กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
นายอดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินการของ
บริษัทฯ และบริษัทย่อยว่า ในปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มียอดขายอันเกิดจากการโอนบ้านรวมทั้งสิ้น 17,620 ล้านบาท ลดลง 5,125 ล้านบาท หรือลดลง
ร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งมียอดขายเท่ากับ 22,745 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลงกว่า 5,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2548
เนื่องมาจาก
1. ยอดรับรู้รายได้ของโครงการคอนโดมิเนียม ลดลงกว่า 2,000 ล้านบาท คือลดลงจาก 2,583 ล้านบาท ที่รับรู้เป็นยอดขายในปี 2548 เหลือเพียง
418 ล้านบาทในปี 2549
2. ภาวะอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง อัน
เนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง
ในส่วนของกำไรสุทธินั้น บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 3,247 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของปี 2548 ซึ่ง
ทำได้เท่ากับ 5,121 ล้านบาท การที่ยอดกำไรสุทธิลดลงในอัตราที่สูงกว่าการลดลงของยอดขาย เกิดจากกำไรขั้นต้นที่ลดลง อันเนื่องจากต้นทุนค่าก่อสร้าง
ที่สูงขึ้นโดยที่ราคาขายไม่สามารถปรับขึ้นได้ นอกจากนี้ ในการผลักดันยอดขายบริษัทฯ จำเป็นต้องใช้จ่ายในด้านโฆษณาและส่งเสริมการขายมากขึ้น
ทางด้านฐานะการเงินของบริษัทฯ ณ สิ้นปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 41,766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,081 ล้านบาท จาก
38,685 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2548 และมีสภาพคล่อง ณ สิ้นปี 2549 จำนวน 2,406 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 168 ล้านบาท ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
สุทธิของบริษัทฯ ณ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 0. 45 ณ สิ้นปี 2548 มาเป็นร้อยละ 0.56 ณ สิ้นปี 2549
ในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อที่ดินไปประมาณ 2,800 ล้านบาท และมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง คิดเป็นจำนวนเงิน
ทั้งสิ้น 3,507.37 ล้านบาท กล่าวคือ
- ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 โดยจ่ายจากผลการดำเนินงานของปี 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท คิดเป็นจำนวนเงินปันผล
ทั้งสิ้น 2,084.30 ล้านบาท
- ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2549 โดยจ่ายจากผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2549 ในอัตราหุ้นละ 0.17 บาท คิดเป็นจำนวน
เงินปันผลทั้งสิ้น 1,423.07 ล้านบาท
สำหรับแผนงานทางด้านการลงทุนปี 2550 ของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ วางงบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาท สำหรับการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม และจะกัน
เงินอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ไว้สำหรับการลงทุนด้านอื่นๆ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ ในวงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท
ภายในปี 2550นี้
นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยภาวะตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2549 ที่
ผ่านมา โดยสรุปดังนี้
ภาวะตลาดที่อยู่อาศัยปี 2549
ตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมในปี 2549 หากพิจารณาจากตัวเลขโดยรวมของบ้านจดทะเบียนเพิ่มจะมีการขยายสูงขึ้นจากปี 2548 ทั้งนี้จากตัวเลขบ้าน
จดทะเบียนเพิ่มรวมทั้งหมดที่เกิดขึ้น 11 เดือน ในปี 2549 มีจำนวนทั้งหมด 72,723 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปี 2548 (61,047 หน่วย) ร้อยละ 19.1 โดยแบ่ง
แยกเป็นที่อยู่อาศัยประเภทสร้างเอง 26,933 หน่วย เพิ่มขึ้น 18.1% และที่อยู่อาศัยประเภทจัดสรร 45,790 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 % เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลา 11 เดือนของปี 2548 (38,241 หน่วย)
ข้อมูลเปรียบเทียบที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่ม
จำแนกตามประเภทดำเนินการ ระหว่าง ม.ค.-พ.ย. 2545 — 2549 หน่วย : หลัง
จำแนกประเภท ม.ค.-พ.ย. ม.ค.-พ.ย. ม.ค.-พ.ย. ทั้งปี ประมาณการทั้งปี 2549 2538**
2547 2548 2549 2548
สร้างเอง 18,046 22,806 26,933 25,241 29,000 32,118
จัดสรร 37,092 38,241 45,790 42,588 49.500 140,301
รวมทั้งหมด 55,138 61,047 72,723 67,829 78,500 172,419
เปลี่ยนแปลง 30.1% 10.7% 19.1% 8.0% 15.7% 0.7%
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
** ปี 2538 เป็นปีที่บ้านจดทะเบียนสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
% การเปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะบ้านจดทะเบียนเพิ่มประเภทจัดสรร ใน 11 เดือนของปี 2549 จำแนกตามประเภทของที่อยู่อาศัย มีการเปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญดังนี้
ประเภทบ้านเดี่ยว มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 15,897 หน่วย ลดลง 26.4% เมื่อเทียบกับ 11 เดือนปี 2548
ประเภทบ้านแฝด มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 763 หน่วย เพิ่มขึ้น 30.7%
เมื่อเทียบกับ 11 เดือนปี 2548
ประเภททาวน์เฮ้าส์ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 13,287 หน่วย
เพิ่มขึ้น 28.0% เมื่อเทียบกับ 11 เดือนปี 2548
ประเภทคอนโดมิเนียม มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 15,843 หน่วย
เพิ่มขึ้น 179.6% เมื่อเทียบกับ 11 เดือนปี 2548
ข้อมูลเปรียบเทียบที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่ม
จำแนกตามประเภทโดยผู้ประกอบการ ระหว่าง ม.ค. — พ.ย. 2545 — 2549
หน่วย : หลัง
บ้านจดทะเบียนเพิ่ม จำแนกตามประเภทจัดสรร ม.ค.-พ.ย. ม.ค.-พ.ย. ม.ค.-พ.ย. ทั้งปี ประมาณการทั้งปี 2549 ** 2538
2547 2548 2549 2548
บ้านเดี่ยว 24,059 21,609 15,897 23,889 17,500 20,793
% การเปลี่ยนแปลง 67.6% -10.2% -26.4% -6.4% -26.7% 16.4%
บ้านแฝด 683 584 763 586 800 938
% การเปลี่ยนแปลง 3.0% -14.5% 30.7% -0.4% 36.5% 336%
ทาวน์เฮ้าส์ 11,023 10,381 13,287 11,460 14,400 58,093
% การเปลี่ยนแปลง 30.4% -5.8% 28.0% -4.4% 25.7% 16%
คอนโดมิเนียม 1,327 5,667 15,843 6,653 16,800 60,477
% การเปลี่ยนแปลง -25.4% 327.1% 179.6% 10.4% 152.5% -11%
รวมทั้งหมดประเภทจัดสรร 37,092 38,241 45,790 42,588 49,500 140,301
% การเปลี่ยนแปลง 46.8% 3.1 % 19.7% -0.8% 16.2% 3.1%
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
** ปี 2538 เป็นปีที่บ้านจดทะเบียนสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
% การเปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY)
ในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา มีปัจจัยลบหลายๆ ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดที่อยู่อาศัย ที่สำคัญๆ ดังนี้
ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลความเชื่อมั่นและการชะลอการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก
อัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น (อัตราดอกเบี้ย MLR ต้นปี = 7.25% ปรับสูงขึ้นเป็น 7.75% ตั้งแต่มิ.ย.เป็นต้นมา) ถึงแม้ว่าการ
ปรับตัวของดอกเบี้ยจะสูงมากนัก แต่ข่าวการปรับตัวที่สูงขึ้นของ Feb Fund Rate สร้างความกังวลใจให้แก่ผู้บริโภคอย่างมากต่อความกังวลว่าดอกเบี้ย
อาจจะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับผลจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นและกังวลในความสามารถการผ่อนชำระสูงขึ้น
ความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ ในการพิจารณาสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ (Pre Finance) และผู้บริโภค (Post-Finance) มีมากขึ้น ทำให้การเปิด
โครงการใหม่ๆ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเพียง 5% ซึ่งส่วนมากเป็นการขยายตัวด้านคอนโด แต่หดตัวในตลาดบ้านเดี่ยว ผลของความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค
ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลต่อ Demand ที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ประกอบการมีการใช้กลยุทธ์ด้านราคาและ Promotion มากขึ้น ทั้งที่
ต้นทุนการผลิตที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น จากระดับราคาน้ำมันที่สูง แต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ เท่ากับต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้กำไรลดลง
ถึงแม้ว่า ในปี 2549 จะมีปัจจัยลบต่างๆ ที่กระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัย แต่ปัจจัยที่มีผลเกื้อหนุนอยู่บ้างที่สำคัญๆ คือ
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 49 แม้ว่าจะไม่มีการเติบโตที่ขยายตัวสูงขึ้น แต่ก็ยังคงรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ใกล้
เคียงกับปี 48 ทั้งปี 49 คาดว่าจะอยู่ในระดับ 4.5%
อัตราเงินเฟ้อ ในระหว่างไตรมาสของปี 49 แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลง จากครึ่งปีแรก 2549 อัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 5.9 ลดลงเหลือร้อยละ
3.6 และ 3.2% ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ ทั้งปี 2549 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับ 4.7 %
ผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2549
ผลการดำเนินงานของบริษัท ในปี 2549 บริษัทได้ส่งมอบบ้านให้แก่ลูกค้า จำนวน 3,034 หน่วย โดยแบ่งแยกเป็นบ้านเดี่ยว จำนวน 2,910 หน่วย
คอนโดมิเนียม 43 หน่วย และทาวน์เฮ้าส์ 81 หน่วย
บ้านที่ส่งมอบให้ลูกค้า ในปี 2548 — 2549
รวมทั้งหมดของบริษัท รวมต่างจังหวัด
ปี 2548 2549 %D %D
หลัง ล้านบาท หลัง ล้านบาท LH Market
(หลัง) (หลัง)
บ้านเดี่ยว 3,583 20,162 2,910 16,888 -18.8% -26.7%
คอนโด 461 2,583 43 418 -9.0% 157%
ทาวน์เฮ้าส์ - - 81 314 28.3%
รวม 4,044 22,745 3,034 17,620 -24.9% 17.9%
* %D เทียบปี 2549 กับปี 2548
ในปี 2549 บริษัทฯ มีจำนวนโครงการที่เปิดดำเนินการ จำนวนทั้งรวมสิ้น 43 โครงการ เป็นโครงการในต่างจังหวัด 8 โครงการ สำหรับโครงการที่
เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมามีจำนวนรวมทั้งสิ้น 12 โครงการ
สำหรับส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ในตลาดบ้านเดี่ยว ในปี 49 บริษัทมีส่วนตลาดเพิ่มสูงขึ้นเป็น 14.8% เทียบกับปี 48 ที่มีส่วนแบ่งตลาด 13.1%
แสดงจำนวนโครงการที่ดำเนินการระหว่างปี 2548-2550
ณ ต้น ม.ค. ปี 2548 2549 2550
จำนวนโครงการทั้งหมด 28 32 37
- กทม. และปริมณฑล 22 24 29
- ต่างจังหวัด 6 8 8
โครงการเปิดใหม่ระหว่างปี / (ต่างจังหวัด) 13/ (2) 12/ (-) 9 / (2)
- โครงการในต่างจังหวัด 8 8 10
รวมโครงการที่ดำเนินการทั้งหมด ในปี 41 44 46
จำนวนโครงการที่ปิดในระหว่างปี 9 7 10
แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2550
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2550 จะเป็นตลาดที่เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค แนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่ขยายตัวเล็ก
น้อยจากปี 2549 โดยอัตราการขยายตัวจะอยู่ในระดับไม่เกิน 10% ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
สถานการณ์ทางการเมือง หากไม่เกิดปัญหาซ้ำซ้อน น่าจะมีผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้น
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth Rate) มีแนวโน้มที่ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2549 ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อยู่
ในระดับร้อยละ 4.0 ต่อปี
ข่าวการลงทุนของภาครัฐบาล ในโครงการเมกะโปรเจค จะมีผลต่อการกระตุ้นความเติบโตของเศรษฐกิจ และจะส่งผลดีต่อตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมในอนาคต
อัตราดอกเบี้ย มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง คาดว่าจะปรับลดลง 0.75-1.0 % เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับสูง
อัตราเงินเฟ้อ อยู่ในระดับประมาณ ร้อยละ 3.5 เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มทรงตัว อันจะเป็นผลดีต่อตลาดที่อยู่อาศัยและต้นทุนการ
ก่อสร้างที่ไม่ผันผวน
ระดับราคาน้ำมัน ที่มีแนวโน้มทรงตัว ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ไม่ผันผวน นอกจากนี้ยังเป็นผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงขึ้น
การขยายโครงการของผู้ประกอบการลดน้อยลง เนื่องจาก
ความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ ในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ
ความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ ในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่รายย่อย
การซื้อที่ดินใหม่ของผู้ประกอบการน้อยลง ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ส่งผลให้ราคา ที่ดินทรงตัว
แผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2550
ณ ต้นปี 2550 บริษัทฯ มีโครงการที่เปิดดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 34 โครงการ โดยเป็นโครงการใน กทม. และปริมณฑล 23 โครงการ ต่างจังหวัด 6
โครงการ ในปี 2550 บริษัทเตรียมเปิดโครงการใหม่อีก 9 โครงการ เป็นโครงการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 โครงการ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 6
โครงการ โครงการทาวน์เฮ้าส์ 2 โครงการ และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ และต่างจังหวัด 2 โครงการ จำนวนโครงการที่เปิดดำเนินการทั้งสิ้นในปีนี้ รวม
ทั้งหมด 43 โครงการ
อนึ่งแปลงขายที่ว่างพร้อมจะ order ใน 23 โครงการ มีจำนวนแปลงที่ดินว่างคงเหลือ 5,077 แปลง มูลค่ารวม 27,500 ล้านบาท ไม่รวมที่อยู่ใน
Work in Process อีก 2,939 หลัง มูลค่ารวม 15,135.85 ล้านบาท และที่เป็น Inventoty ในปัจจุบัน 595 หลัง มูลค่ารวม 3,400 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น
8,611 ยูนิต มูลค่ารวมทั้งหมด 46,035 ล้านบาท
รายละเอียด จำนวน จำนวน มูลค่ารวม
แปลง/หลัง โครงการ ล้านบาท
แปลงที่ดินว่างพร้อมที่ 0rder 5,077 23 27,500
Work in Process 2,939 28 15,135
Inventory ปัจจุบัน 595 28 3,400
รวม 8,611 46,035
*ไม่รวมโครงการที่เปิดใหม่ ในปี 2550
นอกจากนี้ ในปี 2550 มีแผนงานที่จะดำเนินการ campaign Home Saving Package สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม มูลค่ารวม
4,170 ล้านบาท
รายละเอียดโครงการเปิดใหม่ในปี 2550
โครงการ จำนวนยูนิต ระดับราคา ประมาณการเปิด
เฉลี่ยล้านบาท
1. ชัยพฤกษ์ บางนา 2 261 3.5 เมษายน
2. The Room สุขุมวิท 79 343 3.0 กรกฎาคม
3. สีวลี ราชพฤกษ์ แจ้งวัฒนะ 319 5.0 กันยายน
4. The Terrace ติวานนท์ 162 3.8 กันยายน
5. ชัยพฤกษ์ ปิ่นเกล้า สาทร 247 4.5 พฤศจิกายน
6. มัณฑนา บางนา 190 6.5 ธันวาคม
7.Townhouse Project พระราม 2 (2) 87 3.0 ธันวาคม
8. สีวลี เชียงใหม่ 236 5.0 ตุลาคม
9. นันทวัน ขอนแก่น 58 6.0 ธันวาคม
คอนโดมิเนียม Prebooking อาคารแล้วเสร็จ
1. The Room รัชดา ลาดพร้าว 32 801 3.0 พฤศจิกายน 51
2. The Bangkok เจริญนคร 214 4.5 พฤศจิกายน 51
3. The Room สุขุมวิท 64 80 3.0 กันยายน 51
4. The Room ตากสิน 210 2.5 พฤศจิกายน 51
สำหรับเป้าหมายการขายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ 20,000 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อยูนิต 5.0 ล้านบาท ขยายตัวสูงขึ้น 13.5% จากปีที่
ผ่านมา โดยมีสัดส่วนดังนี้
บ้านเดี่ยว 90% , ทาวน์เฮ้าส์ 5% , คอนโด 5%
ในส่วนของแผนการตลาดสำหรับปีนี้ บริษัทได้มีการปรับแผนผังองค์กร ในลักษณะของ Branding เพื่อจะทำให้แต่ละ Brand มีความเป็นเอกลักษณ์
ที่ชัดเจนขึ้น และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนการขยายการดำเนินงาน Campaign “Home Savings Package” สำหรับลูกค้าบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ หลังจากได้
รับการตอบรับที่ดีจากโครงการคอนโดมิเนียม The Room ทั้งนี้เพื่อการเตรียมความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าในอนาคต สำหรับหลักเกณฑ์
Home Saving Package เป็นดังนี้
สามารถเข้า Campaign ได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางเงินจองและเงินทำสัญญา
ต้องผ่านการพิจารณาสินเชื่อจากทาง LH Bank ก่อน โดยเปิดบัญชีเงินฝากประเภท ออมทรัพย์พิเศษ ระยะเวลาอย่างต่ำ 6-12 เดือน
เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ หากพึงพอใจในโครงการ จะได้รับการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อจาก LH Bank เป็นกรณีพิเศษ
เงินออมทรัพย์พิเศษจะช่วยลดความเสี่ยงในการกู้ไม่ผ่าน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าได้วางแผนทางการเงินในการซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะแตกต่าง
จากกรณีผู้ที่ซื้อโครงการประเภทสั่งสร้างที่มีการจ่ายเงินจองและทำสัญญาล่วงหน้าไปก่อน อาจมีความเสี่ยงในการกู้ในอนาคต แต่หากผู้เข้าร่วมโครงการ
ไม่พึงพอใจในโครงการสามารถที่ยกเลิกการจองสิทธิได้ แต่ยังคงได้รับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ย