กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--BrainAsia
ลัดดา กรุ๊ป เปิดวิสัยทัศน์องค์กรคนไทยรุกนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตร ตั้งเป้า 1,200 ล้านบาทเดินหน้าโครงการวิจัยสบู่ดำ...เชื้อเพลิงแห่งอนาคตและสารควบคุมโรคราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก ตลาดรวมเคมีเกษตรทั้งประเทศไทยมูลค่า 19,000 ล้านบาท ลัดดา กรุ๊ป องค์กรกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีเกษตรครบวงจรของคนไทยเติบใหญ่ 45 ปี ด้วยก้าวย่างอันมั่นคงด้วยยอดขายปีที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท ภายใต้ความแข็งแกร่งด้านองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การเกษตร ผสานกับจุดแข็งในการตลาดที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำงานเคียงข้างเกษตรกรโดยให้ความรู้เทคโนโลยีแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตอย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการช่วยลดต้นทุน จนปัจจุบันขยายกิจการดำเนินงานเป็น 9 บริษัทในเครือครบวงจร ตั้งแต่การผลิตและนำเข้าเคมีเกษตร งานพัฒนาวิทยาการอารักขาพืช และเพิ่มผลผลิตการเกษตรของไทย งานวิจัยและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การจัดการระบบน้ำ การพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ชูวิสัยทัศน์พลิกเกษตรประเทศไทยสู่นวัตกรรมสีเขียว ตั้งเป้าปีนี้ 1,200 ล้านบาท เผยโครงการลงทุนวิจัยพืชพลังงานสบู่ดำ และโครงการสารแคลเซียมฟอสโฟเนทกระตุ้นพืชให้ป้องกันตัวเองจากโรครา
คุณวนิดา อังศุพันธุ์ (Ms.Vanida Angsuphan) กรรมการผู้จัดการ ลัดดา กรุ๊ป กล่าวว่า “ ลัดดา กรุ๊ป ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2509 โดยคุณพิชัย มณีโชติ (Mr. Pichai Manichote) นักวิชาการเกษตรผู้มีความเชี่ยวชาญระดับสูงคนหนึ่งของไทย ด้วยประสบการณ์การบริหารอย่างมืออาชีพจนได้รับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2000 และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2004 รวมทั้งกระบวนการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข คุณค่าที่บริษัทฯยึดถือคือ ธรรมาภิบาลและจรรยาบรรณในการบริหารองค์กรและดำเนินงาน ลัดดากรุ๊ปเจริญก้าวหน้าแตกหน่อเป็น 9 บริษัทในเครือ ประกอบด้วย บริษัท ลัดดา จำกัด นำเข้าวัตถุดิบ ผลิตและจำหน่ายแบรนด์ผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐาน ดำเนินการผลิตสินค้าและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนด , บริษัท ลัดดา อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช . บริษัท ไดนามิค อะโกรเซอร์วิส , บ.พาซาน่า (ประเทศไทย) จก.และ บ.อุตสาหเกษตรพัฒนา จก.โดยทั้ง 3 บริษัทนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายขายปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อการอารักขาพืช สารบำรุงพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช, บ. เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จก.เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบน้ำหยดและการจัดการน้ำทางการเกษตร ให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย ,ส่วน บ.ไดนามิคพันธุ์พืช จก. นำเข้าและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง เช่น ทานตะวัน กระเจี๊ยบเขียว ผักชี และสบู่ดำ รวมถึงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดอกปทุมมาพันธุ์ลัดดาวัลย์ ,อะโกลนีมา พันธุ์ไดนามิครูบี้ ที่ได้รับความนิยมกว้างขวาง ,บริษัท ไบโอเซฟเฟอร์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับการรักษาคุณภาพของผลผลิตการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว (Post- Harvest Technology) , และบ.ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมการเกษตร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลัดดากรุ๊ปมียอดขายรวมในปี 2553 ที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท “
ในด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการของ ลัดดา กรุ๊ป มุ่งเน้นนวัตกรรมที่ก้าวหน้าด้วยคุณภาพ แบ่งเป็น กลุ่มเคมีเกษตรป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) , กลุ่มเคมีเกษตร ควบคุมการเจริญเติบโตพืช (Plant Growth Regulator) , กลุ่มเคมี ธาตุอาหารพืชและสารบำรุงพืช (Plant Nutrition, Plant Growth Promoter & Plant Hormones ) , กลุ่มเคมีสำหรับสาธารณสุขและในบ้านเรือน (Public Health & Household Products) , กลุ่มผลิตภัณฑ์ สำหรับวิทยาการหลังเก็บเกี่ยว (Post Harvest Products) , กลุ่มเมล็ดพันธุ์พืช (Seeds) , กลุ่มอุปกรณ์ระบบน้ำเพื่อการเกษตร (Water System Equipments) และ กลุ่มพืชไม้ดอกไม้ประดับ (Ornamental Plants)
ในตลาดเคมีเกษตรรวมของประเทศมูลค่า 19,000 ล้านบาท ลัดดา กรุ๊ปมียอดขายรวมในปี2553ที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่ง 80 % มาจากกลุ่มเคมีเกษตร สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เคมีเกษตรป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดแมลง (Insecticides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดหนู (Rodenticides) , และ เคมีเกษตรป้องกันกำจัดหอย (Molluscicides) เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ขายดี 5 อันดับแรกของบริษัทฯ ได้แก่ Cypermethrin technical materials , Paclobutrazol , Abamectin , Acetochlor , และ Ametryn ส่วนเป้าหมายยอดขาย และอัตราการเติบโตของ ลัดดา กรุ๊ปในปี 2554 ประมาณ 1,200 ล้าน คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 10-30% แตกต่างไปตามกลุ่มผลิตภัณฑ์
คุณวนิดา อังศุพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ลัดดา กรุ๊ป กล่าวถึง โครงการวิจัยพืชพลังงานสบู่ดำ ว่า “ ท่ามกลางภาวะขาดแคลนพลังงาน ลัดดา กรุ๊ปได้มุ่งมองศักยภาพของพืชสบู่ดำ ไม่แพ้ปาล์มน้ำมัน และจะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตของไทย โดยดำเนินงานและลงทุนในการวิจัยโครงการพืชพลังงานสบู่ดำ ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือ 1. โครงการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำ เพื่อนำมาสกัดและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งนับเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตคาร์บอนต่ำ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำให้ได้พันธุ์ดีและผลผลิตสูง , เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์สบู่ดำโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ , เพื่อหาต้นตอ (rootstock) ที่ดีในการขยายพันธุ์สบู่ดำ เพื่อศึกษาปริมาณสารพิษและวิธีการกำจัดสารพิษในเมล็ดสบู่ดำ เพื่อนำกากเนื้อในเมล็ดมาใช้เป็นโปรตีนอาหารสัตว์และอาหารบำรุงพืช ผลความก้าวหน้าของโครงการเป็นที่น่าพอใจ ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่มากขึ้นเรื่อยๆ 800 - 900 กิโลกรัมต่อไร่ ( จำนวน 1 - 2 สายพันธุ์ ) ซึ่งเราตั้งเป้าพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่องให้ได้ผลผลิต 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ,เรายังได้สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารพิษ (phorbal ester) ต่ำ 1-3 สายพันธุ์ , ได้สายพันธุ์ให้ปริมาณน้ำมันสูง (43%) จำนวน 1 สายพันธุ์) , ได้สายพันธุ์ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี 1 สายพันธุ์ , นอกจากนี้ยังได้พัฒนาลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการจดทะเบียนพันธุ์พืช อีกจำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์พิชัย-วัฒนา 1, พิชัย 2, พิชัย 3, พิชัย 4, พิชัย 5 และ พิชัย 6 ทั้งนี้สายพันธุ์ที่ได้ทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นลูกผสมข้ามชนิด (interspecific hybrids) ยกเว้นสายพันธุ์พิชัย-วัฒนา 1 ที่เป็นลูกผสมข้ามสกุล (intergeneric hybrids) ระหว่างสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) และ ละหุ่ง (Ricinus communis L.) 2.โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสบู่ดำและชักนำการกลายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ โดยลัดดา กรุ๊ปได้ทำการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการสร้างยอดสบู่ดำ จากผลได้สูตรอาหารที่เหมาะสมในการสร้างยอดสบู่ดำ การศึกษาชักนำการกลายพันธุ์สบู่ดำโดยการใช้สารเคมีและฉายรังสี จากผลการวิจัยมีแนวโน้มไปในทางที่ดี รวมทั้งดำเนินการสกัดโปรตีนจากเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร สามารถสกัดโปรตีนจากเนื้อในเมล็ดสบู่ดำ (seed kernel)
อีกโครงการเด่นของลัดดา กรุ๊ป คือ วิจัยพํฒนาโครงการสารแคลเซียมฟอสโฟเนตในการควบคุมโรครากและโคนเน่าที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมการควบคุมโรคในพืชที่แปลกใหม่ สามารถไปยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคได้โดยฟอสไฟต์จะไปกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อ “การป้องกันตัวเอง “จากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค นับเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้และผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ ทำให้ลดการใช้สารเคมี ช่วยเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม
ในด้านผลงานวิจัยที่ด้านไม้ดอกไม้ใบ มีอยู่ 3 ชนิด คือ ปทุมมาลัดดาวัลย์ และ ว่านอะมาริลลิส (Amaryllis) , และ อะโกลนีมา (Aglaonema) , สำหรับ ปทุมมาลัดดาวัลย์ นั้นเราได้พันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการนำพันธุ์ท้องถิ่นของไทยมาผสมกัน เป็นไม้ตัดดอกที่มีสีสดสวยมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นและมีอายุการปักแจกันนานขึ้น ส่วนไม้ใบอะโกลนีมา เราจดสิทธิบัตรไว้ที่อเมริกา 2 พันธุ์ มีชื่อเรียกว่า Bangkok Ruby และ Siam Majesty , สำหรับว่าน อะมาริลลิส (Amaryllis ) นั้นทาง ลัดดากรุ๊ป ได้ร่วมทุนกับบริษัท ซาอัด-อัสซาฟ ( Saad-Assaf )จากประเทศอิสราเอล โดยนำพันธุ์จากต่างประเทศมาทดลองปลูกในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยจำนวน 6 สายพันธุ์ เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หัวว่านมีขนาดใหญ่ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งงานทดลองจะต้องทำต่อไป ก่อนที่ขยายผลออกไปในเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป “
ดร.สุจินต์ จันทรสอาด (Mr.Sujin Chantarasa-ard ) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลัดดา กรุ๊ป กล่าวว่า “เราจึงถือเป็นภารกิจหลักของ ลัดดา กรุ๊ปและบริษัทในเครือ ทั้ง 9 บริษัท ในการเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ Technology Provider แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนผู้บริโภค ในบ้านเราข้อมูลความเข้าใจต่อสารตกค้าง ยังสับสน สารตกค้าง หมายถึง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างบนผัก มีเกินค่ามาตรฐานกำหนด ซึ่งค่าสูงสุดที่กำหนดให้มีสารตกค้างได้นี้ เรียกว่า Maximum Residue Limit หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ค่าเอ็มอาร์แอล (MRL) ในประเทศต่างๆ รวมทั้งกลุ่มประเทศอียู เขายอมรับให้มีสารเคมีตกค้างบนผลผลิตได้ เพราะประเทศเหล่านั้น มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกัน และเป็นเรื่องปกติที่ถือว่า สารกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยการผลิตที่จำเป็น แต่จะต้องกำหนด ค่าสูงสุดที่ยอมให้มีได้ ถ้าไม่เกิน อียูจะไม่ท้วงติงกลับมา เพราะอียูมิได้ห้ามใช้สารเคมี “
คุณภัชราพร เจียรวุฑฒิ (Ms. Patcharaporn Jiaravudthi )ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศและลงทะเบียน กล่าวถึง ปัจจัยที่ทำให้ราคาวัตถุดิบเคมีเกษตรผันผวน ว่า เนื่องจาก DEMAND และ SUPPLY ของวัตถุดิบเคมีเกษตรในตลาดโลกมีความผันผวนมากในบางช่วงอันเป็นผลกระทบจากการใช้สินค้าเคมีเกษตรทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าช่วงไหนมีการระบาดของโรคพืชและแมลงเกิดขึ้นมาก การใช้สารเคมีเกษตรก็จะมากด้วย แต่ถ้าช่วงไหนเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในตลาดโลก ราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้น อีกประการหนึ่ง อัตราเงินตราของทั้งประเทศอเมริกา ประทศในยุโรป และจีนมีความผันผวนมากซึ่งมีผลกระทบต่อราคาของวัตถุดิบทั้งสิ้น
คุณชื่นจิตต์ มีโพธิ์สม ( Ms.Cheunjit Meeposom ) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “บ.ลัดดา กรุ๊ป ได้แตกไลน์กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ( .Environmental Health)ภายใต้แบรนด์ “ลัดดา” ที่ขายดี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง หรือสาร temephos เคลือบทรายกำจัดลูกน้ำยุง : เทมีการ์ด 1%เอสบี, ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แบบฉีดพ่นหมอกควัน เดลต้าเมทริน 1% EC , ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก — ฟิโปรนิล 5% SC .ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู — โบรมาดิโอโลน 0.005%แว๊กซ์บล็อก ,ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงทั่วไป - ไซเพอร์เมทริน 10%ECเป็นต้น ยอดขายปี2552 เป็นเงิน 28 ล้านบาท เติบโต 100 % โดยในปี 2554 เราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 40 ล้านบาท หรือที่อัตราเติบโต 40% ส่วนแผนงานการตลาด จะจัดหาและแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายในทุกเขตพื้นที่ เพื่อผลักดันสินค้าเข้าไปในตลาดให้ได้มากที่สุดโ ดยที่ลัดดาจะให้การสนับสนุนทั้งในด้าน supply ผลิตภัณฑ์และ ข้อมูลวิชาการ รวมถึงสนับสนุนโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับผู้แทนขาย”
PR Agency : BrainAsia Communication
Tel : 02-911-3282 Fax : 02-911-3208
Email : brainasia@hotmail.com