กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ผลกำไรรวมตลอดปีทะลุ 1 พันล้านริงกิต

ข่าวท่องเที่ยว Friday February 25, 2011 14:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--สายการบินแอร์เอเชีย ผลประกอบการตลอดปี 2553 ? กําไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) 1.07 พันล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 111% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ? กำไรจากผลการดำเนินงาน (Core Operating Profit) 828 ล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 83% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ? บัญชีเงินฝาก (Cash Balance) 1.5 พันล้านริงกิต ? รายได้ส่วน Ancillary ต่อคน (Ancillary Income per pax) 41 ริงกิต (เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ? อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) 1.75 (ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 2.57) ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ? กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย มาเลเซีย (MAA) 317 ล้านริงกิต (เติบโตขึ้น 835% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ? อัตราจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) 82% (เพิ่มขึ้น 3 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) ? กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของไทยแอร์เอเชีย (TAA) 1,644 ล้านบาท (เติบโตขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ? กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย (IAA) 166,934 ล้านรูเปีย (เติบโตขึ้น 214% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ซีอีโอแอร์เอเชีย เบอร์ฮัด (แอร์เอเชีย) ประกาศ “ปรากฏการณ์แห่งความสำเร็จ” ด้วยการสร้างสถิติผลกำไรสุทธิของบริษัทตลอดปี 2553 ทะลุ 1 พันล้านริงกิต โทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา แอร์เอเชียไม่เพียงประสบความสำเร็จในการสร้างสถิติผลกำไรใหม่ แต่ยังทำกำไรได้ทะลุ 1 พันล้านริงกิต (1.07 พันล้านริงกิต) ทั้งยังมีเงินในบัญชีเงินฝากถึง 1.50 พันล้านริงกิต อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) ลดลงเหลือ 1.75 เท่า จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 2.57 เท่า บริษัทอยู่ในสถานะทางการเงินที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการขยายและเติบโตต่อไปในปี 2554 นี้ เฟอร์นานเดส กล่าวต่อไปว่า ผลงานตลอดทั้งปีของแอร์เอเชียโดดเด่นในทุกไตรมาส ทำสถิติใหม่หลายรายการ ได้แก่ มีรายได้รวม 1.19 พันล้านริงกิต มีกำไรสุทธิหลังหักภาษี 316.55 ล้านริงกิต และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ที่ 82% (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีอยู่ 79%) ทั้งนี้รายได้ในส่วนของแอร์เอเชียมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 21% (จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) รายได้ของไทยแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 12% และรายได้ของแอร์เอเชียอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 22% ขณะที่ค่าโดยสารเฉลี่ยของแอร์เอเชียมาเลเซียเพิ่มขึ้น 7% ของไทยแอร์เอเชียพิ่มขึ้น 6% และของแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 16% แม้ว่าต้นทุนเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น แต่ EBITDAR margin ของแอร์เอเชียเพิ่มเป็น 49.3% หรือเพิ่มเพียง 6 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เฟอร์นานเดส เน้นย้ำว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นของแอร์เอเชียได้มาจากในส่วนของรายได้ส่วน ancillary มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ในส่วนของ ancillary ถือเป็นรายได้จำนวนมากที่สุดของแอร์เอเชีย โดยรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นในทั้งฐานการบินทั้ง 3 ประเทศ แอร์เอเชีย มาเลเซียอยู่ที่ 49 ริงกิตต่อคน (เพิ่มขึ้น 99% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 25 ริงกิต) ไทยแอร์เอเชียอยู่ที่ 369 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 109% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 176 บาท) แอร์เอเชีย อินโดนีเซียอยู่ที่ 155,089 รูเปียต่อคน (เพิ่มขึ้น 108% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 74,495 รูเปีย) ซีอีโอแอร์เอเชีย ยังกล่าวด้วยว่า รายได้ในส่วน ancillary ที่เติบโตขึ้นกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีถึงความสำเร็จในกลยุทธ์ของบริษัทที่มองไปนอกเหนือจากเรื่องค่าโดยสาร ไปเพิ่มรายได้ในส่วนอื่น ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจ ancillary ยังมีศักยภาพอยู่มาก และแอร์เอเชียยังเดินหน้าต่อเนื่องเพื่อเพิ่มรายได้ในส่วนนี้ ซีอีโอแอร์เอเชีย กล่าวถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ด้วยว่า ในส่วนของไทยแอร์เอเชียมีรายได้อยู่ที่ 3,744 ล้านบาท เติบโตขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรสุทธิหลังจากหักภาษีเพิ่มขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รายได้ในส่วน ancillary ต่อผู้โดยสาร 1 คนที่ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 109% ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดปี 2553 ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินแอร์บัส เอ320 ทั้งหมด 19 ลำ(รับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำที่ 20 เดือน ม.ค.2554 ที่ผ่านมา) และจะเพิ่มอีก 4 ลำในปี 2554 ด้านแอร์เอเชียอินโดนีเซีย มีรายได้รวมอยู่ที่ 795,750 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่รายได้ในส่วน ancillary เติบโตอย่างเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 108% อัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มเป็น 78% (จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 74%) ทั้งนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 166,634 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 214% แม้ว่าในไตรมาสสุดท้ายจะค่อนข้างเงียบเหงา เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม แต่แอร์เอเชียอินโดนีเซียยังสามารถเพิ่มค่าโดยสารเฉลี่ยต่อหัวได้ ทั้งนี้ฝูงบินเมื่อสิ้นปี 2553 มีอยู่ที่ 18 ลำ “ผลงานของทั้งไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซียบอกได้อย่างดีถึงศักยภาพของเราที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในกรุงเทพฯ และจาร์กาตา ในปี 2011 นี้ ทีมผู้บริหารของเราในทั้ง 2 ประเทศยืนยันว่ากลยุทธ์ของเราเดินมาถูกทางแล้ว” เฟอร์นานเดสกล่าว เฟอร์นานเดส ได้กล่าวถึงเป้าหมายในปี 2011 ว่า “ความสำเร็จเกินคาดในปี 2010 ที่ผ่านมา ถือเป็นการสร้างความท้าทายครั้งใหม่ ผมมั่นใจว่าเราสามารถทำได้อีกครั้ง ด้วยแผนการที่จะขยายเส้นทางการบินและฐานการบิน ในปีนี้เราจะมีเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำใหม่มาร่วมฝูงบินอีก 8 ลำ และเราจะเปิดฮับใหม่อีก 3 แห่งที่คูชิง เชียงใหม่ และเมดาน ในปีนี้เราจะเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยและการเพิ่มรายได้” “เราได้ประกาศจำนวนฝูงบินที่จะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2555 ซึ่งจะมาเพิ่มอีก 14 ลำ จากเดิมที่เราคาดการณ์ไว้ 24 ลำ แต่เราก็ได้ปรับแผนการไว้รองรับแล้ว เรามีวิสัยทัศน์อยู่แล้วว่าเราต้องการทำอะไร แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุจำเป็น สิ่งนี้ทำให้มั่นใจว่าเราจะเผชิญกับทุกความท้าทายได้เป็นอย่างดี” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าวเพิ่มเติม เฟอร์นานเดส ยังกล่าวอีกว่า พนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นกว่า 8,000 คนของแอร์เอเชียมีส่วนสนับสนุนอย่างมากที่ทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย พวกเขายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะยังคงประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก “ในส่วนของไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของกรุงเทพฯและจาร์กาตาตามลำดับ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่น่าตื่นเต้น ทั้งนี้ด้วยผลงานในปี 2553 เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นความต้องการของนักลงทุนได้อย่างแน่นอน” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าว เฟอร์นานเดส ยังได้กล่าวถึง การเปิดตัวแอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์ ในปี 2554 นี้ด้วยว่า จะเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในช่วงครึ่งปีหลัง เขาเชื่อว่าฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจะเป็นการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกัน ด้วยค่าโดยสารราคาประหยัดในแบบของแอร์เอเชีย เฟอร์นานเดส แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจัยภายนอกที่นอกเหนือการความคุมอาจมีผลกับแผนของบริษัทในปี 2554 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้กล่าวถึงพัฒนาการด้านภูมิศาสตร์การเมืองในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจระดับโลกว่าอาจจะมีผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเราคอยตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เราได้หาทางลดความเสี่ยงในระยะสั้นสำหรับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้แล้ว และจะมีการเพิ่มแผนสำรองอื่น หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เรายังคงตัดสินใจจะรักษาราคาโดยสารแบบประหยัดไว้ เรายังไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมันหรือขึ้นราคา ต้องขอบคุณรายได้ในส่วน ancillary ที่ทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหากถึงจุดที่เราต้องตัดสินใจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ