชินกับ ความรุนแรง กลายเป็น เด็กก้าวร้าว และนิยม ใช้ความรุนแรง ในการแก้ปัญหา
รวมทั้ง การอนุญาตให้เด็กชกมวยเป็นอาชีพนี้ ขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสหประชาชาติ และขัดกับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ซึ่งห้ามมิให้ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ทำงาน และมิให้ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ทำงาน ที่เสี่ยงต่อ อันตราย ความรุนแรง และการปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม ถ้าอนุญาต ให้เด็ก อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ชกมวย แสดงว่า ผิดกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงจัดรูปแบบเป็นเวทีสาธารณะ มีการนำเสนอข้อมูลอภิปรายโดยวิทยากร ๕ ท่าน ผู้ดำเนินรายการ ๑ ท่าน มีการเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และจัดทำสรุปข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะเพื่อเสนอให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข องต่อไป
กำหนดการจัดสัมมนา เรื่อง “สิทธิหนูอยู่ไหน ? กรณีเด็กชกมวย”
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี (ด้านทิศใต้) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๒.๓๐ — ๑๓.๓๐ น.
ลงทะเบียน
เวลา ๑๓.๓๐ — ๑๓.๕๕ น.
กล่าวเปิดเวทีสาธารณะและแจ้งวัตถุประสงค์
โดย นางวิสา เบ็ญจมะโนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและความเสมอภาคของบุคคล
เวลา ๑๓.๕๕ — ๑๖.๔๕ น.
เวทีสาธารณะ
เรื่อง สิทธิหนูอยู่ไหน กรณีเด็กชกมวย โดย
- นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผอ. ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
- นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ *
- นายสมชาย เจริญอำนวยสุข
ผ อ.สำนักงานสวัสดิภาพที่พักเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
- นายสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ นายกสมาคมมวยอาชีพแห่งประเทศไทย*
- เด็กชายสมเจตน์ ดจันทรา เด็กที่ชกมวยตามภาพข่าว*
ดำเนินรายการโดย
- อนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน
เวลา ๑๖.๕๐ น.
กล่าวปิดเวทีสาธารณะ
โดย นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน
หมายเหตุ
ถ่ายทอดสดทางเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุอินเทอร์เน็ต ๒๐ สถานีทั่วประเทศ
บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม
* อยู่ระหว่างการทาบทาม