วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรมและสัมมนาเรื่อง วิเคราะห์เจาะลึกกฎหมายภาครัฐวิสาหกิจว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ

ข่าวทั่วไป Monday March 26, 2007 10:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
วาโซ่ เทรนนิ่ง ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่อง วิเคราะห์เจาะลึกกฎหมายภาครัฐวิสาหกิจว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ในวันพฤหัสบดีที่ 2ุ6 เมษายน 2550 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท 23
กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจเรียกอีกแบบหนึ่งว่าเป็น “กฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ที่ใช้สำหรับลูกจ้างในภาครัฐวิสาหกิจ” นั่นเอง กฎหมายฉบับดังกล่าว ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2549 โดยให้มีผลใช้บังคับทันที่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน2549 เป็นต้นมา
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ที่ใช้สำหรับลูกจ้างในภาครัฐวิสาหกิจดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่นำเนื้อหามาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานลูกจ้างเอกชน แต่นำมาไม่หมดมีทั้งคัดลอกมาบ้างมีทั้งดัดแปลงบางประโยคมีทั้งตัดทิ้งไปในหลายมาตราในหลายๆ ประโยค โดยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานลูกจ้างภาคเอกชนมีทั้งหมด 166 มาตรา แต่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจมีทั้งหมด 61 ข้อ เท่านั้นสิ่งสำคัญคือมีลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจหรือผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ หรือนักวิชาการกฎหมายแรงงานภาครัฐวิสาหกิจ สักกี่คนที่เข้าใจกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานลูกจ้างภาครัฐวิสากิจได้อย่างลึกซึ้งและสามารถอธิบายให้เกิดความเข้าใจและนำไปปฎิบัติที่ถูกต้องได้ ซึ่งก็คงต้องตอบว่า ในปัจจุบันมีบุคคลดังกล่าวค่อนข้างน้อยมาก
บริษัท วาโซ่ จำกัด มีความยินดีที่ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัทฯ ได้พบวิทยากรท่านหนึ่งโดยบังเอิญ (บังเอิญเพิ่งทราบว่าท่านก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานภาครัฐวิสาหกิจด้วย) ซึ่งท่านเคยเข้าร่วมประชุมในคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายแรงงานภาครัฐวิสาหกิจหลายครั้ง ประมาณ 2 ปี และเคยมีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างลูกจ้างในภาครัฐวิสาหกิจบางข้อ อีกทั้งเคยเข้าร่วมประชุมแทนกรรมการ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจที่เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 2 สมัย ในคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจชุดใหญ่ - ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานที่ประชุม ประมาณ 5 ปี) เคยเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มามากกว่า 10 ปี อีกทั้งเคยเป็นประธานคณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานลูกจ้างภาคเอกชน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) ซึ่งนับว่าจะหาบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจได้ยากในบุคคลคนเดียวกัน
ดังนั้น บริษัท วาโซ่ จำกัด จึงขอเรียนเชิญชวนท่านที่ทำงานอยู่ในภาครัฐวิสาหกิจ ไม่ว่า คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ผู้บริหารด้านวินัย ผู้บริหารด้านกฎหมายแรงงานภาครัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นในรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้
กำหนดการอบรม
08.30-09.30 ลงทะเบียน
09.00-16.00
1. ทำความเข้าใจในความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
- ฝ่ายบริหาร สภาพการจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา ค่าจ้าง การทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งมักจะเข้าใจคลาดเคลื่อน
2. การได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามประกาศนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิ หรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น นั้น มีความ
หมายเพียงไร(เนื้อหาของประกาศนี้ จะทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ตามสภาพการจ้างเดิมที่เคยได้รับมาก่อนหน้าได้ไหม
เช่น วันหยุดชดเชยไม่ให้หยุดมากกว่า 1 วัน)
3. ข้อห้ามในการเรียกเงินประกันการทำงาน มีขอบเขตแค่ไหน เพียงไร
4. ความหมายของการปฏิบัติต่อลูกจ้างชาย และหญิง โดยเท่าเทียมกันมีเพียงไร
5. ลูกจ้างชาย จะได้รับความคุ้มครองมิให้ถูกล่วงเกิน หรือคุกคามทางเพศหรือไม่ เพียงไร
6. อายุงานของลูกจ้างที่ถูกต้องนั้น นับวันหยุด วันลา วันที่ขาดงาน วันที่ละทิ้งหน้าที่การงานหรือไม่ ที่ถูกต้องนับอย่างไร
7. ถ้าไปทำงานในเขตที่มีโรคติดต่ออันตราย ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงาน เพื่อเฝ้าอาการ โดยถือว่าวันหยุดเป็นวันทำงานนั้น
มีเงื่อนไขอย่างไร
8. นายจ้างทำสัญญาจ้างเป็นปีๆไป หมดปีเว้นระยะการจ้าง แล้วทำสัญญาจ้างใหม่ การจ้างใหม่ จ้างในหน้าที่ใหม่ต้องนับอาย
ุงานทุกปีรวมกันด้วยหรือไม่ ด้วยเหตุผลอะไร ภายใต้กฎหมายข้อไหน
9. นายจ้างจะตกลงกับลูกจ้างให้พักกลางวัน 30 นาที เพื่อก่อนเลิกงานให้พักแล้วไม่ต้องกลับมาทำงาน แต่ให้กลับบ้านก่อนเวลา
เลิกงาน 30 นาทีได้ไหม ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อใด
10. นายจ้างมีสิทธิเพียงไร ที่จะไม่ให้ลูกจ้างหยุดในวันเสาร์-อาทิตย์ และไม่ให้หยุดติดต่อกันได้กี่สัปดาห์ กฎหมายข้อไหน
ให้สิทธิเช่นนั้น
11. นายจ้างจะไม่ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีเกิน 1 วัน ได้หรือไม่เพียงไร เพราะสาเหตุใด
12. การสะสมวันหยุดพักผ่อน ไปรวมกับปีต่อๆไป ทำได้กี่ปี มีความหมายเพียงไร และมีหลักเกณฑ์อย่างไร
13. วันที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน และวันลาคลอดบุตรไม่ให้ถือเป็นการลาป่วย ตามข้อ 18 วรรคสาม
หมายความว่าอย่างไร โดยไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันลาป่วย ตามข้อ 35 ช่วงที่ป่วยเนื่องในงานนั้น ลูกจ้างจะได้เงินจากแหล่งใด
14. มีเงื่อนไขอะไร ที่จะทำให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และ/หรือทำงานในวันหยุดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
15. กรณีลูกจ้างมีครรภ์ จะเดินทางไปทำงานให้นายจ้างในพาหนะใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น เป็นเพราะอะไร และด้วยเหตุผลใด
16. เหตุใดนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มาทำงานในวันหยุดไม่ได้ (ข้อ24)
17. งานใดบ้างที่นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มาทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติได้ ภายใต้เงื่อนไขอะไร
18. การลาคลอดบุตรภาคเอกชน ลาก่อนหรือหลังคลอดมิได้ ในภาครัฐวิสาหกิจลาก่อน และหลังคลอดได้ไหม
19. ภาคเอกชนลาเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ ภาครัฐวิสาหกิจเลี้ยงดูบุตรได้ด้วย ภายใต้เงื่อนไขอะไร และลาได้นานเพียงไร
ได้ค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่
20. อัตราค่าจ้างต่ำสุดของภาครัฐวิสาหกิจ ใช้เกณฑ์อัตราค่าจ้างใดของภาคเอกชน
21. ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ เป็นการห้ามหักทุกกรณีหรือไม่ เหตุใด ศาลฎีกา จึงถือว่าการตัดค่าจ้างของนายจ้าง
หรือการหักค่าจ้างของนายจ้างตามระเบียบของนายจ้าง สามารถกระทำได้โดยชอบ
22. เหตุใดลูกจ้างลาออกโดยมีวันหยุดพักผ่อนเหลืออยู่ ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนที่เหลือนั้น
23. ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่ายของรัฐวิสาหกิจต่างๆ เหตุใด จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาและได้ค่าทำงานในวันหยุด
24. ในระหว่างการเดินทาง ไปทำงานในท้องที่อื่น ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่ เพียงไร
25. ในกรณีเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในกี่วัน
26. นายจ้างรายใดที่มีข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวกับ วันเวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด
การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด วันและสถานที่จ่ายค่าจ้างวันลา และหลักเกณฑ์การลา วินัยและโทษทางวินัย
การร้องทุกข์ การเลิกจ้าง และค่าชดเชย ทำไมจะต้องรวบรวม เรียบเรียงใหม่ และประกาศใช้เป็นข้อบังคับฉบับเดียว
27. อัตราค่าชดเชยเหตุใดจึงไม่คิดตามอายุงาน และจ่ายอัตราเท่ากับ 1 เท่า 3 เท่า 6 เท่า 8 เท่า และ 10 เท่าของเงินเดือนเดือน
สุดท้าย ที่ถูกกฎหมายคำนวณอย่างไร
28. ความหมายของการเลิกจ้าง มีเพียงไร เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด นายจ้างมิได้เลิกจ้าง ทำไมศาลฎีกา จึงถือเป็นการเลิกจ้าง ที่ต้อง
จ่ายค่าชดเชย
29. การจ้างวิธีใด ที่จ้างมานานเกิน 1 ปี เลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
30. เงื่อนไขที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องเนื่องมาจากการกระทำอะไรของลูกจ้างและความหมายของการ
กระทำในแต่ละวงเล็บมีเพียงไร
31. เหตุใด ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจ เมื่อเกษียณอายุแล้ว จะไม่ได้ค่าชดเชย (ข้อ 61 วรรคแรก)
32. ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 15 ปีขึ้นไป ก่อนเกษียณอายุ จะขอเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานมากกว่าค่าจ้างสุดท้าย
8 เท่า จะกระทำได้โดยวิธีการใด และอย่างไร
33. ถาม-ตอบ ปัญหาข้อข้องใจ
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
อดีตประธานฝ่ายวิชาการสมาคมกฎหมายแรงงาน (ประเทศไทย)
อดีตประธานคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ผู้เคยเข้าร่วมประชุมในคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายแรงงานภาครัฐวิสาหกิจหลายครั้ง (2ปี) และคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์หลายปี (5 ปี)
เคยเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มามากกว่า 10 ปี ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 3,000 บาท + ภาษี 7 % =2,996 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
- โทรสำรองที่นั่ง ที่ โทร.0-29062211-2
- แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127,029062231
วิธีการชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส แลชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 0-29062127
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น
กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด
ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ